ฝากประชาสัมพันธ์

ฝากประชาสัมพันธ์

ข่าวงานราชการเปิดสอบ 2562-2563

ค้นหา

ติดตามข่าวงานราชการที่นี่งานมากที่สุด

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

กระทรวงศึกษาธิการ - |ครูไทย 4.0

กระทรวงศึกษาธิการ

"กระทรวงศึกษาธิการ"

ลิงค์: http://iqepi.com/36407/ หรือ
เรื่อง: ครูไทย 4.0

---

กระทรวงศึกษาธิการ เปิดรับสมัครสอบ

เมื่อครั้งที่ผู้เขียนเข้าเรียนชั้นประถมปีที่ 1 พอไปถึงโรงเรียน ครูแจกกระดานชนวนและดินสอหินให้ผู้เขียนและเพื่อนๆ ในชั้นเรียนคนละ 1 ชุด ส่วนไม้บรรทัด ผู้ปกครองของนักเรียนต้องจัดหาเอง ครูแก้ว เหล่าสะพาน ซึ่งเป็นครูประจำชั้น ป.1 ของโรงเรียน สอนให้พวกเราคัดและอ่านพยัญชนะไทย ฝึกคัดและอ่านเลขไทยในช่วงเช้า

ส่วนช่วงบ่ายพวกเราก็จะลงวิ่งเล่นในบริเวณโรงเรียน ถ้าฝนไม่ตกและแดดไม่ร้อนมาก พวกเราก็จะออกวิ่งเล่นกันกลางสนาม มีความสุข สนุกสนาน ร่าเริง ตามวัยของเด็ก หลังจากฝึกคัดและอ่านพยัญชนะไทย และเลขไทยไประยะหนึ่ง จนพวกเราคัดและอ่านได้ชำนาญ ครูแก้วก็จะให้พวกเราคัดและอ่านสระ คัดวรรณยุกต์ ส่วนวิชาเลขเมื่อนักเรียนคัดและอ่านเลขไทยได้คล่องแล้ว คุณครูก็จะให้พวกเราคัดและอ่านเลขอารบิคจนชำนาญ

เมื่อนักเรียนคัดและอ่านพยัญชนะไทย สระ วรรณยุกต์ และเลขไทย เลขอารบิคชำนาญแล้ว ครูแก้วก็จะสอนให้พวกเราเอาพยัญชนะและสระมาผสมกัน อ่านให้พวกเราฟัง ให้พวกเราอ่านตาม ฝึกให้นำพยัญชนะตัวใหม่ สระตัวใหม่มาผสมและอ่าน นำวรรณยุกต์มาเติม อ่านให้เราฟัง ให้พวกเราฝึกอ่าน ฝึกผสมคำ เริ่มต้นจากคำง่ายๆ และเพิ่มคำยากขึ้นตามลำดับ ผู้เขียนและเพื่อนๆ ในชั้นเรียนก็อ่านและเขียนกันได้ทุกคน

ส่วนวิชาเลข ในชั้น ป.1 เราเรียนเรื่องการบวกและการลบ พวกเราบวกลบเลขได้ดีกันทุกคน ส่วนเรื่องระเบียบวินัย ความสะอาด การแต่งกาย คุณธรรม จริยธรรม สุขภาพอนามัย เป็นเรื่องที่ครูทุกคนต้องช่วยกันดูแลเอาใจใส่ให้นักเรียนทุกคนปฏิบัติตามระเบียบวินัย รักษาความสะอาดตัวเอง ห้องเรียน โรงเรียนและบริเวณโรงเรียน ยึดมั่นในค่านิยม จริยธรรมและคุณธรรมที่พึงประสงค์ และแต่งกายให้สะอาด เรียบร้อย แม้ว่าท่านเหล่านั้นไม่ได้เป็นครูประจำชั้นของพวกเราก็ตาม

การที่พวกเราไม่มีสมุดสำหรับจดบันทึก ใช้เพียงกระดานชนวนคนละแผ่นและดินสอหินคนละแท่งเขียนแล้วต้องลบ จึงจะเขียนสิ่งใหม่ลงไปแทนได้ พวกเราจึงต้องจำทุกอย่างที่ครูสอนให้ได้ เมื่อขึ้นชั้น ป.2 พวกเราจึงมีสมุดใช้ แต่ความรู้ทุกอย่างมาจากครู เรียนจาก ป.1-ป.4 ผู้เขียนระลึกเสมอว่าผู้เขียนได้ความรู้ทุกอย่างมาจากครู ไม่เคยรู้จักห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ หรือแหล่งค้นคว้าอื่น

ครั้นเรียนจบชั้น ป.4 จบการศึกษาภาคบังคับ นักเรียนที่เรียน (วิชาภาษาไทยและเลข) ไม่ค่อยเก่งก็จะเลือกออกไปช่วยงานพ่อแม่ ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ส่วนผู้เขียนโชคดีได้เรียนต่อชั้น ม.1 (เทียบเท่าชั้น ป.5 ในปัจจุบัน) การเรียนการสอนก็ไม่แตกต่างไปจากเดิม จากชั้น ม.1-ม.6 พวกเราเรียนวิชาต่างๆ จากคุณครู และคุณครูก็ใช้หนังสือหรือตำราเรียนเพียงไม่กี่เล่ม ส่วนใหญ่ก็จะเป็นวิชาละเล่ม ตั้งใจฟังคุณครูอธิบาย ทำแบบฝึกหัดให้ครบทุกข้อ เวลาสอบก็มักจะได้คะแนนเต็มเสมอ ส่วนคนที่ไม่ตั้งใจฟังครู ไม่ทำการบ้าน ไม่ทำแบบฝึกหัดก็จะสอบตก การเรียนในช่วงปี พ.ศ.2495-2504 จึงเป็นการเรียนที่ค่อนข้างง่ายๆ เรียนสบายๆ ตั้งใจรับความรู้จากครูให้ได้ครบถ้วน เราก็จะได้ชื่อว่าเป็นนักเรียนเก่ง

การเรียนการสอนในประเทศไทยตั้งแต่เริ่มแรกมาจนถึงยุค พ.ศ.2500 ต้นๆ จึงเป็นการเรียนการสอนที่พึ่งครูเป็นสำคัญ มาถึงสมัยปัจจุบันเรานิยมเรียกการเรียนการสอนแบบนี้ว่าเป็นการเรียนการสอนแบบ “Teacher-Centered” เป็นการเรียนการสอนที่ครูรู้เนื้อหาวิชาดีที่สุด ครูทุ่มเทเสียสละ ตั้งใจ เตรียมการสอน ตรวจการบ้าน เอาใจใส่ศิษย์ทุกคน ทำตนให้เป็นแบบอย่างในทุกโอกาส ประสานงานกับผู้ปกครอง ห่วงใย แนะนำ อบรม สั่งสอนศิษย์ในทุกๆ เรื่องโดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย นักเรียนที่เรียนช้าก็ได้รับคำแนะนำ ช่วยเหลือ

ผู้เขียนเรียนในโรงเรียนในต่างจังหวัดจึงไม่มีความรู้เรื่องการกวดวิชาเพราะครูในโรงเรียนก็ไม่มีใครไปสอนกวดวิชา

หลังจากเรียนจบชั้น ม.6 (ในขณะนั้น) ผู้เขียนมีโอกาสได้เรียนต่อในวิทยาลัยครู ในหลักสูตร ป.กศ. (ประกาศนียบัตรวิชาชีพทางการศึกษา) ซึ่งเป็นหลักสูตร 2 ปีที่วิทยาลัยครู การเรียนการสอในวิทยาลัยครูตั้งแต่ชั้น ป.กศ.ต้น จนถึงชั้น ป.กศ.สูง ยังคงเป็นการเรียนการสอนแบบ “Teacher Centered” ไม่เปลี่ยนแปลง แม้ว่าอาจารย์ที่สอนวิชาจิตวิทยาทางการศึกษาในสมัยโน้นจะพูดถึงเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Difference) ให้พวกเราท่อง ให้ค้นคว้า ให้รายงาน แต่เมื่อถึงเวลาสอบก็ยังออกข้อสอบเฉพาะเรื่องที่อาจารย์บรรยายเป็นหลัก ถ้าใครตั้งใจฟังคำบรรยาย อ่านทบทวนคำบรรยาย ก็จะตอบได้และได้เกรด A ง่ายๆ

คำว่า “Individual Differences,” “Multiple Intelligences,” หรือ “Learning Styles” จึงเป็นเพียงคำศัพท์ทางจิตวิทยาการศึกษาให้พวกเราอ่านและท่องให้เข้าใจ แต่การปฏิบัติต่อพวกเราโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลจริงๆ ไม่เกิดในชั้นเรียน สาเหตุอาจเป็นเพราะครูยังเป็นใหญ่ในชั้นเรียน นักเรียนต้องเรียนตามสไตล์การสอนของครู ใครเรียนตามสไตล์การสอนของครูไม่ได้ก็จะกลายเป็นคนไม่เก่ง สอบตก ทำเกรดเฉลี่ยได้ต่ำกว่าเกณฑ์ และถูกให้ออกจากวิทยาลัยครูไป

การเรียนการสอนที่เน้นครูเป็นสำคัญ หรือ Teacher-Centered ปัจจุบันนี้หลายคนก็จะเรียกว่าเป็นการเรียนการสอนแบบ 1.0 ที่สอนโดยครู 1.0 และนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาออกมาก็จะกลายเป็นนักเรียน 1.0 คือรู้ เข้าใจเนื้อหา ทฤษฎี หลักการและแนวปฏิบัติ และอธิบาย ปฏิบัติตามและใช้เครื่องมือที่ครูสอนได้เป็นอย่างดี

ส่วนผู้บริหารโรงเรียนที่ทำหน้าที่กำกับดูแลให้ครูสอนจนนักเรียนรู้ เข้าใจ ปฏิบัติตามครูได้ก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้บริหารโรงเรียน 1.0 ส่วนโรงเรียนก็กลายเป็นโรงเรียน 1.0

ครู 1.0 และผู้บริหารโรงเรียน 1.0 ทำงานประสบความสำเร็จและทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้า และเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเกิดจากจำนวนนักเรียนทั่วทั้งประเทศมีจำกัด สัดส่วนของนักเรียนที่เรียนจบชั้น ป.4 และได้เรียนต่อ ม.1 ก็มีไม่ถึง 50% ของผู้สำเร็จการศึกษา นอกจากนั้น ความรู้ หรือทฤษฎี หลักการ งานวิจัย กฎ ระเบียบ และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับวิชาต่างๆ เป็นต้นว่าทฤษฎี หลักการ งานวิจัย กฎ ระเบียบ และแนวปฏิบัติในวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เลข ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ฯลฯ ก็มีจำกัด หนังสือเรียนเกี่ยวกับวิชาต่างๆ เหล่านี้ก็มีเพียงไม่กี่เล่ม การเรียนการสอนก็เน้นที่การทำความเข้าใจในทฤษฎี หลักการ งานวิจัย กฎ ระเบียบ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับวิชาต่างๆ ก็ถือว่าเพียงพอ แค่เข้าใจ ทำโจทย์ได้ ก็สอบได้คะแนนเต็มแล้ว ครูผู้สอนหลายท่านจึงเข้าสอนได้โดยไม่ต้องพึ่งตำรา เพราะคุณครูท่านจำทฤษฎี จำโจทย์ตัวอย่าง และจำโจทย์แบบฝึกหัดได้หมด อาชีพที่ผู้จบชั้น ม.6 หรือสูงกว่า จะออกไปประกอบก็เน้นที่การนำความรู้ที่เรียนมาไปใช้โดยตรง

ครู 1.0 และผู้บริหารโรงเรียน 1.0 จึงทำงานอย่างมีความสุข

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2503 รัฐบาลไทยในสมัยนั้นได้ประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2503 บังคับให้เยาวชนไทยต้องเข้ารับการศึกษาภาคบังคับ 7 ปี เยาวชนที่เข้าอยู่ในระบบโรงเรียนจึงเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับผู้ปกครองก็เห็นความสำคัญของการศึกษามากขึ้น ผู้สำเร็จการศึกษาสูงๆ มักจะได้เป็นเจ้าคนนายคน ทำงานก็มีรายได้สูงๆ จากการที่ต้องเข้าเรียนในระบบการศึกษาภาคบังคับ 7 ปี ผู้ปกครองหลายคนจะชักนำ บังคับ หรือขืนใจให้บุตรหลานของตนเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาเพิ่มขึ้น จากการที่จำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น ประเทศจำเป็นต้องจัดหาครูเพิ่มมากขึ้น

การที่ประชากรวัยเรียนเข้าเรียนต่อในสัดส่วนที่สูงขึ้น นักเรียนที่ไม่ถนัดทางภาษาและคณิตศาสตร์ก็เรียนต่อมากขึ้น ประกอบกับความจริงที่ว่ามนุษย์มีความสนใจ ความถนัด สติปัญญา (Intelligences) และวิถีการเรียนรู้ (Learning Styles) ที่แตกต่างกัน นักการศึกษาโดยเฉพาะนักการฝึกหัดครู จึงคิดรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายให้เหมาะสมกับสติปัญญา ความสนใจและความถนัด และสไตล์การเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน มีเครื่องมือวัดสติปัญญาและความถนัด และสไตล์การเรียนรู้ของผู้เรียน และครูก็จัดให้ผู้เรียนได้เรียนเพื่อพัฒนาสติปัญญาและความถนัดของตน โดยใช้สไตล์การสอนที่เหมาะสมกับสไตล์การเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น นักเรียนที่มีสติปัญญาและความถนัดทางคณิตศาสตร์ก็ให้ได้เรียนกับครูที่มีความสามารถในการจัดรูปแบบการรู้เรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้สไตล์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่หลากหลาย

นักเรียนที่มีสติปัญญาและความถนัดทางดนตรีก็ให้ได้เรียนดนตรีตามสไตล์การเรียนรู้ของเขา ผู้ประกอบวิชาชีพครูจึงมีหน้าที่หลักคือการทำให้นักเรียนที่มี Intelligences ที่หลากหลาย (เพราะสัดส่วนผู้เรียนเรียนต่อสูงขึ้น) ได้เรียนรู้ตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียนแต่ละคน การเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จะยึดครูเป็นสำคัญเหมือนอย่างที่เคยปฏิบัติมาไม่ได้ แต่ครูจะต้องจัดการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

หรือที่เรียกว่าการจัดการเรียนการสอนแบบ “Child-Centered” ซึ่งครูที่สามารถจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจนประสบความสำเร็จ

ปัจจุบันเราก็มักจะเรียกว่าเป็น “ครู 2.0” และเรียกนักเรียนที่ได้เรียนตามความถนัดและความสนใจจนสติปัญญาได้รับการพัฒนาเต็มที่ตามศักยภาพว่าเป็น “นักเรียน 2.0” ส่วนผู้บริหารโรงเรียนที่สามารถบริหารให้เกิดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้อย่างมีประสิทธิผลก็จะได้รับเรียกว่าเป็น “ผู้บริหารโรงเรียน 2.0” และเรียกโรงเรียนที่มี ครู 2.0 และผู้บริหาร 2.0 ปฏิบัติงานอยู่ว่าเป็น “โรงเรียน 2.0”

โรงเรียน 2.0 ต้องจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพให้ตอบสนองความสนใจ ความถนัด สติปัญญา และสไตล์การเรียนรู้ที่หลากหลายของผู้เรียน โต๊ะ เก้าอี้ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ แหล่งเรียนรู้ต้องพร้อม ขนาดของห้องเรียนต้องเล็ก จำนวนนักเรียนต่อห้องต้องน้อย ส่วนใหญ่จะไม่เกิน 15 คนต่อห้อง การจัดโต๊ะและเก้าอี้นักเรียนก็จะจัดให้นักเรียนนั่งเรียนเป็นวงกลม มีครูที่ผ่านการฝึกมาเป็นอย่างดีในหลากหลายวิชาเอกตามความสนใจ ความถนัด และสติปัญญาของผู้เรียน นักเรียนที่เรียนช้า หรือมีปัญหาในการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่งจะได้รับการดูแลเอาใจใส่ปรับฐานสติปัญญาให้ทัดเทียมเพื่อนๆ เป็นระยะ (Remedial Learning) โดยใช้ครูผู้มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ (Expert Teacher) จนนักเรียนสามารถเรียนร่วมกับเพื่อนได้ นักเรียนจะได้เรียนในสิ่งที่ตนเองชอบและถนัด กับครูที่มีความสนใจ ความถนัด และสติปัญญาในวิชานั้นๆ อย่างแท้จริง

ครู 2.0 จึงต้องเก่งในวิชาที่ตนสอนเช่นเดียวกับ ครู 1.0 แต่ที่ต้องเก่งมากกว่า ครู 1.0 ก็คือ ครู 2.0 ต้องรู้ความถนัด ความสนใจ สติปัญญาและวิถีการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน และต้องทำให้ผู้เรียนแต่ละคนประสบความสำเร็จตามศักยภาพของตน การผลิต ครู 2.0 จึงต้องฝึกแบบเข้ม คนที่จะมาเรียนเพื่อออกไปเป็น ครู 2.0 จึงต้องผ่านการคัดกรองมาเป็นอย่างดี และมีกระบวนการผลิตที่ดี คล้ายๆ กับระบบ และกระบวนการผลิตแพทย์

ครู 2.0 ที่จัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญยังเป็นที่ปรารถนาของผู้ปกครองและนักเรียนแทบทั่วทุกประเทศ อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology= ICT-ไอซีที) ได้รับการพัฒนาจนมีศักยภาพสูงมาก มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้แบบไม่มีขอบเขตจำกัด สามารถสื่อสารถึงกันได้ในรูปแบบที่หลากหลาย ผ่านทางตัวหนังสือ ข้อความเสียง ภาพนิ่ง ภาพวิดีโอ แผนภูมิ และระบบอัตโนมัติต่างๆ ความรู้ในทุกศาสตร์ ทั้งที่เป็นทฤษฎี หลักการ งานวิจัย สมมุติฐาน แนวปฏิบัติเกี่ยวกับวิชาต่างๆ ถูกนำขึ้นเผยแพร่ในสื่อดิจิทัล Websites, YouTube, PowerPoint, LINE, สื่อวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ และอื่นๆ อีกมากมาย ความรู้ไม่มีขอบเขตจำกัด ความรู้ไม่คงที่ มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง การเป็น ครู 1.0 หรือ ครู 2.0 ที่ดีเพียงอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอ ครูในยุคปลาย ศตวรรษที่ 20 จึงต้องเป็นทั้ง ครู 1.0 และครู 2.0 ที่มีคุณภาพ และนอกจากนั้นก็จะต้องเป็นครูที่สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร สื่อดิจิทัล และสื่อสารมวลชนให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการจัดการเรียนการสอน และสามารถให้คำแนะนำแก่ผู้เรียนเกี่ยวกับแนวทางการตรวจสอบความถูกต้องและน่าเชื่อถือของความรู้ที่ปรากฏตามสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ

ครูที่มีคุณลักษณะของ ครู 1.0 และครู 2.0 และสามารถใช้สื่อดิจิทัล สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น Websites, YouTube, PowerPoint, LINE, Digital Learning Sources, Radio, TV, Printed Materials, Museums, Displays, Presentations, Local Wisdoms, etc. ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิผล ก็จะได้รับการเรียกชื่อว่า ครู 3.0




แหล่งที่มา: www.matichon.co.th/news/343147ติดตามข่าวงานราชการเปิดรับสมัครสอบ » Facebook | Twitter | iqepi.com | งานราชการเปิดสอบวันนี้.com
ดูแนวข้อสอบงานราชการ-รัฐวิสาหกิจ » spthailocal.com | thebestcenter.com | 129jump.com | ehenbook.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น