ตำแหน่งที่เปิดสอบ ประเภทวิชาการ (สำหรับมีคุณวุฒิ ปริญญาตรี)
นักการข่าวปฏิบัติการ (ด้านปฏิบัติการและวิเคราะห์วิจัย) 40 อัตรา
นักการข่าวปฏิบัติการ (ด้านคอมพิวเตอร์) 5 อัตรา
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ 1 อัตรา
นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ 4 ตำแหน่ง
ตำแหน่งที่เปิดสอบ ประเภททั่วไป สำหรับผู้มีคุณวุฒิ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
นักการข่าวปฏิบัติการ (ด้านคอมพิวเตอร์) 5 อัตรา
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ 1 อัตรา
นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ 4 ตำแหน่ง
ตำแหน่งที่เปิดสอบ ประเภททั่วไป สำหรับผู้มีคุณวุฒิ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน 4 อัตรา
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน 2 อัตรา
นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน 10 อัตรา
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน 2 อัตรา
นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน 10 อัตรา
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบสมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ถึง วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ http://www.nia.go.th หรือ http://job.nia.go.th
ประกาศรายชื่อผู้สมัครสอบ วัน เวลา สถานที่สอบ และระเบียบ
เกี่ยวกับการสอบในวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๕
เกี่ยวกับการสอบในวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๕
ประกาศสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งประเภทวิชาการ
และตำแหน่งประเภททั่วไป
-----------------------------------
ด้วย สำนักข่าวกรองแห่งชาติ จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่ง
ประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการและตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความใน
มาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๔.๑/ว ๑๕
ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ
จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการดังรายละเอียดต่อไปนี้
๑. ตำแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้ง เงินเดือนที่จะได้รับ และจำนวนตำแหน่งว่างตามรายละเอียด
แนบท้ายประกาศ
๒. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ลักษณะงานที่ปฏิบัติของแต่ละตำแหน่ง ปรากฏตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้
๓. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครสอบ
๓.๑ ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัติทั่วไป และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ดังต่อไปนี้
ก. คุณสมบัติทั่วไป
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๘ ปี
(๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
ประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ข. ลักษณะต้องห้าม
(๑) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
(๒) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน
ไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ.๒๕๕๓ ได้แก่
๑) วัณโรคระยะแพร่กระจายเชื้อ
๒) โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
๓) โรคติดยาเสพติดให้โทษ
๔) โรคพิษสุราเรื้อรัง
๕) โรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรงและเป็น
อุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ตามที่ ก.พ. กำหนด
/(๓) เป็นผู้...
- ๒ -
(๓) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตาม
พระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
(๔) เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
(๕) เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง หรือ
เจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(๖) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๗) เป็นผู้เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดทาง
อาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๘) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
(๙) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้
หรือตามกฎหมายอื่น
(๑๐) เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออกเพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตาม
กฎหมายอื่น
(๑๑) เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ หรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ
ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตาม ข.(๔) (๖) (๗) (๘) (๙)
(๑๐) หรือ (๑๑) ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ แต่ถ้าเป็นกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (๘) หรือ (๙)
ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกิน ๒ ปีแล้ว และในกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (๑๐) ผู้นั้นต้อง
ออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกิน ๓ ปีแล้ว และต้องมิใช่เป็นกรณีออกจากงานหรือออกจากราชการเพราะ
ทุจริตต่อหน้าที่ สำหรับผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๖ ข.(๑) ให้มีสิทธิสมัครสอบแข่งขันได้แต่จะมีสิทธิได้รับ
บรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญที่สอบแข่งขันได้ต่อเมื่อพ้นจากการเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว
สำหรับพระภิกษุหรือสามเณร ทางราชการไม่รับสมัครสอบและไม่อาจให้เข้าสอบแข่งขัน
เพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ ทั้งนี้ ตามหนังสือกรมสารบรรณคณะรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร ที่ นว ๘๙/๒๕๐๑ ลงวันที่
๒๗ มิถุนายน ๒๕๐๑ และตามความในข้อ ๕ ของคำสั่งมหาเถรสมาคม ลงวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๓๘
๓.๒ ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามที่ระบุไว้ในรายละเอียดแนบ
ท้ายประกาศนี้
๔. การรับสมัครสอบ
๔.๑ ผู้ประสงค์จะสมัครสอบสมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ถึง
วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ ตามขั้นตอนดังนี้
(๑) เปิดเว็บไซต์ http://www.nia.go.th หรือ http://job.nia.go.th หัวข้อ “รับสมัคร
สอบแข่งขัน”
(๒) กรอกข้อความให้ถูกต้องและครบถ้วน ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนด ระบบจะกำหนด
แบบฟอร์มการชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ให้โดยอัตโนมัติ
(๓) พิมพ์แบบฟอร์มการชำระเงินลงในกระดาษขนาดเอ ๔ จำนวน ๑ แผ่น หรือหากไม่มี
เครื่องพิมพ์ในขณะนั้น ให้บันทึกข้อมูลเก็บไว้ในรูปแบบ File ลงในสื่อบันทึกข้อมูล เช่น Flash Drive เป็นต้น
/ในกรณี...
- ๓ -
ในกรณีที่ไม่สามารถพิมพ์แบบฟอร์มการชำระเงินหรือบันทึกข้อมูลได้ ผู้สมัครสามารถ
เข้าไปพิมพ์แบบฟอร์มการชำระเงิน หรือบันทึกข้อมูลลงในสื่อบันทึกข้อมูลใหม่ได้อีก แต่จะไม่สามารถแก้ไขข้อมูล
ในการกรอกใบสมัครในครั้งแรกที่สมบูรณ์แล้วได้
๔.๒ นำแบบฟอร์มการชำระเงินไปชำระเงินเฉพาะที่เคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขา
ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ถึง วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ภายในเวลาทำการของธนาคาร
การรับสมัครสอบจะมีผลสมบูรณ์เมื่อชำระค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบเรียบร้อยแล้วภายในเวลาที่กำหนด
(ผู้สมัครสามารถเข้ามาพิมพ์ใบสมัครที่มีเลขประจำตัวสอบตั้งแต่วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๕ เป็นต้นไป)
๔.๓ ค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบ
ค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบตำแหน่งละ ๒๓๐ บาท ประกอบด้วย
- ค่าธรรมเนียมสอบ จำนวน ๒๐๐ บาท
- ค่าธรรมเนียมธนาคารรวมค่าบริการทางอินเทอร์เน็ต จำนวน ๓๐ บาท
** ค่าธรรมเนียมจะไม่จ่ายคืนให้ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น **
๔.๔ ผู้สมัครที่ชำระค่าธรรมเนียมสอบแล้วจะได้รับเลขประจำตัวสอบ โดยจะกำหนดเลขประจำตัวสอบ
ตามลำดับของการชำระค่าธรรมเนียมสอบ
๕. เงื่อนไขการสมัครสอบ
๕.๑ ผู้สมัครสอบเลือกสมัครสอบได้เพียงหนึ่งตำแหน่งในแต่ละประเภท (วิชาการ/ทั่วไป)
เมื่อเลือกแล้วจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขไม่ได้
๕.๒ ผู้สมัครสอบจะต้องเป็นผู้มีวุฒิการศึกษาตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งของผู้มีสิทธิ
สมัครสอบในข้อ ๓.๒ โดยต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและได้รับการอนุมัติจากผู้มีอำนาจอนุมัติภายในวันปิดรับ
สมัครสอบ คือ วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ทั้งนี้ ผู้ที่จะถือว่าเป็นผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตร
หรือปริญญาบัตรของสถานศึกษาใดนั้นจะถือตามกฎหมาย กฎ หรือระเบียบเกี่ยวกับการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
ขั้นประกาศนียบัตรหรือปริญญาบัตรของสถานศึกษานั้นๆ เป็นเกณฑ์
๕.๓ การสมัครสอบตามขั้นตอนข้างต้น ถือว่าผู้สมัครเป็นผู้ลงลายมือชื่อ และรับรองความถูกต้อง
ของข้อมูลดังกล่าวตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๕๔๔ ดังนั้น หากผู้สมัครจงใจ
กรอกข้อมูลอันเป็นเท็จ อาจมีความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๓๗
๕.๔ ผู้สมัครสอบต้องรับผิดชอบในการตรวจสอบและรับรองตนเองว่า เป็นผู้มีคุณสมบัติตรงตาม
ประกาศรับสมัครสอบ และต้องกรอกรายละเอียดต่างๆ ให้ถูกต้องครบถ้วนตรงตามความเป็นจริง ในกรณีที่มีความ
ผิดพลาดอันเกิดจากผู้สมัคร หรือตรวจพบว่าเอกสารหลักฐานคุณวุฒิซึ่งผู้สมัครสอบนำมายื่นไม่ตรงหรือไม่เป็นไป
ตามประกาศรับสมัครสอบ สำนักข่าวกรองแห่งชาติจะถือว่าผู้สมัครสอบเป็นผู้ขาดคุณสมบัติในการสมัครสอบครั้งนี้
มาตั้งแต่ต้น และจะไม่คืนค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบ
๖. การประกาศรายชื่อผู้สมัครสอบ วัน เวลา สถานที่สอบ และระเบียบเกี่ยวกับการสอบ
สำนักข่าวกรองแห่งชาติ จะประกาศรายชื่อผู้สมัครสอบ วัน เวลา สถานที่สอบ และระเบียบ
เกี่ยวกับการสอบในวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๕ ทางเว็บไซต์ http://www.nia.go.th หรือ http://job.nia.go.th
/หัวข้อ...
- ๔ -
หัวข้อ “การประกาศรายชื่อผู้สมัครสอบ วัน เวลา สถานที่สอบ และระเบียบเกี่ยวกับการสอบ”
๗. หลักสูตรและวิธีการสอบ
หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันฯ ปรากฏตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศ โดยสำนักข่าวกรอง
แห่งชาติจะดำเนินการทดสอบภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) ก่อน และเมื่อผู้สมัครสอบผ่าน
ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งแล้ว จึงจะมีสิทธิเข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) ต่อไป
๘. หลักฐานที่ต้องยื่นในวันสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.)
๘.๑ ใบสมัครที่พิมพ์จากอินเทอร์เน็ต ให้ติดรูปถ่ายหน้าตรง ไม่สวมหมวก และไม่สวมแว่นตาดำ
ถ่ายไม่เกิน ๑ ปี ขนาด ๑x๑.๕ นิ้ว จำนวน ๒ รูป (เขียนชื่อ-สกุล และเลขประจำตัวสอบหลังรูป) ลงลายมือชื่อ
ในใบสมัครให้ครบถ้วน
๘.๒ สำเนาประกาศนียบัตร หรือ ปริญญาบัตร (ตามตำแหน่งที่สมัครสอบ) และสำเนาระเบียน
แสดงผลการศึกษา (Transcript of Records) ที่แสดงว่าเป็นผู้มีคุณวุฒิทางการศึกษาตรงตามประกาศรับสมัคร
โดยต้องสำเร็จการศึกษาและได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจอนุมัติภายในวันปิดรับสมัคร จำนวนอย่างละ ๒ ฉบับ
(สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ศึกษาหลักสูตรต่อเนื่อง ๒ ปี ให้ใช้ระเบียนแสดงผลการเรียนระดับ
ปวท., ปวส. หรืออนุปริญญาคู่กับระเบียนแสดงผลการเรียนระดับปริญญาตรีด้วย)
๘.๓ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ เท่านั้น จำนวน ๒ ฉบับ
๘.๔ สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน ๒ ฉบับ
๘.๕ สำเนาหลักฐานอื่นๆ เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ นามสกุล (ในกรณี ชื่อ นามสกุล ในหลักฐานการสมัคร
ไม่ตรงกัน) เป็นต้น จำนวน ๒ ฉบับ
๘.๖ สำเนาใบสำคัญการสมรสทั้งผู้สมัครเพศหญิงและเพศชาย จำนวน ๒ ฉบับ
๘.๗ สำเนาหนังสือรับรองผลการสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของ ก.พ. จำนวน ๑ ฉบับ
๘.๘ ใบรับรองแพทย์ซึ่งออกให้ไม่เกิน ๑ เดือน และแสดงว่าไม่เป็นโรคต้องห้ามตามกฎ ก.พ.
พ.ศ. ๒๕๕๓
สำเนาเอกสารทุกฉบับให้ผู้สมัครเขียนคำรับรองว่า “สำเนาถูกต้อง” พร้อมลงลายมือชื่อ วันที่ และ
ระบุเลขประจำตัวสอบกำกับไว้มุมบนด้านขวาทุกหน้าของสำเนาเอกสาร
๙. เกณฑ์การตัดสิน
ผู้ที่จะถือว่าเป็นผู้สอบแข่งขันได้ ต้องเป็นผู้สอบได้คะแนนในการสอบแต่ละภาคไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐
ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงหลักวิชาการวัดผลด้วย
๑๐. การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
- การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้จะเรียงลำดับที่จากผู้ได้คะแนนรวมสูงสุดลงมาตามลำดับ ในกรณีที่มี
ผู้สอบได้คะแนนรวมเท่ากัน ให้ผู้สอบได้คะแนนภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งมากกว่าเป็นผู้อยู่ในลำดับที่สูงกว่า
ถ้าได้คะแนนภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเท่ากัน ให้ผู้ที่ได้รับเลขประจำตัวสอบก่อนเป็นผู้อยู่ในลำดับที่สูงกว่า
/การขึ้นบัญชี...
- ๕ -
- การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ จะขึ้นบัญชีไว้เป็นเวลาไม่เกิน ๒ ปี นับแต่วันขึ้นบัญชี แต่ถ้ามีการ
สอบแข่งขันอย่างเดียวกันนี้อีกและได้ขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ใหม่แล้ว บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ครั้งนี้เป็นอันยกเลิก
๑๑. การบรรจุและแต่งตั้ง
- ผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งใดจะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
โดยได้รับเงินเดือนตามคุณวุฒิที่กำหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น ตามที่ระบุไว้ในรายละเอียดแนบ
ท้ายประกาศ
- ผู้สอบแข่งขันได้เมื่อได้รับการบรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งใดที่สอบได้ไปแล้วให้ยกเลิกการขึ้นบัญชี
ผู้นั้นไว้ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ทุกบัญชีในการสอบครั้งเดียวกัน
- สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ไม่ ประสงค์จะรับโอนผู้สอบแข่งขันได้ที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานทุกประเภท
ประกาศ ณ วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ
(นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ)
ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
รายละเอียด คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ลักษณะงานที่ปฏิบัติ และหลักสูตรวิธีการสอบแข่งขัน
(แนบท้ายประกาศสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ลงวันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕)
ตำแหน่งประเภทวิชาการ
หน่วยที่ ๑ ตำแหน่ง นักการข่าวปฏิบัติการ (ด้านปฏิบัติการและวิเคราะห์วิจัย)
อัตราเงินเดือนและตำแหน่งว่าง
- อัตราเงินเดือนระหว่าง ๑๑,๖๘๐ – ๑๒,๘๕๐ บาท ทั้งนี้ จะได้รับอัตราเงินเดือนเท่าใดให้เป็นไป
ตามที่ อ.ก.พ.สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ อ.ก.พ.กระทรวง กำหนด หรือที่ ก.พ.จะกำหนด
- จำนวนตำแหน่งว่างที่บรรจุได้ในครั้งแรก ๔๐ ตำแหน่ง
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา และเป็นผู้สอบ
ผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ระดับปริญญาตรีของ ก.พ.
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน
ปฏิบัติงานด้านการข่าวภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะ
งานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการศึกษาทฤษฎีและยุทธวิธีด้านการหาข่าว การจัดทำข่าวกรอง
ต่อต้านข่าวกรอง และการรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน เพื่อติดตาม สืบสวน ศึกษาความเคลื่อนไหว
สถานการณ์ พฤติการณ์ของบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ และสื่อมวลชน ที่เป็นเป้าหมายด้านการข่าว
(๒) ร่วมศึกษา วิเคราะห์สถานการณ์ และพฤติการณ์ของบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ และสื่อมวลชน
เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวทางด้านการปกครอง การเมือง การทหาร เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อประมวล
รายละเอียดข้อเท็จจริงในการทำรายงานข่าวกรอง กำหนดแผนและปฏิบัติการหาข่าว รวมทั้งต่อต้านการหาข่าว
การจารกรรม การก่อวินาศกรรม การก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ การบ่อนทำลาย และการรักษาความ
ปลอดภัย ตลอดจนร่วมศึกษา วิเคราะห์ วิจัยข่าวที่มีปัญหายุ่งยาก หรือมีความจำเป็นต้องดำเนินการเป็นการด่วน
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ
โครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ
และผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
/(๒) ชี้แจง...
- ๒ -
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น จัดทำสถิติ รายงาน ฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศเกี่ยวกับงานการข่าว
เพื่อสนับสนุนภารกิจของส่วนราชการ และประโยชน์ในการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ หรือ
มาตรการต่างๆ
จากลักษณะงานที่ปฏิบัติข้างต้นผู้สมัครจึงควร
- สามารถปฏิบัติงานในต่างจังหวัดและในพื้นที่ที่เสี่ยงภัย หรือ ทุรกันดารได้ และเป็นผู้ที่มีสุขภาพ
สมบูรณ์ แข็งแรง
- มีคุณลักษณะเฉพาะบุคคลที่แสดงถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีปฏิภาณไหวพริบ มีความคิดริเริ่ม
สร้างสรรค์
- มีความพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ตลอด ๒๔ ชั่วโมง มีความอดทน สามารถปฏิบัติงานในภาวะที่กดดัน
หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขัน
หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันมี ๒ ภาค ดังนี้
๑. ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
ทดสอบความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้ โดยวิธีสอบข้อเขียน
๑.๑ วิชาความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันภายในประเทศและสถานการณ์โลก (คะแนนเต็ม
๑๐๐ คะแนน)
ทดสอบความรู้ความสามารถในการประมวลและวิเคราะห์ข่าวสาร รวมทั้งการประเมิน
แนวโน้มเกี่ยวกับสถานการณ์สำคัญด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม หรือการทหาร ทั้งที่เกิดขึ้นภายในประเทศ
และต่างประเทศ ซึ่งอาจกระทบกระเทือนผลประโยชน์ ความมั่นคง หรือความสงบเรียบร้อยของประเทศไทย
และการกินดีอยู่ดีของประชาชนไทย ความรู้เรื่องการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
๑.๒ วิชาภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
ทดสอบความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ โดยการให้สรุปความ หรือตีความจาก
ข้อความสั้นๆ หรือบทความ และให้พิจารณาเลือกใช้ภาษาในรูปแบบต่างๆ จากคำหรือกลุ่มคำ ประโยค หรือ
ข้อความสั้นๆ หรือเรียงความ
๒. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
จะประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว
ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบ และจากการสัมภาษณ์
ทั้งนี้ อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเติม เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์
ในการปฏิบัติงานในหน้าที่และความรู้ในเรื่องการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงที
วาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับ
ผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น
และรวมถึงสมรรถนะหลัก สมรรถนะที่จำเป็นของตำแหน่ง
/หน่วยที่ ๒….
หน่วยที่ ๒ ตำแหน่ง นักการข่าวปฏิบัติการ (ด้านคอมพิวเตอร์)
อัตราเงินเดือนและตำแหน่งว่าง
- อัตราเงินเดือนระหว่าง ๑๑,๖๘๐ – ๑๒,๘๕๐ บาท ทั้งนี้ จะได้รับอัตราเงินเดือนเท่าใดให้เป็นไป
ตามที่ อ.ก.พ.สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ อ.ก.พ.กระทรวง กำหนด หรือที่ ก.พ.จะกำหนด
- จำนวนตำแหน่งว่างที่บรรจุได้ในครั้งแรก ๕ ตำแหน่ง
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ หรือ
สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ หรือสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ทางวิศวกรรม
ซอฟแวร์ หรือทางวิศวกรรมสารสนเทศ และเป็นผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ระดับ
ปริญญาตรีของ ก.พ.
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน
ปฏิบัติงานด้านการข่าวภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะ
งานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการศึกษาทฤษฎีและยุทธวิธีด้านการหาข่าว การจัดทำข่าวกรอง
ต่อต้านข่าวกรอง และการรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน เพื่อติดตาม สืบสวน ศึกษาความเคลื่อนไหว
สถานการณ์ พฤติการณ์ของบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ และสื่อมวลชน ที่เป็นเป้าหมายด้านการข่าว
(๒) ร่วมศึกษา วิเคราะห์สถานการณ์ และพฤติการณ์ของบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ และสื่อมวลชน
เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวทางด้านการปกครอง การเมือง การทหาร เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อประมวล
รายละเอียดข้อเท็จจริงในการทำรายงานข่าวกรอง กำหนดแผนและปฏิบัติการหาข่าว รวมทั้งต่อต้านการหาข่าว
การจารกรรม การก่อวินาศกรรม การก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ การบ่อนทำลาย และการรักษาความ
ปลอดภัย ตลอดจนร่วมศึกษา วิเคราะห์ วิจัยข่าวที่มีปัญหายุ่งยาก หรือมีความจำเป็นต้องดำเนินการเป็นการด่วน
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ
เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ
และผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
/๔. ด้านการ...
- ๒ -
๔. ด้านการบริการ
จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น จัดทำสถิติ รายงาน ฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศเกี่ยวกับงานการข่าว
เพื่อสนับสนุนภารกิจของส่วนราชการ และประโยชน์ในการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ หรือ
มาตรการต่างๆ
จากลักษณะงานที่ปฏิบัติข้างต้นผู้สมัครจึงควร
- สามารถปฏิบัติงานในต่างจังหวัดและในพื้นที่ที่เสี่ยงภัย หรือ ทุรกันดารได้ และเป็นผู้ที่มีสุขภาพ
สมบูรณ์ แข็งแรง
- มีคุณลักษณะเฉพาะบุคคลที่แสดงถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีปฏิภาณไหวพริบ มีความคิดริเริ่ม
สร้างสรรค์
- มีความพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ตลอด ๒๔ ชั่วโมง มีความอดทน สามารถปฏิบัติงานในภาวะที่กดดัน
หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขัน
หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันมี ๒ ภาค ดังนี้
๑. ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
ทดสอบความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้ โดยวิธีสอบข้อเขียน
๑.๑ วิชาความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
ทดสอบความรู้ความสามารถโดยวิธีการสอบข้อเขียนที่เกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ
รวมถึงความรู้ทางวิชาการที่ใช้ในการปฏิบัติงานด้านคอมพิวเตอร์ตามตำแหน่งที่สมัคร
๑.๒ วิชาความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน (คะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน)
ทดสอบความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์สำคัญด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม หรือการทหาร
ทั้งที่เกิดขึ้นภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งอาจกระทบกระเทือนผลประโยชน์ ความมั่นคง หรือความสงบเรียบร้อย
ของประเทศไทย ความรู้ในเรื่องการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
๑.๓ วิชาภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน)
ทดสอบความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ โดยการให้สรุปความ หรือตีความจาก
ข้อความสั้นๆ หรือบทความ และให้พิจารณาเลือกใช้ภาษาในรูปแบบต่างๆ จากคำหรือกลุ่มคำ ประโยค หรือ
ข้อความสั้นๆ หรือเรียงความ
๒. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
จะประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติ
การศึกษา ประวัติการทำงาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบ และจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้
อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเติม เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการ
ปฏิบัติงานในหน้าที่และความรู้ในเรื่องการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงที วาจา
/อุปนิสัย...
- ๓ -
อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับ
ผู้ร่วมงานรวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น
และรวมถึงสมรรถนะหลัก สมรรถนะที่จำเป็นของตำแหน่ง
/หน่วยที่ ๓...
หน่วยที่ ๓ ตำแหน่ง นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
อัตราเงินเดือนและตำแหน่งว่าง
- อัตราเงินเดือนระหว่าง ๑๑,๖๘๐ – ๑๒,๘๕๐ บาท ทั้งนี้ จะได้รับอัตราเงินเดือนเท่าใดให้เป็นไป
ตามที่ อ.ก.พ.สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ อ.ก.พ.กระทรวง กำหนด หรือที่ ก.พ.จะกำหนด
- จำนวนตำแหน่งว่างที่บรรจุได้ในครั้งแรก ๑ ตำแหน่ง
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชา
บริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ และเป็นผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.)
ระดับปริญญาตรีของ ก.พ.
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน
ปฏิบัติงานด้านวิชาการเงินและบัญชี ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) จัดทำบัญชี เอกสารรายงานความเคลื่อนไหวทางการเงิน ทั้งเงินในและเงินนอก
งบประมาณ เงินทุนหมุนเวียน เพื่อแสดงสถานะทางการเงินและใช้เป็นฐานข้อมูลที่ถูกต้องตามระเบียบวิธีการ
บัญชีของส่วนราชการ
(๒) รวบรวมข้อมูล และรายงานการเงินของส่วนราชการ เพื่อพร้อมที่จะปรับปรุงข้อมูลให้
ถูกต้องและทันสมัย
(๓) จัดทำและจัดสรรงบประมาณแก่หน่วยงานของรัฐเพื่อให้การจัดสรรงบประมาณตรงกับ
ความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของแต่ละหน่วยงาน
(๔) ศึกษาวิเคราะห์ผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้การใช้จ่ายเงิน
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดทำและจัดสรรงบประมาณ
(๕) ดูแลการรับและจ่ายเงิน สถานะทางการเงิน ตรวจสอบเอกสารสำคัญการรับ-จ่ายเงิน
เพื่อให้การรับ-จ่ายเงินขององค์กรมีประสิทธิภาพ การปฏิบัติการถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติของราชการ
(๖) ถ่ายทอดความรู้ด้านการเงินและบัญชี แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เช่น ให้คำแนะนำใน
การปฏิบัติงาน วางโครงการกำหนดหลักสูตรและฝึกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับการฝึกอบรมและวิธีใช้
อุปกรณ์เครื่องมือที่ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและ
ข้อกำหนด
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ
โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
/๓.ด้านการ...
- ๒ -
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความ
ร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีที่ตนมีความรับผิดชอบใน
ระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่างๆ ที่
เป็นประโยชน์
(๒) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่
เกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการ
พิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่างๆ
หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขัน
หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันมี ๒ ภาค ดังนี้
๑. ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
ทดสอบความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้ โดยวิธีสอบข้อเขียน
๑.๑ วิชาความรู้ด้านการเงินและบัญชี (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
ทดสอบความรู้ความสามารถที่เกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ รวมถึงความรู้
ทางวิชาการที่ใช้ในการปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีตามตำแหน่งที่สมัคร
๑.๒ วิชาความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน (คะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน)
ทดสอบความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์สำคัญด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม หรือการทหาร ทั้งที่
เกิดขึ้นภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งอาจกระทบกระเทือนผลประโยชน์ ความมั่นคง หรือความสงบเรียบร้อย
ของประเทศไทย ความรู้ในเรื่องการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
๑.๓ วิชาภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน)
ทดสอบความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ โดยการให้สรุปความ และ หรือตีความ
จากข้อความสั้นๆ หรือบทความ และให้พิจารณาเลือกใช้ภาษาในรูปแบบต่างๆ จากคำหรือกลุ่มคำ ประโยค หรือ
ข้อความสั้นๆ หรือเรียงความ
๒. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
จะประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติ
การศึกษา ประวัติการทำงาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบ และจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ อาจใช้
/วิธีการอื่น...
- ๓ -
วิธีการอื่นใดเพิ่มเติม เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงาน
ในหน้าที่และความรู้ในเรื่องการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงที วาจา อุปนิสัย
อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้ง
สังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น และรวมถึง
สมรรถนะหลัก สมรรถนะที่จำเป็นของตำแหน่ง
/หน่วยที่ ๔...
หน่วยที่ ๔ ตำแหน่ง นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ
อัตราเงินเดือนและตำแหน่งว่าง
- อัตราเงินเดือนระหว่าง ๑๑,๖๘๐ – ๑๒,๘๕๐ บาท ทั้งนี้ จะได้รับอัตราเงินเดือนเท่าใดให้เป็นไป
ตามที่ อ.ก.พ.สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ อ.ก.พ.กระทรวง กำหนด หรือที่ ก.พ.จะกำหนด
- จำนวนตำแหน่งว่างที่บรรจุได้ในครั้งแรก ๔ ตำแหน่ง
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาบริหารรัฐกิจ (หรือ
รัฐประศาสนศาสตร์) สาขาวิชารัฐศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาการจัดการ
และเป็นผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ระดับปริญญาตรีของ ก.พ.
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน
ปฏิบัติงานด้านการบริหารหรือการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่น
ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลทั้งในและต่างประเทศ เพื่อประกอบการวางระบบ การ
จัดทำมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ หรือของส่วนราชการ
(๒) ศึกษา รวบรวม ตรวจสอบ และวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อประกอบการดำเนินงาน
เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล
(๓) ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อประกอบการกำหนดความต้องการและความ
จำเป็นในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล การวางแผนทางก้าวหน้าในอาชีพ การจัดหลักสูตรและการถ่ายทอด
ความรู้ การจัดสรรทุนการศึกษา และการดูแลนักเรียนทุนและบุคลากรภาครัฐในต่างประเทศ รวมถึงการ
วางแผนและเสนอแนะนโยบายหรือยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการและแผนการจัดสรร
ทุนการศึกษาและการฝึกอบรม
(๔) ศึกษา รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์งาน เพื่อประกอบการกำหนดตำแหน่งและการ
วางแผนอัตรากำลังของส่วนราชการ
(๕) ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อประกอบการวางหลักเกณฑ์การบริหารผลการ
ปฏิบัติงาน และการบริหารค่าตอบแทน
(๖) ศึกษา รวบรวม ตรวจสอบข้อมูล ถ้อยคำ ข้อเท็จจริง เพื่อประกอบการดำเนินการทาง
วินัย การรักษาวินัยและจรรยา
(๗) ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อพัฒนาระบบพิทักษ์คุณธรรม
(๘) ดำเนินการเกี่ยวกับกระบวนการสรรหาและเลือกสรร เพื่อบรรจุและแต่งตั้งผู้มีความรู้
ความสามารถให้ดำรงตำแหน่ง
/๒.ด้านการ...
- ๒ -
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ
โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความ
ร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ชี้แจง ตอบปัญหาเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน ข้าราชการ พนักงาน
หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อสร้างความ
เข้าใจและสนับสนุนงานตามภารกิจของหน่วยงาน
(๒) ให้บริการข้อมูล เกี่ยวกับการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อสนับสนุนภารกิจ
ของบุคคลหรือหน่วยงานและใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์และมาตรการต่างๆ
(๓) ดำเนินการจัดสวัสดิการและการส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อเพิ่มพูน
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขัน
หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันมี ๒ ภาค ดังนี้
๑. ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
ทดสอบความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้ โดยวิธีสอบข้อเขียน
๑.๑ วิชาความรู้ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล
ปฏิบัติการ โดยวิธีการสอบข้อเขียน อาทิ ความเข้าใจและความสามารถในการวิเคราะห์ทางการบริหารและการ
พัฒนาทรัพยากรบุคคล ความรู้ด้านการบริหารจัดการหรือพัฒนาทรัพยากรบุคคล กระบวนการบริหาร
ทรัพยากรบุคคล เครื่องมือที่ใช้ในการบริหาร ความรู้ด้านกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร
ทรัพยากรบุคคล เช่น พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ เป็นต้น
๑.๒ วิชาความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน (คะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน)
ทดสอบความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์สำคัญด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม หรือการทหาร ทั้งที่
เกิดขึ้นภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งอาจกระทบกระเทือนผลประโยชน์ ความมั่นคง หรือความสงบเรียบร้อย
ของประเทศไทย ความรู้ในเรื่องการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
๑.๓ วิชาภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน)
ทดสอบความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ โดยการให้สรุปความ หรือตีความจาก
ข้อความสั้นๆ หรือบทความ และให้พิจารณาเลือกใช้ภาษาในรูปแบบต่างๆ จากคำหรือกลุ่มคำ ประโยค หรือ
ข้อความสั้นๆ หรือเรียงความ0
/๒.ภาคความ...
- ๓ -
๒. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
จะประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติ
การศึกษา ประวัติการทำงาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบ และจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ อาจใช้
วิธีการอื่นใดเพิ่มเติม เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงาน
ในหน้าที่และความรู้ในเรื่องการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงที วาจา อุปนิสัย
อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้ง
สังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น และรวมถึง
สมรรถนะหลัก สมรรถนะที่จำเป็นของตำแหน่ง
/ตำแหน่งประเภท...
ตำแหน่งประเภททั่วไป
หน่วยที่ ๕ ตำแหน่ง เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
อัตราเงินเดือนและตำแหน่งว่าง
- อัตราเงินเดือนระหว่าง ๙,๓๐๐ – ๑๐,๒๓๐ บาท ทั้งนี้ จะได้รับอัตราเงินเดือนเท่าใดให้เป็นไป
ตามที่ อ.ก.พ.สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ อ.ก.พ.กระทรวง กำหนด หรือที่ ก.พ.จะกำหนด
- จำนวนตำแหน่งว่างที่บรรจุได้ในครั้งแรก ๔ ตำแหน่ง
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงในทุกสาขาวิชา และเป็นผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป
(ภาค ก.) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ของ ก.พ.
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา
ปฏิบัติงานพัสดุ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และ
ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ปฏิบัติงานขั้นต้นเกี่ยวกับงานพัสดุในการจัดหา จัดซื้อ ว่าจ้าง การเก็บรักษา นำส่ง การซ่อมแซม
และบำรุงรักษาพัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เพื่อให้อยู่ในสภาพดีพร้อมต่อการใช้งาน
(๒) ทำทะเบียนการเบิกจ่ายพัสดุ การเก็บรักษาใบสำคัญหลักฐานและเอกสารเกี่ยวกับพัสดุ
เพื่อรวบรวมไว้เป็นข้อมูลในการดำเนินงาน
(๓) ร่างและตรวจซื้อสัญญาซื้อ สัญญาจ้าง หนังสือโต้ตอบ บันทึกย่อเรื่องเกี่ยวกับงานพัสดุ
เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินงาน
(๔) รายงาน สรุปความเห็นเกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อจัดทำรายงาน และนำเสนอผู้บังคับบัญชาในหน่วยงาน
(๕) ศึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับระเบียบงานพัสดุ เพื่อร่วมพัฒนาให้ระเบียบการ
ปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น
(๖) ชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับงานพัสดุให้การปฏิบัติงานมีความโปร่งใสตรวจสอบได้
๒. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำเกี่ยวกับระเบียบและวิธีการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบแก่ผู้ร่วมงาน
หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเข้าใจอันดีในการปฏิบัติงาน และให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วง
(๒) ประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกัน ต่างหน่วยงาน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อ
ให้บริการ หรือขอความช่วยเหลือในด้านที่ตนรับผิดชอบ
/หลักสูตร…
- ๒ -
หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขัน
หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันมี ๒ ภาค ดังนี้
๑. ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
ทดสอบความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้ โดยวิธีสอบข้อเขียน
๑.๑ วิชาความรู้เกี่ยวกับงานพัสดุ (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งเจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
อาทิ ความรู้ด้านกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานพัสดุ เช่น ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความรู้เบื้องต้น
เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์
๑.๒ วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันและความรู้ในเรื่องการรักษาความปลอดภัย
แห่งชาติ (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
ทดสอบความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งที่เกิดขึ้นภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่ง
อาจกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ ความมั่นคง หรือความสงบเรียบร้อยของประเทศไทย ความรู้ในเรื่องการ
รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
๒. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
จะประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา
ประวัติการทำงาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบ และจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ อาจใช้วิธีการ
อื่นใดเพิ่มเติม เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่
และความรู้ในเรื่องการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงที วาจา อุปนิสัย อารมณ์
ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคมและ
สิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น และรวมถึงสมรรถนะหลัก
สมรรถนะที่จำเป็นของตำแหน่ง
/หน่วยที่ ๖…
หน่วยที่ ๖ ตำแหน่ง เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
อัตราเงินเดือนและตำแหน่งว่าง
- อัตราเงินเดือนระหว่าง ๙,๓๐๐ – ๑๐,๒๓๐ บาท ทั้งนี้ จะได้รับอัตราเงินเดือนเท่าใดให้เป็นไป
ตามที่ อ.ก.พ.สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ อ.ก.พ.กระทรวง กำหนด หรือที่ ก.พ.จะกำหนด
- จำนวนตำแหน่งว่างที่บรรจุได้ในครั้งแรก ๒ ตำแหน่ง
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ผู้สมัครสอบต้องได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงในสาขาวิชาการบัญชี หรือสาขาวิชา
การเงินและการธนาคาร และเป็นผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ชั้นสูง ของ ก.พ.
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา
ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ
ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) จัดทำและปฏิบัติงานด้านเอกสารทางการเงินและบัญชีในระดับต้น เพื่อให้งานเป็นไป
ตามเป้าหมายที่กำหนด
(๒) รวบรวมรายละเอียดการจัดทำงบประมาณ เพื่อใช้ประกอบในการทำงบประมาณ
ประจำปีของหน่วยงาน
(๓) ตรวจสอบและดูความถูกต้องของเอกสารสำคัญทางการเงิน เพื่อให้เกิดความถูกต้องใน
การปฏิบัติงาน
(๔) ประสานงานในระดับฝ่ายหรือกลุ่มกับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป
เพื่อขอความช่วยเหลือและร่วมมือในงานและแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน
ของหน่วยงาน
๒. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา ชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี แก่เจ้าหน้าที่ระดับ
รองลงมา หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชนทั่วไป เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความชำนาญแก่ผู้ที่สนใจ
(๒) ประสานงานในระดับกลุ่ม กับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอ
ความช่วยเหลือและความร่วมมือในงานการเงินและบัญชี และแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็น
ประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน
/หลักสูตร...
- ๒ -
หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขัน
หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันมี ๒ ภาค ดังนี้
๑. ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
ทดสอบความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้ โดยวิธีสอบข้อเขียน
๑.๑ วิชาความรู้เกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงิน
และบัญชีปฏิบัติงาน อาทิ ความรู้ด้านกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานการเงิน การคลัง
ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์
๑.๒ วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันและความรู้ในเรื่องการรักษาความ
ปลอดภัยแห่งชาติ (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
ทดสอบความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งที่เกิดขึ้นภายในประเทศและต่างประเทศ
ซึ่งอาจกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ ความมั่นคง หรือความสงบเรียบร้อยของประเทศไทย ความรู้ในเรื่อง
การรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
๒. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
จะประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติ
การศึกษา ประวัติการทำงาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบ และจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้
อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเติม เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการ
ปฏิบัติงานในหน้าที่และความรู้ในเรื่องการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงที วาจา
อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับ
ผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น
และรวมถึงสมรรถนะหลัก สมรรถนะที่จำเป็นของตำแหน่ง
------------------------------------------------------------------
/หน่วยที่ ๗...
หน่วยที่ ๗ ตำแหน่ง นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน
อัตราเงินเดือนและตำแหน่งว่าง
- อัตราเงินเดือนระหว่าง ๙,๓๐๐ – ๑๐,๒๓๐ บาท ทั้งนี้ จะได้รับอัตราเงินเดือนเท่าใดให้เป็นไป
ตามที่ อ.ก.พ.สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ อ.ก.พ.กระทรวง กำหนด หรือที่ ก.พ.จะกำหนด
- จำนวนตำแหน่งว่างที่บรรจุได้ในครั้งแรก ๑๐ ตำแหน่ง
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงในสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาเทคโนโลยี
โทรคมนาคม สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หรือสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และเป็นผู้สอบผ่าน
ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ของ ก.พ.
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา
ปฏิบัติงานด้านช่างไฟฟ้า ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ
และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) สำรวจ เขียนแบบ ประมาณการ ติดตั้ง ซ่อม ประดิษฐ์ ดัดแปลง ปรับปรุง ควบคุมการ
ใช้งาน ดูแล บำรุงรักษา และใช้งานเครื่องมือ อุปกรณ์ ระบบไฟฟ้าสื่อสารและโทรคมนาคม ระบบสารสนเทศ
ระบบควบคุมอัตโนมัติ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบคอมพิวเตอร์ รับส่งข้อมูลข่าวสาร ในภารกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้
สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพตอบสนองความต้องการของหน่วยงานภายในและภายนอก
(๒) จัดทำทะเบียน รวบรวม และเก็บข้อมูลทางสถิติของการใช้งาน เพื่อการวางแผน
บำรุงรักษา
(๓) ปรับเทียบค่ามาตรฐานตามภารกิจที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการออกใบรับรองตามที่
หน่วยงาน หรือกฎหมายกำหนด
๒. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา แก้ไขปัญหา ให้แก่ผู้ใช้งานและผู้รับบริการ ทั้งภายในและ
ภายนอกหน่วยงาน เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
(๒) ประสาน แลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน เพื่อ
ประกอบการปฏิบัติงานได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ
/หลักสูตร...
- ๒ -
หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขัน
หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันมี ๒ ภาค ดังนี้
๑. ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
ทดสอบความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้ โดยวิธีสอบข้อเขียน
๑.๑ วิชาความรู้ด้านไฟฟ้าสื่อสารและโทรคมนาคม (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนายช่างไฟฟ้า
ปฏิบัติงาน อาทิ ความรู้ด้านไฟฟ้าสื่อสารและโทรคมนาคม อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น เครื่องมือตรวจวัดไฟฟ้า
เขียนแบบอิเล็กทรอนิกส์ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์
๑.๒ วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันและความรู้ในเรื่องการรักษาความปลอดภัย
แห่งชาติ (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
ทดสอบความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งที่เกิดขึ้นภายในประเทศและต่างประเทศ
ซึ่งอาจกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ ความมั่นคง หรือความสงบเรียบร้อยของประเทศไทย ความรู้ในเรื่อง
การรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
๒. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
จะประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติ
การศึกษา ประวัติการทำงาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบ และจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้
อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเติม เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการ
ปฏิบัติงานในหน้าที่และความรู้ในเรื่องการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงที วาจา
อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับ
ผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น
และรวมถึงสมรรถนะหลัก สมรรถนะที่จำเป็นของตำแหน่ง
------------------------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น