ความคืบหน้าเกี่ยวกับการสอบท้องถิ่น
2556
อัพเดตล่าสด
จากการประชุมเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2556
อาจจะเปิดรับสมัคร
"ไม่ทันเดือนตุลาคม"
เนื่องจากในการประชุมเพื่อพิจารณารายละเอียดในข้อตกลง (TOR)
ที่จะมอบให้มหาวิยาลัยราชภัฎสวนดุสิตเป็นผู้จัดการสอบ
แต่เนื่องจากมีรายละเอียดเยอะมาก กรรมการ กสถ.
จึงนำกลับไปพิจารณารายละเอียดแล้วจะส่งกลับไปให้ฝ่ายเลขานุการก่อนวันที่ 8 ตุลาคม
2556 ด้วยว่า กสถ. ต้องการพิจารณาขั้นตอนการดำเนินการสอบอย่างรอบคอบให้กระบวนการจัดสอบเป็นไปด้วยความโปร่งใส
เป็นธรรม
ถ้า กสถ.
ไม่มีการแก้ไขก็น่าจะมีการลงนามในบันทึกข้อตกลง และประธาน กสถ.
ก็สามารถลงนามในประกาศรับสมัครสอบ
รวมทั้งดำเนินการรับสมัครได้ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ทั้งนี้ฝ่ายเลขานุการ (กรม สถ.)
ได้มีการเตรียมการในขั้นตอนต่างๆ ไว้เรียบร้อยแล้ว แต่หากมีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญในบันทึกข้อตกลงก็อาจทำให้การประกาศรับสมัครสอบและกำหนดการต่างๆ
จำเป็นต้องเลื่อนออกไป
เกี่ยวกับตำแหน่งที่จะเปิดรับสมัครสอบท้องถิ่นในครั้งนี้
จะมีการรวมกลุ่มตำแหน่งที่มีลักษณะงานเกื้อกูลกัน เช่น เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี
, เจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้, เจ้าหน้าที่พัสดุ เข้าด้วยกัน เป้นต้น
ผู้สมัครสอบไม่ต้องสมัครสอบเป็นรายตำแหน่ง แต่จัดจัดกลุ่มอย่างไรให้รอประกาศของประธาน
กสถ.
บางท่านอาจจะสงสัยใช่ไหมครับว่า
"ตำแหน่งที่มีลักษณะงานเกื้อกูลกัน" คืออะไร?? และเพื่ออะไร ??
ตามประกาศ ที่ มท
0809.1/ว 54 ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2545
เรื่อง
การกำหนดงานที่เกี่ยวข้องกันตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งและการกำหนดตำแหน่งที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวข้องเกื้อกูลกัน
ลงมติเห็นชอบให้การกำหนดงานที่เกี่ยวข้องกันตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งโดยจัดตามสายงานต่างๆ
ตามที่จำแนกไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งเพื่อใช้เป็นแนวทางในการเลื่อนระดับ การย้าย
หรือ รับโอนเพื่แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
และให้กำหนดตำแหน่งที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกันเพื่อประโยชน์ในการเลื่อนและแต่งตั้งในตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์
(เลื่อนไหล)
โดยการนำระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในสายงานอื่นที่เริ่มต้นจากระดับเดียวกัน
ซึ่งมีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกันมานับรวมเป็นรวมเป็นระยะเวลาขั้นต่ำเพื่อประโยชน์ในการเลื่อนและแต่งตั้งในตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นได้
บัญชีกำหนดกลุ่มตำแหน่งพนักงานเทศบาลที่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกัน
ตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ
๑ และระดับ ๒
กลุ่มที่
๑ กลุ่มงานปฏิบัติช่วยบริหารจัดการ
๑.เจ้าหน้าที่ธุรการ
๒.เจ้าพนักงานธุรการ
๓.เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
๔.เจ้าหน้าที่ทะเบียน
๕.เจ้าพนักงานทะเบียน
๖.เจ้าหน้าที่เทศกิจ
๗.เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
๘.เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
กลุ่มที่
๒ กลุ่มการเงินและการคลัง
๑.เจ้าหน้าที่พัสดุ
๒.เจ้าพนักงานพัสดุ
๓.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี
๔.เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี
๕.เจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้
๖.เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้
๗.เจ้าหน้าที่การคลัง
๘.เจ้าพนักงานการคลัง
กลุ่มที่
๓ กลุ่มงานสาธารณสุข
๑.เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน
๒.เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสุขภาพ
๓.เจ้าพนักงานส่งเสริมสุขภาพ
๔.เจ้าหน้าที่สุขาภิบาล
๕.เจ้าพนักงานสุขาภิบาล
๖.เจ้าหน้าที่พยาบาล
๗.พยาบาลเทคนิค
๘.เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์
๙.เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์
๑๐.ทันตสาธารณสุข
๑๑.ทันตานามัย
๑๒.เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์การแพทย์
๑๓.เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์
๑๔.เจ้าหน้าที่รังสีเทคนิค
๑๕.ผดุงครรภ์สาธารณสุข
๑๖.โภชนาการ
๑๗.เจ้าพนักงานโภชนาการ
๑๘.เจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์
กลุ่มที่
๔ กลุ่มงานช่าง
๑.ช่างโยธา
๒.นายช่างโยธา
๓.ช่างสำรวจ
๔.นายช่างสำรวจ
๕.ช่างเขียนแบบ
๖.นายช่างเขียนแบบ
๗.ช่างผังเมือง
๘.นายช่างผังเมือง
๙.ช่างเครื่องยนต์
๑๐.นายช่างเครื่องยนต์
๑๑.ช่างไฟฟ้า
๑๒.นายช่างไฟฟ้า
กลุ่มที่
๕ กลุ่มงานเยาวชนและงานห้องสมุด
๑.เจ้าหน้าที่ห้องสมุด
๒.เจ้าพนักงานห้องสมุด
๓.เจ้าหน้าที่ศูนย์เยาวชน
๔.เจ้าพนักงานศูนย์เยาวชน
๕.เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน
๖.เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน
กลุ่มที่
๖ กลุ่มงานเภสัชกร
๑.ผู้ช่วยเภสัชกร
กลุ่มที่
๗ กลุ่มงานสัตวแพทย์
๑.สัตวแพทย์
กลุ่มที่
๘ กลุ่มงานประชาสัมพันธ์
๑.เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการท่องเที่ยว
๒.เจ้าพนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว
๓.เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
๔.เจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์
๕.ช่างภาพ
๖.นายช่างภาพ
๗.ช่างศิลป์
๘.นายช่างศิลป์
กลุ่มงานที่
๙ กลุ่มงานสวนสาธารณะ
๑.เจ้าหน้าที่สวนสาธารณะ
๒.เจ้าพนักงานสวนสาธารณะ
กลุ่มงานที่
๑๐ กลุ่มงานประปา
๑.เจ้าหน้าที่การประปา
๒.เจ้าพนักงานประปา
ตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ
๓
กลุ่มที่
๑
๑.บุคลากร
๒.เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
๓.เจ้าหน้าที่บริหารงานทะเบียนและบัตร
๔.เจ้าพนักงานเทศกิจ
๕.นักวิจัยการจราจร
***
๖.นักทรัพยากรบุคคล (ของข้าราชการพลเรือนที่โอนมา)
กลุ่มที่
๒
๑.นักวิชาการคลัง
๒.นักวิชาการการเงินและบัญชี
๓.นักวิชาการจัดเก็บรายได้
๔.เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน
๕.นักวิชาการพัสดุ
กลุ่มที่
๓
๑.นักพัฒนาชุมชน
๒.นักสังคมสงเคราะห์
กลุ่มที่
๔
๑.เจ้าหน้าที่พัฒนาการท่องเที่ยว
๒.นักวิชาการประชาสัมพันธ์
กลุ่มที่
๕
๑.นิติกร
กลุ่มที่
๖
*๑.เจ้าหน้าที่สันทนาการ(ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อตำแหน่งเป็น
สันทนาการ)
*๒.สารวัตรนักเรียน
(ตำแหน่งนี้ยกเลิกแล้ว)
๓.นักวิชาการศึกษา
๔.บรรณรักษ์
**๕.นักวิชาการวัฒนธรรม(เพิ่มใหม่)
กลุ่มที่
๗
๑.นักวิชาการสวนสาธารณะ
ใช้ในกรณีดังต่อไปนี้
๑.ใช้เป็นแนวทางในการเลื่อนระดับ
การย้าย หรือรับโอน เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
กรณีมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งกำหนดให้เป็นผู้ปฏิบัติหรือเคยปฎิบัต
ิราชการเกี่ยวกับงานที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
มีผลตั้งแต่วันที่ ๓๐
สิงหาคม ๒๕๔๕
๒.เพื่อประโยชน์ในการเลื่อนและแต่งตั้งในตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มี
ประสบการณ์(เลื่อนไหล)
โดยการนำระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในสายงานอื่นที่เริ่ม
ต้นจากระดับเดียวกัน
ซึ่งมีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกันมานับรวมเป็นระยะ
เวลาขั้นต่ำ เพื่อประโยชน์ในการเลื่อนและแต่งตั้งในตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นได้
มีผลตั้งแต่วันที่ ๒๙
เมษายน ๒๕๔๕
มติคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล
เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการกำหนดงานที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานกำหนดตำแหน่งและ
การกำหนดตำแหน่งที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวข้องเกื้อกูลกันของ
พนักงานเทศบาล
หนังสือสำนักงาน
ก.ท. ที่ มท ๐๘๐๙.๕/ว ๓๑๒ ลงวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ เรื่อง
การกำหนดตำแหน่งที่เกี่ยวข้องและเกื้อกูล แจ้งมติคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล
(ก.ท.) ในการประชุม ครั้งที่ ๘/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๓ ดังนี้
๑.กรณีเทศบาลได้รับความเห็นชอบจาก
ก.ท.จ.ให้นำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปของ
ก.จ.มาใช้บังคับโดยอนุโลม หาก
ก.จ.กำหนดตำแหน่งดังกล่าวเกี่ยวข้องและเกื้อกูลกับตำแหน่งใด
ก็ถือว่าเป็นตำแหน่งที่เกี่ยวข้องและเกื้อกูลกับตำแหน่งของเทศบาลตามที่ ก.ท.กำหนดไว้เช่นกัน
ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการเลื่อนระดับและบรรจุแต่งตั้ง
๒.กรณีเทศบาลได้รับความเห็นชอบจาก ก.ท.จ.
ให้นำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งในสายงานอื่นของ ก.จ.หรือ ก.อบต. มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หาก ก.จ.หรือ ก.อบต.กำหนดตำแหน่งดังกล่าวเกี่ยวข้องและเกื้อกูลกับตำแหน่งใด
ก็ถือว่าเป็นตำแหน่งที่เกี่ยวข้องและเกื้อกูลกับตำแหน่งของเทศบาลตามที่
ก.ท.กำหนดไว้เช่นกัน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการเลื่อนระดับและบรรจุแต่งตั้ง
มติ
ก.จ.กำหนดลักษณะงานที่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกัน สายงานที่เริ่มต้นจากระดับ ๓ กลุ่มที่
๑ ดังนี้
๑.เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
๒.เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
๓.บุคลากร
***
หนังสือสำนักงาน ก.ท.ที่ มท ๐๘๐๙.๕/๑๖๔๗ ลงวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๔ เรื่อง
หารือการเลื่อนระดับพนักงานเทศบาล
ความว่า ก.พ. ได้ยกเลิกตำแหน่ง บุคลากร
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๓๕ และได้กำหนดเปลี่ยนเป็นตำแหน่ง
นักทรัพยากรบุคคล ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑
โดยที่ลักษณะของนักทรัพยากรบุคคลมีลักษณะงานที่เหมือนกับหรือคล้ายคลึงกับ
ตำแหน่งบุคลากร
ดังนั้นจึงเห็นควรกำหนดให้ตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนเป็น
ตำแหน่งที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องและเกื้อกูลกับตำแหน่ง
เจ้าหน้าที่บริหารงานทะเบียนและบัตรและตำแหน่งอื่นในกลุ่มเดียวกัน ตามมติ
กท.ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๔๕ เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๔๕
และในการประชุมในครั้งที่ ๘/๒๕๔๕ เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๕
ซึ่งแจ้งตามหนังสือสำนักงาน ก.จ. ก.ท. ก.อบต.ที่ มท ๐๘๐๙.๑/ว ๕๔ ลงวันที่ ๒๙
ตุลาคม ๒๕๕๔
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น