ฝากประชาสัมพันธ์

ฝากประชาสัมพันธ์

ข่าวงานราชการเปิดสอบ 2562-2563

ค้นหา

ติดตามข่าวงานราชการที่นี่งานมากที่สุด

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2556

กระทรวงการต่างประเทศ เตรียมเปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งนักการทูตปฏิบัติการ ประจำปี ๒๕๕๗

กระทรวงการต่างประเทศ เตรียมเปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งนักการทูตปฏิบัติการ ประจำปี ๒๕๕๗ เร็วๆ นี้
ระดับการศึกษา: ปริญญาตรี  ปริญญาโท
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**

การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งนักการทูตปฏิบัติการ ประจำปี ๒๕๕๗ กระทรวงการต่างประเทศจะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการใน ตำแหน่งนักการทูตปฏิบัติการ (วุฒิปริญญาตรีและวุฒิปริญญาโท) ประจำปี ๒๕๕๗ ในเร็วๆ นี้ ท่านที่สนใจสามารถติดตามความคืบหน้าได้ที่นี่
เตรียมความ พร้อมกันได้แล้วนะครับสำหรับรายละเอียดเพื่อเตรียมความพร้อมและตรวจสอบ คุณสมบัติเบื้องต้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบเมื่อมีการประกาศรับสมัครสอบอย่างเป็นทาง การจากกระทรวงการต่างประเทศ
ตำแหน่ง นักการทูตปฏิบัติการ
ระดับการศึกษา ปริญญาตรี-ปริญญาโท

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ซึ่งรวมถึงการติดตามและรวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านการทูตและต่างประเทศเพื่อ วิเคราะห์และใช้ประกอบการกำหนดและดำเนินนโยบายของรัฐบาลในด้านการทูตและต่าง ประเทศ จัดทำข้อมูลภูมิหลัง ประเด็นการหารือ ประเด็นการประชุม จดบันทึกการสนทนา การประชุม และประสานงานสำหรับการเยือน การประชุมระหว่างประเทศ ปฏิบัติงานด้านกงสุล เช่น งานด้านสัญชาติและนิติกรณ์ การช่วยเหลือคุ้มครองคนไทยในต่างประเทศ เป็นต้น งานด้านพิธีการทูต เช่น การอำนวยความสะดวกด้านเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตแก่คณะทูตานุทูต กงสุลในประเทศไทย และงานเกี่ยวกับระเบียบพิธีการทูต เป็นต้น รวมทั้งงานด้านสารนิเทศ เช่น การเผยแพร่ข่าวสารเพื่อสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยแก่การดำเนินความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ รวมทั้งติดตามข่าวสารที่เกี่ยวกับภาพลักษณ์ประเทศไทย และงานการทูตเพื่อวัฒนธรรม เป็นต้น และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ได้รับมอบหมายหรือเกี่ยวข้อง
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักการทูตปฏิบัติการ (ป.ตรี-ป.โท)
1. มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ ปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน หรือ
2. ปริญญาโทหรือคุณวุฒิอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน
สาขาวิชา
  • รัฐศาสตร์
  • รัฐประศาสนศาสตร์
  • บริหารธุรกิจ
  • การจัดการ
  • นิติศาสตร์
  • เศรษฐศาสตร์
  • การบัญชี
  • ภาษา
  • วรรณคดี
  • ศึกษาศาสตร์
  • ศิลปะวัฒนธรรม
  • ประวัติศาสตร์
  • โบราณคดี
  • ปรัชญา
  • ศาสนา
  • เทววิทยา
  • สังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์
  • นิเทศศาสตร์
กรณี ที่ยังไม่ได้รับปริญญาบัตรฉบับจริง ให้นำหนังสือรับรองคุณวุฒิที่สถานศึกษาออกให้ โดยระบุสาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษา และวันที่ที่ได้รับอนุมัติปริญญาบัตร ซึ่งจะต้องอยู่ภายในกำหนดวันปิดรับสมัครมายื่นแทน พร้อมกับระเบียนแสดงผลการเรียน (Transcript of Records) มาแสดงภายหลังสอบผ่าน ภาค ก. และ ภาค ข. แล้ว
ความรู้ ทักษะและสมรรถนะที่ผู้สมัครสอบควรมี
ความ สนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ในประเทศไทยและในโลก มีความรอบคอบ รอบรู้ มีความตื่นตัวสนใจที่จะแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา มีความสามารถในการสื่อสาร เจรจาโน้มน้าว สามารถปรับตัวได้ดี มีความสามารถในการประสานงาน มีมนุษยสัมพันธ์ มีมารยาทในการเข้าสังคม มีความละเอียดอ่อนและช่างสังเกต มีความสามารถในการวิเคราะห์อย่างมีเหตุและผล มีความรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี และหากมีความรู้ภาษาต่างประเทศอื่นด้วยก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
หลักสูตรการสอบแข่งขัน และวิธีการสอบ
หลัก สูตรการสอบแข่งขันและวิธีการสอบในข้อนี้จะใช้กับผู้สมัครสอบในตำแหน่งนักการ ทูตปฏิบัติการระดับปริญญาตรีและปริญญาโท และกระทรวงการต่างประเทศจะใช้ข้อสอบชุดเดียวกันสำหรับผู้สมัครสอบในตำแหน่ง นักการทูตปฏิบัติการ ระดับปริญญาตรีและปริญญาโท และการตรวจข้อสอบจะใช้มาตรฐานการตรวจเดียวกันมีรายละเอียดดังนี้
ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) คะแนนเต็ม 200 คะแนน เป็นการสอบข้อเขียนแบบปรนัย แบ่งเป็น 2 วิชา คือ
  1. วิชาความรู้ความสามารถทั่วไป (100 คะแนน) เป็นข้อสอบภาษาไทย เพื่อทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไปเกี่ยวกับสถานการณ์และเหตุการณ์ในด้านการ เมือง เศรษฐกิจ สังคม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของประเทศไทย และของโลก หรืที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยและต่อโลก ในลักษณะที่แสดงความเข้าใจต่อปัญหาและความเกี่ยวโยงของเหตุการณ์และปัญหา โดยสามารถอธิบาย วิเคราะห์ และสรุปเหตุผล ประเด็นสำคัญ มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ มีความเป็นผู้นำ พร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไขหรือป้องกันปัญหาดังกล่าว ตลอดจนสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้
  2. วิชาการใช้ภาษาอังกฤษ (100 คะแนน) เป็นข้อสอบภาษาอังกฤษ เพื่อทดสอบทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษ (English Proficiency) อาทิ ไวยากรณ์ (Grammar) และความเข้าใจในการอ่าน (Reading Comprehension) เป็นต้น
ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) คะแนนเต็ม 200 คะแนน
  1. วิชาความรู้ภาษาต่างประเทศ (100 คะแนน) เป็นการสอบข้อเขียนแบบอัตนัย ประกอบด้วยข้อสอบ 4 ข้อทำทุกข้อ
    - เรียงความเป็นภาษาอังกฤษ
    - ย่อความภาษาอังกฤษเป็นภาษาอังกฤษ
    - แปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ
    - แปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย
  2. วิชาความรู้สำหรับนักการทูต (100 คะแนน) ประกอบด้วยข้อสอบ 4 ข้อ บังคับทำ 1 ข้อ และเลือกทำ 2 ใน 3 ข้อ
    - บังคับทำ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และให้เลือก 2 ข้อจากตัวเลือกด้านล่าง
    - องค์การระหว่างประเทศ (เลือก)
    - เศรษฐกิจระหว่างประเทศ (เลือก)
    - กฎหมายระหว่างประเทศ (เลือก)
    ผู้สมัครสอบสามารถเลือกตอบเป็นภาษาอื่นนอกจากภาษาไทยได้อีก 6 ภาษา คือ รัสเซีย จีน อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน และอารบิก โดยกระทรวงการต่างประเทศจะดำเนินการเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญในภาษานั้นๆ แปลคำตอบเป็นภาษาไทย เพื่อให้กรรมการผู้ออกข้อสอบเป็นผู้ตรวจคำตอบต่อไป
ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) คะแนนเต็ม 200 คะแนน แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
  1. ส่วนที่ 1 (100 คะแนน) เป็น การประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่งโดยการสอบสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล เพื่อทดสอบพื้นฐานความรู้สำหรับการทำงานในกระทรวงการต่างประเทศ ทัศนคติและการมีจิตสำนึกสาธารณะในการรับราชการเพื่อรับใช้ชาติ การใช้ภาษาอังกฤษ บุคลิกภาพทั่วไป การปรับตัว วุฒิภาวะทางอารมณ์ และความเหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการกระทรวงการต่งประเทศ เป็นต้น
  2. ส่วนที่ 2 (100 คะแนน) เป็นการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง จากการทำกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การจัดกิจกรรมกลุ่ม (Outing Activities) การหรือกลุ่ม (Group Discussion) และการพูดในที่ชุมชน (Public Speaking) เป็นต้น เพื่อทดสอบบุคลิกลักษณะของผู้เข้าสอบในด้านต่างๆ ได้แก่ ทัศนคติโดยรวม ภาวะความเป็นผู้นำ การทำงานเป็นทีม การปรับตัวเข้ากับผู้อื่น ทักษะการหารือกลุ่ม ความสามารถในการแสดงความคิดเห็น ความรู้ในประเด็นที่กำหนด การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ วิสัยทัศน์ รวมทั้งปฏิภาณไหวพริบ ความมีน้ำใจ การเสียสละ ความมั่นใจ และความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอื่นๆ เป็นต้น ทั้งนี้ รูปแบบกิจกรรมในสว่นที่ 2 สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
ขึ้นบัญชีไว้ไม่เกิน 2 ปี
เกี่ยว กับอัตราเงินเดือนรอดูประกาศดีกว่านะครับ เพราะครั้งล่าสุดที่รับสมัครสอบจะมีเงินส่วนที่ได้เพิ่มโดยพิจารณาจากหลัก เกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข การกำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.พ.รับรอง สำหรับตำแหน่งในสายงานหลัก (วุฒิ ป.ตรี-โท-เอก) ตำแหน่งที่ไม่ใช่สายงานหลัก (วุฒิ ป.ตรีขึ้นไป) และตำแหน่งในสายงานที่ไม่ใช่สายงานหลัก (วุฒิต่ำกว่า ป.ตรี) โดยมีปัจจัยที่นำมาพิจารณาเกี่ยวกับ ภาษาต่างประเทศ ได้เพิ่ม 50% ประสบการณ์ทำงาน ได้เพิ่ม 20% คุณวุฒิการศึกษาที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน หรือ ผลงาน/รางวัล ได้เพิ่ม 15%
แต่จะอย่างไรก็ตามลองคิดจะเป็นข้า ราชการการสอบได้เป็นเรื่องใหญ่เงินเดือนหรือผลตอบแทนเป็นเรื่องรองใช่ไหม ครับ เพราะศักดิ์ศรีมันวัดเป็นตัวเงินไม่ได้ ^^
วิธีการสมัครงานข้าราชการ กระทรวงการต่างประเทศ : รับสมัครทางอินเตอร์เน็ต
เปิดรับสมัครตั้งแต่: เร็วๆ นี้
เว็บไซต์ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย คลิกที่นี่

1 ความคิดเห็น: