กรมศุลกากรเปิดรับสมัครสอบ งานราชการ 2556
การ รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ ในตำแหน่งนักวิชาการศุลกากรปฏิบัติการ และตำแหน่งเจ้าพนักงานศุลกากรปฏิบัติงาน ประจำปี 2556 (รับสมัครทางอินเตอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 28 มี.ค. - 23 เม.ย. 2556) จำนวน 190 อัตราคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
นักวิชาการศุลกากรปฏิบัติการ 132 อัตรา
ได้ รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชา การบัญชี หรือสาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ หรือสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ หรือสาขาวิชานิติศาสตร์ หรือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ หรือสาขาวิชารัฐศาสตร์ หรือสาขาวิชาบริหารรัฐกิจ หรือสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ และเป็นผู้ขึ้นทะเบียนสอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ระดับปริญญาตรีของ ก.พ. แล้ว
เจ้าพนักงานศุลกากรปฏิบัติการ 58 อัตรา
ได้ รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเครื่องกล หรือสาขาวิชาเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง หรือสาขาวิชาโลหะการ หรือสาขาวิชาก่อสร้าง หรือสาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือสาขาวิชาพณิชยการ และเป็นผู้ขึ้นทะเบียนสอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ของ ก.พ. แล้ว
รับสมัครทางอินเตอร์เน็ต
ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2556 ถึง 23 เมษายน 2556
ประกาศรายชื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2556
หลักสูตรและวิธีการสอบ
หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันมี 2 ภาค ดังนี้
7.1 ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) คะแนนเต็ม 200 คะแนน
ผู้สมัครสอบในตำแหน่งใดต้องสอบภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งตามที่กำหนดไว้ ดังต่อไปนี้
7.1.1 ตำแหน่งนักวิชาการศุลกากรปฏิบัติการ ทดสอบความรู้ความสามารถ โดยวิธีสอบข้อเขียน (ข้อสอบแบบปรนัย 200 ข้อ ใช้เวลาสอบ 3 ชั่วโมง) ดังต่อไปนี้
(1) ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ คะแนนเต็ม 80 คะแนน (Structure, Vocabulary, Reading Comprehension, ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับงานศุลกากรและการค้าระหว่างประเทศ)
(2) ความรู้เฉพาะตำแหน่ง คะแนนเต็ม 120 คะแนน
(2.1) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายศุลกากร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากร
(2.2) ความรู้เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ
(2.3) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
(2.4) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบในการปฏิบัติราชการ
7.1.2 ตำแหน่งเจ้าพนักงานศุลกากรปฏิบัติงาน ทดสอบความรู้ความสามารถ โดยวิธีสอบข้อเขียน (ข้อสอบแบบปรนัย 100 ข้อ ใช้เวลาสอบ 3 ชั่วโมง) ดังต่อไปนี้
(1) ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ คะแนนเต็ม 60 คะแนน (Structure, Vocabulary, Reading Comprehension, ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับงานศุลกากรและการค้าระหว่างประเทศ)
(2) ความรู้เฉพาะตำแหน่ง คะแนนเต็ม 140 คะแนน
(2.1) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายศุลกากร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากร
(2.2) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ
(2.3) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
(2.4) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบในการปฏิบัติราชการ
ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.)
ผู้มีสิทธิ์เข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) ต้องเข้ารับการประเมินตามที่กาหนดไว้ ดังต่อไปนี้
7.2.1 ตำแหน่งนักวิชาการศุลกากรปฏิบัติการ ทดสอบความเหมาะสม โดยวิธี สอบสัมภาษณ์ คะแนนเต็ม 100 คะแนน ดังนี้
ประเมิน ผู้เข้าสอบเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทางานและพฤติกรรมที่ปรากฏทางอื่นของผู้เข้าสอบ จากการสัมภาษณ์เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน คุณธรรมจริยธรรม
/การปรับตัว...
- 5 -
การปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงาน รวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ และบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น
7.2.2 ตำแหน่งเจ้าพนักงานศุลกากรปฏิบัติงาน ทดสอบความเหมาะสม โดยวิธีทดสอบสมรรถภาพทางร่างกาย และสอบสัมภาษณ์ ดังนี้
(1) ทดสอบสมรรถภาพทางร่างกาย (ผ่านตามเกณฑ์ที่กาหนด)
(1.1) ว่ายน้ำ แบ่งตามเกณฑ์ ดังนี้
ชาย ระยะทาง 25 เมตร ผู้ทำเวลาไม่เกิน 30 วินาที ถือว่าผ่าน
หญิง ระยะทาง 25 เมตร ผู้ทำเวลาไม่เกิน 50 วินาที ถือว่าผ่าน
จึงจะมีสิทธิ์เข้าทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายโดยการวิ่ง ต่อไป
(1.2) วิ่ง แบ่งตามเกณฑ์
ชาย ระยะทาง 1,000 เมตร ผู้ทำเวลาไม่เกิน 5 นาที 15 วินาที
ถือว่าผ่าน
หญิง ระยะทาง 800 เมตร ผู้ทำเวลาไม่เกิน 6 นาที ถือว่าผ่ำน
จึงจะมีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ ต่อไป
(2) การสอบสัมภาษณ์ คะแนนเต็ม 100 คะแนน
ประเมิน ผู้เข้าสอบเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทางานและพฤติกรรมที่ปรากฏทางอื่นของผู้เข้าสอบ จาก การสัมภาษณ์เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน คุณธรรมจริยธรรม การปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงาน รวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ และบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น
ประกาศกรมศุลกากร
เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ
ในตำแหน่งนักวิชาการศุลกากรปฏิบัติการ และตำแหน่งเจ้าพนักงานศุลกากรปฏิบัติงาน
………………………..
ด้วย กรมศุลกากร จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งนักวิชาการ ศุลกากรปฏิบัติการ และเจ้าพนักงานศุลกากรปฏิบัติงาน ฉะนั้น อาศัยอานาจตามความในมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 หนังสือสานักงาน ก.พ. ที่ นร 1004.1/ว 15 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ และหนังสือสานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008.1/ว 20 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2555 จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขัน ดังรายละเอียด ต่อไปนี้
1. ตำแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้ง และเงินเดือนที่จะได้รับ
1.1 ตำแหน่งนักวิชาการศุลกากรปฏิบัติการ
- จำนวนตำแหน่งว่างครั้งแรก 132 ตำแหน่ง
- อัตราเงินเดือน 13,300 บาท หรือตามที่ ก.พ.กำหนด
1.2 ตำแหน่งเจ้าพนักงานศุลกากรปฏิบัติงาน
- จำนวนตำแหน่งว่างครั้งแรก 58 ตำแหน่ง
- อัตราเงินเดือน 8,300 บาท หรือตามที่ ก.พ.กำหนด
2. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ลักษณะงานที่ปฏิบัติของแต่ละตำแหน่ง ตามที่ระบุไว้ในรายละเอียดของเอกสารแนบ 1 และ 2
3. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครสอบ
3.1 ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัติทั่วไป และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ดังต่อไปนี้
ก. คุณสมบัติทั่วไป
(1) มีสัญชาติไทย
(2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี นับถึงวันปิดรับสมัคร
(3) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ข. ลักษณะต้องห้าม
(1) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
(2) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
(3) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งให้พักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
(4) เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
/(5) เป็นกรรมการ...
- 2 -
(5) เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(6) เป็นบุคคลล้มละลาย
(7) เป็นผู้เคยต้องรับโทษจาคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จาคุกเพราะกระทำความผิด ทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(8) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
(9) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
(10) เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
(11) เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือเข้าปฏิบัติงาน ในหน่วยงานของรัฐ
ผู้ ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตาม ข.(4) (6) (7) (8) (9) (10) หรือ (11) ก.พ.อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ แต่ถ้าเป็นกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (8) หรือ (9) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้ว และในกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (10) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว และต้องมิใช่เป็นกรณีออกจากงานหรือออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่ สำหรับผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 36 ข.(1) ให้มีสิทธิ์สมัครสอบแข่งขันได้ แต่จะมีสิทธิ์ได้รับบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญที่สอบแข่งขันได้ต่อ เมื่อพ้นจากการเป็นผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองแล้ว
สำหรับพระภิกษุหรือ สามเณร ทางราชการไม่รับสมัครสอบและไม่อาจให้เข้าสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับ ราชการ ทั้งนี้ ตามหนังสือกรมสารบรรณ คณะรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร ที่ นว 89/2501 ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2501 และตามความในข้อ 5 ของคำสั่งมหาเถรสมาคม ลงวันที่ 17 มีนาคม 2538
3.2 ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในรายละเอียด แนบท้ายประกาศนี้
4. การรับสมัครสอบ
4.1 ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2556 ถึงวันที่ 23 เมษำยน 2556 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ ตามขั้นตอนดังนี้
(1) เปิดเว็บไซต์ http://job.customs.go.th
(2) กรอกข้อความให้ถูกต้องครบถ้วน ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนด ระบบจะกำหนดแบบฟอร์มการชำระเงินผ่านเคำน์เตอร์ บมจ. ธนาคารกรุงไทย ให้โดยอัตโนมัติ
(3) พิมพ์แบบฟอร์มการชำระเงินลงในกระดาษขนาด A4 จำนวน 1 แผ่น หรือหากไม่มีเครื่องพิมพ์ในขณะนั้น ให้ทำการบันทึกข้อมูลเก็บไว้ในรูปแบบ File ลงในสื่อบันทึกข้อมูลเพื่อพิมพ์แบบฟอร์มการชำระเงินในภายหลัง
ในกรณีไม่ สามารถพิมพ์แบบฟอร์มการชำระเงินหรือบันทึกข้อมูลได้ ผู้สมัครสามารถเข้าไปพิมพ์แบบฟอร์มการชำระเงิน หรือบันทึกข้อมูลลงในสื่อบันทึกข้อมูลใหม่ได้อีก แต่จะไม่สามารถแก้ไขข้อมูลในการกรอกใบสมัครสอบในครั้งแรกที่สมบูรณ์แล้วได้
/4.2 นาแบบฟอร์ม...
- 3 -
4.2 นาแบบฟอร์มการชำระเงินไปชำระเงินเฉพาะที่เคำน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขา ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2556 ถึง วันที่ 24 เมษายน 2556 ภายในเวลาทำการของธนาคาร ทั้งนี้ การรับสมัครสอบจะมีผลสมบูรณ์เมื่อชำระค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบเรียบร้อย แล้ว
4.3 ค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบ จำนวน 230 บาท ซึ่งประกอบด้วย
(1) ค่าธรรมเนียมสอบ จำนวน 200 บาท
(2) ค่าธรรมเนียมธนาคารและค่าบริการทางอินเทอร์เน็ต (Internet) จำนวน 30 บาท (อัตราเดียวกันทั่วประเทศ)
ค่าธรรมเนียมจะไม่จ่ำยคืนให้ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น
4.4 ผู้สมัครที่ชำระค่าธรรมเนียมสอบแล้ว จะได้รับเลขประจำตัวสอบ โดยจะกำหนด เลขประจำตัวสอบตามลำดับของการชำระค่าธรรมเนียมสอบ โดยสามารถตรวจสอบและพิมพ์ใบสมัครที่มี เลขประจำตัวสอบหลังจากชำระค่าธรรมเนียมสอบแล้ว 2 วันทำการทางอินเทอร์เน็ต http://job.customs.go.th
5. เงื่อนไขในการรับสมัครสอบ
5.1 ผู้สมัครสอบสมัครได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
5.2 ผู้สมัครสอบสามารถเลือกสมัครสอบได้เพียง 1 ตำแหน่งเท่านั้น เมื่อเลือกแล้วจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตำแหน่งที่สมัครสอบไม่ได้ และให้เข้าสอบตามวัน เวลา ที่กำหนดในแต่ละตำแหน่ง
5.3 ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้มีวุฒิการศึกษาตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตาม ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันในข้อ 3.2 โดยต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและได้รับอนุมัติจากผู้มีอานาจอนุมัติของสถาน ศึกษานั้น ภายในวันปิดรับสมัครสอบ คือวันที่ 23 เมษายน 2556 ทั้งนี้ ผู้ที่จะถือว่าเป็นผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของสถานศึกษาใดนั้นจะถือตาม กฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่เกี่ยวกับการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของสถานศึกษานั้นๆ เป็นเกณฑ์
5.4 ในการสมัครสอบตามขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น ถือว่าผู้สมัครสอบเป็นผู้ลงลายมือชื่อและรับรองความถูกต้องของข้อมูลดัง กล่าว ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ดังนั้น หากผู้สมัครสอบจงใจกรอกข้อมูลอันเป็นเท็จ อาจมีความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137
5.5 ผู้สมัครสอบจะต้องรับผิดชอบในการตรวจสอบและรับรองตนเองว่า เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปและคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตรงตามประกาศรับ สมัครสอบ โดยผู้สมัครสอบจะต้องกรอกรายละเอียด ต่างๆ ในใบสมัครให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ในกรณีที่มีความผิดพลาดอันเกิดจากผู้สมัครสอบไม่ว่าด้วยกรณีใดๆ หรือวุฒิการศึกษาไม่ตรงตามวุฒิของตำแหน่งที่สมัครสอบ อันมีผลทำให้ผู้สมัครสอบไม่มีสิทธิ์สมัครตามประกาศ รับสมัครสอบดังกล่าว กรมศุลกากรจะถือว่าการรับสมัครสอบและการเข้ารับการสอบแข่งขันครั้งนี้เป็น โมฆะสำหรับผู้นั้น และจะไม่คืนค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบ
ในกรณีเลขประจำ ตัวประชาชนที่ใช้ในการสมัครสอบไม่ตรงกับหลักฐานการแสดงตนเพื่อเข้าห้องสอบ จะไม่อนุญาตให้เข้าสอบโดยเด็ดขาด ยกเว้น ในกรณีชื่อ–นามสกุล ของหลักฐานการแสดงตนเข้าห้องสอบของผู้สมัครสอบไม่ตรงกับข้อมูลการสมัครสอบ ผู้สมัครสอบต้องมีหลักฐานอื่นที่ทางราชการออกให้ ไปยืนยัน มิฉะนั้นจะไม่มีสิทธิ์เข้าห้องสอบ
6. การประกาศรายชื่อผู้สมัครสอบ กำหนดวัน เวลำ สถานที่สอบ ระเบียบเกี่ยวกับการสอบ
กรม ศุลกากรจะประกาศรายชื่อผู้สมัครสอบ กำหนดวัน เวลาและสถานที่สอบ ระเบียบและวิธีการสอบ ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2556 http://job.customs.go.th
/7. หลักสูตร...
- 4 -
7. หลักสูตรและวิธีการสอบ
หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันมี 2 ภาค ดังนี้
7.1 ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) คะแนนเต็ม 200 คะแนน
ผู้สมัครสอบในตำแหน่งใดต้องสอบภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งตามที่กำหนดไว้ ดังต่อไปนี้
7.1.1 ตำแหน่งนักวิชาการศุลกากรปฏิบัติการ ทดสอบความรู้ความสามารถ โดยวิธีสอบข้อเขียน (ข้อสอบแบบปรนัย 200 ข้อ ใช้เวลาสอบ 3 ชั่วโมง) ดังต่อไปนี้
(1) ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ คะแนนเต็ม 80 คะแนน (Structure, Vocabulary, Reading Comprehension, ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับงานศุลกากรและการค้าระหว่างประเทศ)
(2) ความรู้เฉพาะตำแหน่ง คะแนนเต็ม 120 คะแนน
(2.1) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายศุลกากร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากร
(2.2) ความรู้เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ
(2.3) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
(2.4) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบในการปฏิบัติราชการ
7.1.2 ตำแหน่งเจ้าพนักงานศุลกากรปฏิบัติงาน ทดสอบความรู้ความสามารถ โดยวิธีสอบข้อเขียน (ข้อสอบแบบปรนัย 100 ข้อ ใช้เวลาสอบ 3 ชั่วโมง) ดังต่อไปนี้
(1) ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ คะแนนเต็ม 60 คะแนน (Structure, Vocabulary, Reading Comprehension, ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับงานศุลกากรและการค้าระหว่างประเทศ)
(2) ความรู้เฉพาะตำแหน่ง คะแนนเต็ม 140 คะแนน
(2.1) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายศุลกากร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากร
(2.2) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ
(2.3) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
(2.4) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบในการปฏิบัติราชการ
ทั้ง นี้ กรมศุลกากรกำหนดให้ทดสอบภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) ก่อน และเมื่อสอบผ่านภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) แล้ว จึงจะมีสิทธิ์เข้าสอบ ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) ต่อไป โดยจะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) ทางเว็บไซต์ http://job.customs.go.th ในภายหลัง
7.2 ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.)
ผู้มีสิทธิ์เข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) ต้องเข้ารับการประเมินตามที่กำหนดไว้ ดังต่อไปนี้
7.2.1 ตำแหน่งนักวิชาการศุลกากรปฏิบัติการ ทดสอบความเหมาะสม โดยวิธี สอบสัมภาษณ์ คะแนนเต็ม 100 คะแนน ดังนี้
ประเมิน ผู้เข้าสอบเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงานและพฤติกรรมที่ปรากฏทางอื่นของผู้เข้าสอบ จากการสัมภาษณ์เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน คุณธรรมจริยธรรม
/การปรับตัว...
- 5 -
การปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงาน รวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ และบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น
7.2.2 ตำแหน่งเจ้าพนักงานศุลกากรปฏิบัติงาน ทดสอบความเหมาะสม โดยวิธีทดสอบสมรรถภาพทางร่างกาย และสอบสัมภาษณ์ ดังนี้
(1) ทดสอบสมรรถภาพทางร่างกาย (ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด)
(1.1) ว่ายน้ำ แบ่งตามเกณฑ์ ดังนี้
ชาย ระยะทาง 25 เมตร ผู้ทำเวลาไม่เกิน 30 วินาที ถือว่าผ่ำน
หญิง ระยะทาง 25 เมตร ผู้ทำเวลาไม่เกิน 50 วินาที ถือว่าผ่ำน
จึงจะมีสิทธิ์เข้าทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายโดยการวิ่ง ต่อไป
(1.2) วิ่ง แบ่งตามเกณฑ์
ชาย ระยะทาง 1,000 เมตร ผู้ทำเวลาไม่เกิน 5 นาที 15 วินาที
ถือว่าผ่ำน
หญิง ระยะทาง 800 เมตร ผู้ทำเวลาไม่เกิน 6 นาที ถือว่าผ่ำน
จึงจะมีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ ต่อไป
(2) การสอบสัมภาษณ์ คะแนนเต็ม 100 คะแนน
ประเมิน ผู้เข้าสอบเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงานและพฤติกรรมที่ปรากฏทางอื่นของผู้เข้าสอบ จาก การสัมภาษณ์เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน คุณธรรมจริยธรรม การปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงาน รวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ และบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น
8. เกณฑ์การตัดสิน
8.1 ผู้สมัครสอบจะต้องสอบผ่านภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) ตามเกณฑ์การตัดสินไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 จึงจะมีสิทธิ์สอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.)
8.2 ผู้ที่จะถือว่าเป็นผู้สอบแข่งขันได้ จะต้องเป็นผู้ที่สอบได้คะแนนในแต่ละภาคไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 60
9. หลักฐานและอุปกรณ์ที่ต้องนำมาในวันสอบ ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) ดังนี้
9.1 บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ซึ่งมีรูปถ่าย ลายมือชื่อ และเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักระบุชัดเจนเท่านั้น (ฉบับจริง)
9.2 ดินสอที่มีความดาเท่ากับ 2B หรือมากกว่า ปากกาหมึกสีน้าเงิน และยางลบ
10. หลักฐานที่ต้องยื่นในวันสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) เฉพาะผู้มีสิทธิ์ รับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) ดังนี้
10.1 บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ซึ่งมีรูปถ่าย ลายมือชื่อ และมีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักระบุชัดเจนเท่านั้น (ฉบับจริง) และสำเนาภาพถ่ายบัตรดังกล่าว จำนวน 1 ฉบับ
10.2 ใบสมัครสอบพิมพ์จากอินเทอร์เน็ต (Internet) โดยให้ติดรูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกและไม่สวมแว่นตาดา ขนาด 1.5X2 นิ้ว ซึ่งถ่ายไว้ไม่เกิน 1 ปี (นับถึงวันปิดรับสมัคร) พร้อมทั้งลงลายมือชื่อ ในใบสมัครสอบให้ครบถ้วน
/10.3 สำเนา...
- 6 -
10.3 สำเนาประกาศนียบัตรหรือสำเนาปริญญาบัตร ที่แสดงว่าเป็นผู้มีวุฒิการศึกษาตรงกับตำแหน่งที่สมัครสอบหรือสำเนาหนังสือ รับรองฉบับสภามหาวิทยาลัย หรือสถานศึกษาอนุมัติอย่างใดอย่างหนึ่งจำนวน 1 ฉบับ และสำเนาระเบียนแสดงผลการศึกษา (Transcript of Records) จำนวน 1 ฉบับ ซึ่งสำเร็จการศึกษา และได้รับอนุมัติจากผู้มีอานาจอนุมัติของสถานศึกษานั้น ภายในวันปิดรับสมัครสอบ คือวันที่ 23 เมษายน 2556
10.4. สำเนาหนังสือรับรองผลการสอบภาค ก. ของสานักงาน ก.พ. ในระดับการศึกษาที่สมัครจำนวน 1 ฉบับ
10.5 สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ฉบับ
10.6 สำเนาหลักฐานอื่นๆ ในกรณีหลักฐานและเอกสารสมัครสอบไม่ตรงกัน เช่น ใบสำคัญการสมรส (เฉพาะผู้สมัครสอบเพศหญิง) ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ในกรณีที่เปลี่ยนชื่อ-นามสกุล) จำนวนอย่างละ 1 ฉบับ
ทั้งนี้ สำเนาเอกสารทุกฉบับให้ผู้สมัครสอบเขียนคำรับรองว่า “สำเนาถูกต้อง” และ ลงลายมือชื่อ วัน เดือน ปี พร้อมทั้งระบุเลขประจำตัวสอบกากับไว้ที่มุมบนด้านขวาของสำเนาหลักฐานและ เอกสารทุกหน้า
อนึ่ง กรณีตรวจพบภำยหลังว่าเอกสำรหลักฐานการสมัครสอบ หรือมีคุณสมบัติการสมัครสอบ ไม่ถูกต้องครบถ้วน หรือไม่เป็นไปตามประกาศรับสมัครสอบ กรมศุลกากรจะถือว่าผู้สมัครสอบเป็นผู้ขำดคุณสมบัติ ในการสมัครสอบครั้งนี้มาตั้งแต่ต้น และจะไม่มีสิทธิ์ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งหรือเรียกร้องใดๆ ทั้งสิ้น
11. การขึ้นบัญชีและการยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
11.1 การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ จะเรียงลำดับที่จากผู้สอบได้คะแนนรวม (ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) และภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.)) สูงลงมาตามลำดับ ในกรณีที่ผู้สอบได้คะแนนรวมเท่ากัน จะให้ผู้สอบได้คะแนนภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) มากกว่าเป็นผู้อยู่ในลำดับที่สูงกว่า ถ้าได้คะแนนภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) เท่ากัน ให้ผู้ได้รับเลขประจำตัวสอบก่อนเป็นผู้อยู่ในลำดับที่สูงกว่า
11.2 การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ จะขึ้นบัญชีไว้ไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันขึ้นบัญชี แต่ถ้ามีการสอบแข่งขันอย่างเดียวกันนี้อีก และได้ขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ใหม่แล้ว บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ครั้งนี้เป็นอันยกเลิก
12. การบรรจุและแต่งตั้ง
12.1 ผู้สอบแข่งขันได้ จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ โดยได้รับอัตราเงินเดือนตามคุณวุฒิที่กำหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง นั้น ตามที่ระบุไว้ในข้อ 1
12.2 กรมศุลกากรจะไม่รับโอนผู้สอบแข่งขันได้ที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานของรัฐ ทุกประเภทไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น
13. การนำรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งหนึ่งไปขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งอื่น
กรณี ที่ส่วนราชการอื่นมีตำแหน่งว่างในตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ หรือประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ซึ่งต้องการบุคคลที่มีวุฒิการศึกษาอย่างเดียวกัน และมีความรู้ ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะที่เหมือนหรือใกล้เคียงกันกับตำแหน่งที่ได้มีการสอบแข่งขัน และขึ้นบัญชีไว้ ส่วนราชการที่มีตำแหน่งว่างสามารถนารายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งที่สอบ ครั้งนี้ไปขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งอื่นได้ การนำรายชื่อไปขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งอื่นนี้ ให้ถือว่าเป็นการสอบครั้งเดียวกันกับการสอบครั้งนี้ โดยผู้สอบแข่งขันได้มีสิทธิ์ที่จะรับการบรรจุได้เพียงครั้งเดียวเท่ำนั้น
/กรมศุลกากร...
- 7 -
กรม ศุลกากร ดำเนินการสอบแข่งขันด้วยความโปร่งใส ยุติธรรมและเสมอภาคตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ดังนั้น หากมีผู้ใดแอบอ้างว่าสามารถช่วยเหลือให้ท่านผ่านการสอบเพื่อบรรจุเข้ารับ ราชการหรือมีพฤติการณ์ในทำนองเดียวกันนี้ โปรดอย่าได้หลงเชื่อ และโปรดแจ้งให้กรมศุลกากรทราบทางโทรศัพท์ เลขหมาย 0 2667 6351 – 4 และ 0 2667 7097
ประกาศ ณ วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556
เบญจา หลุยเจริญ
(นางเบญจา หลุยเจริญ)
อธิบดีกรมศุลกากร
ตำแหน่งนักวิชาการศุลกากรปฏิบัติการ
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติ งานเกี่ยวกับวิชาการศุลกากร ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจสอบ พิธีการศุลกากร ตรวจสอบราคา พิกัดอัตราศุลกากร แหล่งกาเนิดสินค้า การจัดเก็บภาษีอากร การพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร พิกัดอัตราศุลกากร พิธีการและราคาศุลกากร การตรวจปล่อยสินค้า ที่นำเข้าและส่งออก การควบคุมการบรรทุกและขนถ่ายสินค้า การทบทวนและตรวจสอบเอกสารหลังผ่านพิธีการศุลกากร การสืบสวน ป้องกันและปราบปรามการหลีกเลี่ยงและลักลอบหนีศุลกากร กำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร พิกัดอัตราศุลกากร พิธีการและราคาศุลกากร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ปฏิบัติงาน ในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานศุลกากร ภายใต้การกากับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย ปฏิบัติงานทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และสามารถปฏิบัติงานเป็นกะหรือเป็นผลัดหมุนเวียน ตามช่วงระยะเวลำได้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ร่วมดำเนินการตรวจสอบข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับพิธีการการนำสินค้าเข้าและส่งสินค้าออก เพื่อยืนยันความถูกต้องของข้อมูล
(2) การพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร พิกัดอัตราศุลกากร พิธีการและราคาศุลกากร ตรวจสอบพิกัดอัตราศุลกากร ราคาศุลกากร ถิ่นกาเนิดสินค้า การกำหนดราคาศุลกากร การประเมินอากร สิทธิตามอนุสัญญาระหว่างประเทศที่มีความตกลงผูกพันกับประเทศไทยเพื่อให้ สามารถดำเนินการเกี่ยวกับพิธีการศุลกากรได้อย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์และ เงื่อนไขที่กำหนด
(3) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดเก็บเงินภาษีอากรและเงินค่าธรรมเนียมต่างๆ และการจัดเก็บอากรปากระวาง เพื่อให้การจัดเก็บภาษีเป็นไปอย่างถูกต้องตรงตามเป้าหมายที่กำหนด
(4) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจปล่อยสินค้าที่นำเข้าและส่งออก การคืนค่าภาษีอากร ออกแบบแจ้งการประเมิน เพื่อให้การควบคุมกระบวนการตรวจปล่อยสินค้า การคืนภาษี การแจ้งผลการประเมินเป็นไปอย่างรวดเร็ว ถูกต้องตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด
(5) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจปล่อยของติดตัวผู้โดยสารขาเข้าและขาออก เพื่อให้การปฏิบัติพิธีการศุลกากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
(6) ร่วมวิเคราะห์ประมวลผลข้อมูลสัญญาณภาพจากการตรวจสอบตู้สินค้าด้วยเครื่อง เอกซเรย์ เพื่อควบคุมและตรวจสอบพิกัดอัตราศุลกากรให้สามารถจัดเก็บภาษีได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
(7) ร่วมตรวจคัดตรวจปล่อยของนำเข้า-ส่งออกทางไปรษณีย์ การควบคุมการบรรทุก และขนถ่ายสินค้า การควบคุมยานพาหนะและสินค้าขาเข้า-ออก และการควบคุมสินค้าผ่านแดน เพื่อป้องกันการลักลอบกระทำความผิดทางศุลกากร
(8) ร่วมปฏิบัติงานในการควบคุมการเก็บของ การขนย้าย การนำของออกจากเขตที่กำหนดในคลังสินค้า คลังสินค้าทัณฑ์บน เขตปลอดอากร เขตอุตสาหกรรมส่งออก เขตพื้นที่พัฒนาร่วม เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามกฎระเบียบทางที่ศุลกากรกำหนด
(9) การตรวจสอบเอกสาร หลักฐานบัญชีเกี่ยวกับการนำ เข้า ส่งออก ณ สถานประกอบการ เพื่อให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ กฎระเบียบทางที่ศุลกากรกำหนด
เอกสารแนบ 1
- 2 -
(10) การสืบสวน ประมวลหลักฐาน ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิด ตามกฎหมายศุลกากร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันผลประโยชน์ของประเทศและประชาชน
(11) การดูแลเก็บรักษาและจำหน่ายของกลาง ของตกค้าง และการตรวจสอบสินค้าของตกค้างและของกลาง เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามกฎระเบียบทางที่ศุลกากรกำหนด
2. ด้านการวางแผน
วาง แผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสำนงาน
(1) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
(1) ให้คำแนะนำ ปรึกษาในเบื้องต้น แก่หน่วยงานราชการ เอกชน ข้าราชการ พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับการนำเข้า ส่งออก สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร พิกัดอัตราศุลกากร พิธีการและราคาศุลกากร และแผนปฏิบัติที่เกี่ยวกับอนุสัญญาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากร เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจและนาไปสู่การปฏิบัติเกี่ยวกับพิธีการศุลกากรอย่างถูกต้อง
(2) ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำเอกสาร ตารา คู่มือ สื่อ เอกสารเผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานวิชาการศุลกากร
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับ ปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชา การบัญชี หรือสาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ หรือสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ หรือสาขาวิชานิติศาสตร์ หรือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ หรือสาขาวิชารัฐศาสตร์ หรือสาขาวิชาบริหารรัฐกิจ หรือสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ และเป็นผู้ขึ้นทะเบียนสอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ระดับปริญญาตรีของ ก.พ. แล้ว
ตำแหน่งเจ้าพนักงานศุลกากรปฏิบัติงาน
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติ งานศุลกากร ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุม การบรรทุกและขนถ่ายสินค้า การเก็บรักษา การตรวจสอบ การจัดเก็บภาษี การป้องกันและปราบปรามการหลีกเลี่ยงและลักลอบหนีศุลกากร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับ ต้นซึ่งไม่จาเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านศุลกากร ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกากับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย ปฏิบัติงานทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และสามารถปฏิบัติงานเป็นกะหรือเป็นผลัดหมุนเวียน ตามช่วงระยะเวลำได้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ปฏิบัติงานการรับและตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ในขั้นต้นของเอกสาร พิธีการ เอกสารการนำสินค้าเข้าและส่งสินค้าออก ตรวจสอบพิกัดราคา และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออก ช่วยปฏิบัติพิธีการจัดเก็บภาษีอากร ช่วยควบคุมการบรรทุกและขนถ่ายสินค้า ช่วยตรวจคัดไปรษณียภัณฑ์เพื่อปฏิบัติพิธีการจัดเก็บภาษีอากร
(2) ช่วยปฏิบัติพิธีการจัดเก็บภาษีอากร การจัดเก็บอากรและเงินค่าธรรมเนียมต่างๆ
(3) รับคำร้องขอคืนภาษีอากรและเงินอื่นๆ ช่วยตรวจสอบใบขนสินค้า และเอกสารที่ผ่านพิธีการแล้ว
(4) รับรายงานเรือเข้า-ออก ช่วยดูแลเก็บรักษาตัวอย่างสินค้า
(5) ช่วยคุมเฝ้าและคุมส่งสินค้า ช่วยตรวจวัดน้ามันและถังบรรจุน้ามันเพื่อทำตารางคำนวณปริมาตรความจุประจำถัง และจัดเก็บภาษีอากร
(6) รักษาการณ์และตรวจค้นเรือต่ำงประเทศและเรือค้าชายฝั่ง
(7) ตรวจยวดยานคนโดยสารและของที่นาติดตัวพร้อมกับผู้เดินทางเข้าประเทศหรือออกนอกประเทศ
(8) ช่วยรับและจำหน่ายของกลาง
(9) การหาข้อมูล ช่วยสืบสวนติดตามความเคลื่อนไหว และตรวจตราป้องกันปราบปรามการหลีกเลี่ยงและลักลอบหนีศุลกากรช่วย
(10) ตรวจคัดบัญชีสินค้าประเภทต่างๆ รวมรวบเอกสารหลักฐานเพื่อกำหนดราคาจัดทำบัตรราคา หรือเพื่อตรวจสอบราคา
(11) ตรวจสอบเอกสารที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
(12) การประมวลหลักฐาน สอบสวนและจัดทำประวัติผู้กระทำผิดกฎหมายศุลกากร
(13) ติดตาม รวบรวมและจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน นำเสนอต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อนาไปใช้เสนอแนะและปรับปรุงการปฏิบัติงานต่อไป
เอกสารแนบ 2
- 2 -
2. ด้านการบริการ
(1) ติดต่อประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกันหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
(2) ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือกับผู้มาติดต่อราชการ เพื่อเป็นการให้ประชาชน เกิดความรู้ความเข้าใจและสะดวกรวดเร็วในการทำงาน
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้ รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเครื่องกล หรือสาขาวิชาเครื่องมือกลและซ่อมบารุง หรือสาขาวิชาโลหะการ หรือสาขาวิชาก่อสร้าง หรือสาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือสาขาวิชาพณิชยการ และเป็นผู้ขึ้นทะเบียนสอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ของ ก.พ. แล้ว
สมัครสอบกรมศุลกากร คลิกที่นี่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น