เรื่องคุณวุฒิการสมัครสอบงานราชการไม่ว่าจะเป็นข้าราชการพลเรือน
หรือข้าราชการอื่นๆ หลายท่านมักจะสอบถามเข้ามาบ่อยๆ
และเชื่อว่าเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวสำหรับเจ้าหน้าที่ที่รับสมัครสอบทุกหน่วย
งาน วันนี้ขอเคลียร์ใจกับคำว่า "เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้" กันสักนิดนึง
หากไม่ถูกต้องประการใดรบกวนชี้แนะด้วยครับ ผมก็ไม่ชำนาญเท่าไรนัก ^^
คุณว่า ปวช.หรือ ปวส. เทียบกับ มัธยมศึกษาได้ ?? ให้เอาแค่คำว่า "เทียบได้"
ก่อน อย่าเพิ่งไปมองสูงกว่า หรือต่ำกว่า
ถ้ามองตามหลักสูตรการเรียนการสอนก็จะทราบดีว่าไม่มีทางเทียบกันได้แน่นอน
เพราะมีวิชาที่เรียนที่สอนแตกต่างกันมากมายเหลือเกิน
นี่คือตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดโดยไม่ต้องไปถามที่ไหนหรอกครับ
สมมติถ้าต้องการเสมียนที่พิมพ์ดีดจัดจ้านรอบรู้เรื่องการจัดวางรูปแบบ
หนังสือต่างๆ แล้วจะรับสมัคร ม.6 ที่ไม่เคยเรียนเรื่องเหล่านี้เลยก็คงแปลกๆ
นะครับ ปริญญาตรีไปสมัคร ปวส., ปวช. ก็เหมือนกันครับ
อยากให้มองภาพแบบนี้ครับ "สายสามัญ" "สายอาชีพ" "อุดมศึกษา"
แต่ประเด็นที่มีปัญหาหนักๆ ก็คือ แล้วถ้า ปวส. กับ ปวช. ละ
หรือ ป.ตรี กับ ป.โท ละ เทียบกันได้หรือไม่ ในประกาศเขียนแค่ว่า
"ไม่ต่ำกว่า" แต่ไม่ได้ระบุว่าสูงกว่าก็ได้(เหมือนศรีธนญชัยยังไงไม่รู้)
เหมือนกันครับลองเอาแค่คำว่า "เทียบได้" ก่อน
สมมติจบตรีมนุษย์ศาสตร์
จบโทบริหารธุรกิจการตลาด ประกาศระบุเกี่ยวกับคุณสมบัติว่า
ปริญญาตรีสาขาวิชาการตลาด ผมถามว่าเอาวุฒิที่จบโทไปสมัครได้??
เมื่อ
มองแบบนี้ ปวช.กับ ปวส. จะคลุมเคลือไม่แพ้กัน
แต่คุณเคยสังเกตไหมว่าหากหน่วยงานใดประสงค์จะรับผู้มีคุณวุฒิ ปวส.
จะพ่วงท้ายว่า "ปวท. หรือ อนุปริญญา" ไว้ด้วยเสมอ
แล้วไม่สงสัยกันบ้างหรือครับว่า แล้วทำไมหากเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
จึงไม่ระบุไปเลยว่า ปวช., ปวส., ปริญญาตรี, ปริญญาโท หรือ ปริญญาเอก
ดู
เหมือนว่าจะได้นะครับ แต่..ทำไมภาค ก. ก.พ. จึงแยกไม่ให้เอาผลผ่านภาค ก.
ป.โท ไปใช้กับ ป.ตรี ละครับ โดยไม่ระบุว่า "ผ่านการสอบภาค ก.
ที่จัดสอบโดยสำนักงาน ก.พ. ระดับ ปริญญาตรี หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้"
เช่นเดียวกับ ปวช. และ ปวส. ก็ต้องใช้ให้ตรงกับที่ประกาศระบุไว้เท่านั้น
ความ
เห็นส่วนตัวนะครับคำว่า "เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้" จุดประสงค์คงหมายถึง
การเทียบ "คุณวุฒิจากต่างประเทศ" หรือ "สาขาวิชา" ที่ ก.พ.
จะเทียบให้มากกว่า
เอาแบบภาษาชาวบ้านเลยนะครับ
เมื่อไรก็ตามหากจะเทียบได้ก็จะระบุไว้เลย
ลักษณะของการประกาศรับสมัครสอบของหน่วยงานราชการหากระบุไว้เช่นไรก็ให้เป็น
ไปเช่นนั้น หากไม่ได้ระบุไว้นั่นคือไม่ได้
หากหน่วยงานใดบอกว่าได้หาประกาศที่พอจะใช้เป็นหลักฐานยืนยันเก็บไว้ดีกว่า
ครับ เพราะเท่าที่ผ่านมาผมไม่เคยเห็น แต่ที่เห็นก็คือ คำว่า "รับรองตนเอง"
ซึ่งเป็นการป้องกันกรณีที่มีปัญหาในภายหลังจากการบรรจุไปแล้วแต่คุณสมบัติ
ไม่ตรงกับมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ทำให้มีผลในการเลื่อนระดับ
หรือเลื่อนขั้นเงินเดือน
และจะไม่สามารถอ้างว่าถ้าคุณสมบัติไม่ได้แล้วบรรจุให้ทำไม
จะเอาตรงนี้ไปอ้างความผิดต้องให้ถูกต้องมิได้
เพราะในขั้นตอนการตรวจสอบหน่วยงานนั้นๆ
ก็จะพยายามหาเอกสารหลักฐานที่เป็นตัวบ่งชี้ชัดว่าได้หรือไม่ได้เช่นกัน
เมื่อไม่มีก็แปลว่าไม่ได้
หรือ บางครั้งก็จะเห็นส่วนเพิ่มว่า "ให้เป็นไปตามมติ" ของหน่วยงานที่กำกับดูแล ขรก. ในสังกัดนั้นๆ เห็นชอบ แล้วถ้าไม่เห็นชอบละครับ
ทาง
ที่ดี..ถ้าต้องสมัครสอบแต่มีคุณวุฒิไม่ตรงแล้วก็พยายามหาตัวประกาศที่จะเป็น
เอกสารยืนยันให้ชัดเจนดีกว่า อย่าเพียงคำพูดของใคร
เพื่อไม่เกิดปัญหาในภายหลัง อย่าลืมนะครับกว่าจะสอบผ่านกว่าจะได้บรรจุ
อุตส่าห์ตรากตรำทำงานแรมปี
แต่พอจะเลื่อนขั้นเลื่อนระดับถูกย้อนตรวจสอบกลับมาที่ตอนเข้าบรรจุครั้งแรก
ปรากฎว่าคุณสมบัติไม่ผ่าน ถึงกับ "ต้องออกจากราชการ" ก็มี
แล้วต้องไปนับหนึ่งใหม่จะดีหรือครับ??
ผมมองในแง่ดีนะครับ
คิดว่าคนที่บอกว่าได้ๆๆๆๆ คงหมายถึง..กรณีที่มีคุณวุฒิที่สูงกว่าก็จริง
แต่ตอนสมัครให้ใช้คุณวุฒิให้ตรงกับประกาศ
เมื่อได้บรรจุค่อยเอาคุณวุฒิที่สูงกว่าไปปรับแบบนี้ไม่ผิดกติกาครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น