ลิงค์: http://iqepi.com/?p=12791 หรือ
ตำแหน่ง: รวม 10 ตำแหน่ง 40 อัตรา
ระดับการศึกษา: ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 15,000-19,250
อัตราว่าง: 40
ปฏิบัติงานที่:
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 10 - 24 มีนาคม 2557
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1004/ว 17 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2556 เรื่อง การสรรหาโดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ตำแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้ง และเงินเดือนที่จะได้รับ
- นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ อัตราเงินเดือน 15,000-19,250 บาท หรือตามที่ ก.พ. กำหนด
คุณวุฒิ ได้รับปริญญาตรีหรือสุงกว่าหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา - นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ อัตราเงินเดือน 15,000-19,250 บาท หรือตามที่ ก.พ. กำหนด
คุณวุฒิ ปริญญาตรีหรือสูงกว่าหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา - นักนิติกรปฏิบัติการ อัตราเงินเดือน 15,000-19,250 บาท หรือตามที่ ก.พ. กำหนด
คุณวุฒิ ปริญญาตรีหรือสูงกว่าหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชานิติศาสตร์ - นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ อัตราเงินเดือน 15,000-19,250 บาท หรือตามที่ ก.พ. กำหนด
คุณวุฒิ ปริญญาตรีหรือสูงกว่าหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา - นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ อัตราเงินเดือน 15,000-19,250 บาท หรือตามที่ ก.พ. กำหนด
คุณวุฒิ ได้รับปริญญาตรีหรือสูงกว่าหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา - นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ อัตราเงินเดือน 15,000-19,250 บาท หรือตามที่ ก.พ. กำหนด
คุณวุฒิ ได้รับปริญญาตรีหรือสูงกว่าหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ - วิศวกรโยธาปฏิบัติการ อัตราเงินเดือน 15,000-19,250 บาท หรือตามที่ ก.พ. กำหนด
คุณวุฒิ ได้รับปริญญาตรีหรือสูงกว่าหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมโยธา ทางวิศวกรรมโครงสร้าง ทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ทางวิศวกรรมสุขาภิบาล หรือทางวิศวกรรมชลประทาน และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามที่กฎหมายกำหนด - เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน อัตราเงินเดือน 11,500-13,030 บาท หรือตามที่ ก.พ. กำหนด
คุณวุฒิ ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบได้ไม่ตำ่กว่านี้ในสาขาวิชาการจัดการทั่วไป สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาการเลขานุการ สาขาวิชาการบัญชี และสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ - เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน อัตราเงินเดือน 11,500-13,030 บาท หรือตามที่ ก.พ. กำหนด
คุณวุฒิ ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการจัดการทั่วไป สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร สาขาวิชาการตลาด - เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน อัตราเงินเดือน 11,500-13,030 บาท หรือตามที่ ก.พ. กำหนด
คุณวุฒิ ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ในสาขาวิชาการจัดการทั่วไป สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร สาขาววิชาการเลขานุการ และสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
อ่านประกาศทั้งหมดคลิกเลือกหน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30
จำนวนตำแหน่งว่างครั้งแรก
- ตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ จำนวน 4 ตำแหน่ง
- ตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ จำนวน 12 ตำแหน่ง
- ตำแหน่งนักนิติกรปฏิบัติการ จำนวน 1 ตำแหน่ง
- ตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ จำนวน 1 ตำแหน่ง
- ตำแหน่งนักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ จำนวน 8 ตำแหน่ง
- ตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ จำนวน 1 ตำแหน่ง
- ตำแหน่งวิศวกรโยธาปฏิบัติการ จำนวน 2 ตำแหน่ง
- ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน จำนวน 7 ตำแหน่ง
- ตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน จำนวน 3 ตำแหน่ง
- ตำแหน่งเจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน จำนวน 1 ตำแหน่ง
สมัครงาน สพฐ. งานราชการ สพฐ. รับสมัคร สอบ สพฐ. 2557 สอบ สพฐ. 57 สพฐ. เปิดสอบ
วิธีการสมัครงาน ข้าราชการ สพฐ. :รับสมัครทางอินเตอร์เน็ต
- ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สามารถสมัครได้ทางอินเตอร์เน็ต (Internet) ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2557 ถึงวันที่ 28 มีนาคม 2557 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ ตามขั้นตอน ดังนี้
- เปิดเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เว็บไซต์ สพฐ. คลิกที่นี่
- กรอกข้อความในใบสมัครให้ถูกต้อง ครบถ้วน และปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนด ระบบจะกำหนดแบบฟอร์มการชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์ บมจ. ธนาคารกรุงไทย ให้โดยอัตโนมัติ
- พิมพ์แบบฟอร์มการชำระเงินลงในกระดาษขนาด A4 จำนวน 1 แผ่น หรือหากไม่มีเครื่องพิมพ์ในขณะนั้น ให้ทำการบันทึกข้อมูลเก็บไว้วในรูปแบบ File ลงในสื่อบันทึกข้อมูลเพื่อนำไปพิมพ์แบบฟอร์มการชำระเงินในภายหลัง
**ในกรณีไม่สามารถพิมพ์แบบฟอร์มการชำระเงิน หรือบันทึกข้อมูลได้ ผู้สมัครสอบสามารถเข้าไปพิมพ์แบบฟอร์มการชำระเงิน หรือบันทึกข้อมูลลงในสื่อบันทึกข้อมูลใหม่ได้อีก แต่จะไม่สามารถแก้ไขข้อมูลในการกรอกใบสมัครในครั้งแรกที่สมบูรณ์แล้วได้
- ให้ผู้สมัครนำแบบฟอร์มการชำระเงิน (ข้อ 5.1(3)) ไปชำระเงินเฉพาะที่เคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2557 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2557 ภายในเวลาทำการของธนาคาร และให้เก็บหลักฐานการชำระเงินไว้เป็นหลักฐานด้วย
**ทั้งนี้ การรับสมัครสอบจะมีผลสมบูรณ์เมื่อชำระค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบเรียบร้อยแล้ว - ผู้สมัครสอบต้องเสียค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบ จำนวน 230 บาท
- ค่าธรรมเนียมสอบ จำนวน 200 บาท
- ค่าธรรมเนียมธนาคารและค่าบริการอินเตอร์เน็ต (Internet) จำนวน 30 บาทเมื่อสมัครสอบและชำระค่าธรรมเนียมตามข้อ 3 แล้ว จะไม่คืนให้ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น เว้นแต่มีการยกเลิกการสอบครั้งนี้ทั้งหมด เนื่องจากมีการทุจาริตและส่อไปในทางทุจริต จึงจ่ายค่าธรรมเนียมสมัครสอบแก่ผู้สมัครสอบเฉพาะผู้ใดที่มิได้มีส่วนเกี่ยวขอ้งกับการทุจริตหรือส่อไปในทางทุจริตนั้น
- ผู้สมัครสอบที่ชำระค่าธรรมเนียมสอบแล้ว จะได้รับเลขประจำตัวสอบโดยจะกำหนดเลขประจำตัวสอบตามลำดับของการชำระค่าธรมเนียมสอบ โดยสามารถตรวจสอบและพิมพ์ใบสมัครที่มีเลขประจำตัวสอบหลังจากการชำระค่าธรรมเนียมสอบแล้ว ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2557 เป็นต้นไป ที่เว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คลิกหัวข้อ "พิมพ์ใบสมัครและเลขประจำตัวสอบ)**กรณีไม่มีชื่อปรากฎในใบตรวจสอบรายชื่อ ให้ติดต่อกลุ่มบริหารงานบุคคล 2 และนำส่งหลักฐานการชำระเงินพร้อมเอกสารตามข้อ 11 ภายในัวนที่ (18-22 เมษายน 2557) ในเวลาราชการได้ 2 รูปแบบ คือ
- ติดต่อด้วยตัวเองและยื่นเอกสาร ณ กลุ่มบริหารงานบุคคล 2 สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาคาร สพฐ. 2 ชั้น 6 ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
- ติดต่อทางโทรศัพท์หมายเลข 0 2288 5653-4, 0 2628 5094 เพื่อนำส่งเอกสารทางโทรสารหมายเลข 0 2282-9391, 0 2288-5653 หรือนำส่งเอกสารทางสแกนอิเล็กทรอนิกส์ได้ที่ e-mail: kgb5094@gmail.com เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและประกาศรายชื่อผู้สมัครสอบแข่งขันเพิ่มเติมให้ทราบภายในวันที่ 25 เมษายน 2557 ณ ป้ายประกาศของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และทางเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เงื่อนไขในการสมัครสอบ
- ผู้สมัครสอบสามารถสมัครได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
- ผู้สมัครสอบสามารถเลือกสมัครได้เพียง 1 ตำแหน่งเทา่นั้น เมื่อเลือกแล้วจะเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขตำแหน่งที่สมัครสอบไม่ได้ และให้เข้าสอบตามวันและเวลาที่กำหนดในแต่ละตำแหน่ง
- ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้มีวุฒิการศึกษาตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามประกาศรับสมัครสอบแข่งขัน โดยต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจอนุมัติของสถานศึกษานั้น ภายในวันปิดรับสมัครสอบ คือวันที่ 28 มีนาคม 2557 ทั้งนี การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือปริญญาของสถานศึกษาใด จะถือตามกฎหมาย กฎหรือระเบียบเกี่ยวกับการสำเร็จการศกึษาตามหลักสูตรของสถานศึกษานั้นเป็นเกณฑ์
- การสมัครสอบตามขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น ถือว่าผู้สมัครสอบเป็นผู้ลงลายมือชื่อและรับรองความถูกต้องของข้อมูลดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 และพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 ดังนั้น หากผู้สมัครสอบจงใจกรอกข้อมูลอันเป็นเท็จ อาจมีความผิดฐานแจ้งความเท็จต่เจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137
- ผู้สมัครสอบจะต้องรับผิดชอบในการตรวจสอบและรับรองตนเองว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปและคุณสมบัติเฉฑาะสำหรับตำแหน่งตรงตามประกาศรับสมัครสอบ โดยผู้สมัครสอบจะต้องกรอกรายละเอียดต่างๆ ในใบสมัครให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ในกรณีที่มีความผิดพลาดอันเกิดจากผู้สมัครสอบไม่ว่าด้วยกรณีใดๆ หรือตรวจสอบพบว่าเอกสารหลักฐานซึ่งผู้สมัครสอบนำมายื่นไม่ตรงหรือไม่เป็นไปตามประกาศรับสมัครสอบ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะถือว่าผู้สมัครสอบเป็นผู้ขาดคุณสมบัติในการสมัครสอบครั้งนี้มาตั้งแต่ต้น จะไม่มีสิทธิได้รับการบรรจุและแต่งตั้งและจะไม่คืนค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบ
*กรณีเลขประจำตัวประชาชนที่ใช้ในการสมัครสอบไม่ตรงกับหลักฐานการแสดงตนเพื่อเข้าห้องสอบ จะไม่อนุญาให้เข้าห้องสอบโดยเด็ดขาด ยกเว้น ในกรณีชื่อ-นามสกุล ของหลักฐานการแสดงตนเข้าห้องสอบของผู้สมัครสอบไม่ตรงกับข้อมูลการสมัครสอบ ผู้สมัครสอบต้องมีหลักฐานอื่นที่ทางราชการออกให้ไปยืนยัน มิฉะนั้นจะไม่มีสิทธิเข้าห้องสอบ
การประกาศรายชือ่ผู้สมัครสอบ กำหนดวัน เวลา สถานที่สอบ ระเบียบเกี่ยวกับการสอบ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจะประกาศรายชื่อผู้สมัครสอบ เลขประจำตัวสอบ กำหนดวันเวลา และสถานที่สอบ ระเบียบและวิธีการสอบให้ทราบในวันที่ 18 เมษายน 2557 ณ สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาคาร สพฐ. 2 ชั้น 6 ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร หรือที่เว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หัวข้อ "การประกาศรายชื่อผู็สมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ในสังกัด สพฐ."
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ: 18 เม.ย. 2557
อ่านประกาศทั้งหมดคลิกเลือกหน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30
ดาวน์โหลดรายละเอียด/ประกาศรับสมัครสอบ คลิกที่นี่!!
เว็บไซต์ สพฐ. คลิกที่นี่
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
------------------------------------------
ด้วย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1004/ว 17 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2556 เรื่อง การสรรหาโดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขัน ฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. ตำแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้ง และเงินเดือนที่จะได้รับ
1.1 ตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
อัตราเงินเดือน 15,000 – 19,250 บาท หรือตามที่ ก.พ. กำหนด
1.2 ตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ
อัตราเงินเดือน 15,000 – 19,250 บาท หรือตามที่ ก.พ. กำหนด
1.3 ตำแหน่งนิติกรปฏิบัติการ
อัตราเงินเดือน 15,000 – 19,250 บาท หรือตามที่ ก.พ. กำหนด
1.4 ตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ
อัตราเงินเดือน 15,000 – 19,250 บาท หรือตามที่ ก.พ. กำหนด
1.5 ตำแหน่งนักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ
อัตราเงินเดือน 15,000 – 19,250 บาท หรือตามที่ ก.พ. กำหนด
1.6 ตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
อัตราเงินเดือน 15,000 – 19,250 บาท หรือตามที่ ก.พ. กำหนด
1.7 ตำแหน่งวิศวกรโยธาปฏิบัติการ
อัตราเงินเดือน 15,000 – 19,250 บาท หรือตามที่ ก.พ. กำหนด
1.8 ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
อัตราเงินเดือน 11,500 – 13,030 บาท หรือตามที่ ก.พ. กำหนด
1.9 ตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
อัตราเงินเดือน 11,500 – 13,030 บาท หรือตามที่ ก.พ. กำหนด
/ 1.10 ตำแหน่ง ...
-2-
1.10 ตำแหน่งเจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
อัตราเงินเดือน 11,500 – 13,030 บาท หรือตามที่ ก.พ. กำหนด
2. จำนวนตำแหน่งว่างครั้งแรก
2.1 ตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ จำนวน 4 ตำแหน่ง
2.2 ตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ จำนวน 12 ตำแหน่ง
2.3 ตำแหน่งนิติกรปฏิบัติการ จำนวน 1 ตำแหน่ง
2.4 ตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ จำนวน 1 ตำแหน่ง
2.5 ตำแหน่งนักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ จำนวน 8 ตำแหน่ง
2.6 ตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ จำนวน 1 ตำแหน่ง
2.7 ตำแหน่งวิศวกรโยธาปฏิบัติการ จำนวน 2 ตำแหน่ง
2.8 ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน จำนวน 7 ตำแหน่ง
2.9 ตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน จำนวน 3 ตำแหน่ง
2.10 ตำแหน่งเจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน จำนวน 1 ตำแหน่ง
รวม จำนวน 40 ตำแหน่ง
3. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ลักษณะงานที่ปฏิบัติของแต่ละตำแหน่ง ตามที่ระบุไว้ในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ (เอกสารหมายเลข 1)
4. คุณสมบัติทั่วไปและคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งของผู้มีสิทธิสมัครสอบ
4.1 ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัติทั่วไป และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ดังต่อไปนี้
ก. คุณสมบัติทั่วไป
(1) มีสัญชาติไทย
(2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี
(3) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ข. ลักษณะต้องห้าม
(1) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
(2) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
(3) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
(4) เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
/ (5) เป็นกรรมการ ...
-3-
(5) เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(6) เป็นบุคคลล้มละลาย
(7) เป็นผู้เคยต้องรับโทษจาคุกโดยคาพิพากษาถึงที่สุดให้จาคุกเพราะกระทำความผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
(8) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
(9) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่น
(10) เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่น
(11) เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ หรือเข้าปฏิบัติงาน ในหน่วยงานของรัฐ
ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตาม ข. (4) (6) (7) (8) (9) (10) หรือ (11) ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ แต่ถ้าเป็นกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (8) หรือ (9) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้ว และในกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (10) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว และต้องมิใช่เป็นกรณีออกจากงานหรือออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่ สำหรับผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 36 ข. (1) ให้มีสิทธิสมัครสอบแข่งขันได้ แต่จะมีสิทธิได้รับบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญที่สอบแข่งขันได้ต่อเมื่อพ้นจากการเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว
สำหรับพระภิกษุ หรือสามเณรทางราชการไม่รับสมัครสอบและไม่อาจให้เข้าสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ ทั้งนี้ ตามหนังสือกรมสารบรรณคณะรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร ที่ นว 89/2501 ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2501 และตามความในข้อ 5 ของคาสั่งมหาเถรสมาคม ลงวันที่ 17 มีนาคม 2538
4.2 ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามที่ระบุไว้ในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ (เอกสารหมายเลข 1) ทั้งนี้ ผู้สมัครสอบสามารถตรวจสอบคุณวุฒิที่ ก.พ. รับรองได้ที่เว็บไซด์สำนักงาน ก.พ. http://www.ocsc.go.th คลิกหัวข้อ “การเข้ารับราชการ” หัวข้อ “การรับรองคุณวุฒิ”
5. กำหนดการและวิธีการรับสมัคร
5.1 ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สามารถสมัครได้ทางอินเตอร์เน็ต (Internet) ตั้งแต่วันที่10 มีนาคม 2557 ถึงวันที่ 28 มีนาคม 2557 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ ตามขั้นตอน ดังนี้
(1) เปิดเว็บไซด์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (www.obec.go.th) คลิกที่หัวข้อ“รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ในสังกัด สพฐ.” Job.obec.go.th หรือ obec.thaijobjob.com
/ (2) กรอกข้อความ ...
-4-
(2) กรอกข้อความในใบสมัครให้ถูกต้อง ครบถ้วน และปฏิบัติตามขั้นตอน ที่กำหนด ระบบจะกำหนดแบบฟอร์มการชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์ บมจ. ธนาคารกรุงไทย ให้โดยอัตโนมัติ
(3) พิมพ์แบบฟอร์มการชำระเงินลงในกระดาษขนาด A4 จำนวน 1 แผ่น หรือหากไม่มีเครื่องพิมพ์ในขณะนั้น ให้ทำการบันทึกข้อมูลเก็บไว้ในรูปแบบ File ลงในสื่อบันทึกข้อมูลเพื่อนำไปพิมพ์แบบฟอร์มการชำระเงินในภายหลัง
ในกรณีไม่สามารถพิมพ์แบบฟอร์มการชำระเงิน หรือบันทึกข้อมูลได้ ผู้สมัครสอบสามารถเข้าไปพิมพ์แบบฟอร์มการชำระเงิน หรือบันทึกข้อมูลลงในสื่อบันทึกข้อมูลใหม่ได้อีก แต่จะไม่สามารถแก้ไขข้อมูลในการกรอกใบสมัครในครั้งแรกที่สมบูรณ์แล้วได้
5.2 ให้ผู้สมัครนำแบบฟอร์มการชำระเงิน (ข้อ 5.1 (3)) ไปชำระเงินเฉพาะที่เคาน์เตอร์ บมจ. ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2557 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2557 ภายในเวลาทำการของธนาคาร และให้เก็บหลักฐานการชำระเงินไว้เป็นหลักฐานด้วย
ทั้งนี้ การรับสมัครสอบจะมีผลสมบูรณ์เมื่อชำระค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบ เรียบร้อยแล้ว
5.3 ผู้สมัครสอบต้องเสียค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบ จำนวน 230 บาท
(1) ค่าธรรมเนียมสอบ จำนวน 200 บาท
(2) ค่าธรรมเนียมธนาคารและค่าบริการอินเตอร์เน็ต (Internet) จำนวน 30 บาท
เมื่อสมัครสอบและชำระค่าธรรมเนียมตามข้อ 5.3 แล้ว จะไม่คืนให้ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้นเว้นแต่มีการยกเลิกการสอบครั้งนี้ทั้งหมด เนื่องจากมีการทุจริตและส่อไปในทางทุจริต จึงจ่ายค่าธรรมเนียมสมัครสอบแก่ผู้สมัครสอบเฉพาะผู้ใดที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือส่อไปในทางทุจริตนั้น
5.4 ผู้สมัครสอบที่ชำระค่าธรรมเนียมสอบแล้ว จะได้รับเลขประจำตัวสอบ โดยจะกำหนดเลขประจำตัวสอบตามลำดับของการชำระค่าธรรมเนียมสอบ โดยสามารถตรวจสอบและ พิมพ์ใบสมัครที่มีเลขประจำตัวสอบหลังจากการชำระค่าธรรมเนียมสอบแล้ว ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2557 เป็นต้นไป ที่เว็บไซด์ของสำนักงานคณะการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (www.obec.go.th) Job.obec.go.th หรือ obec.thaijobjob.com คลิกหัวข้อ “พิมพ์ใบสมัครและเลขประจำตัวสอบ”
กรณีไม่มีชื่อปรากฏในใบตรวจสอบรายชื่อ ให้ติดต่อกลุ่มบริหารงานบุคคล 2 และนำส่งหลักฐานการชำระเงินพร้อมเอกสารตามข้อ 11 ภายในวันที่ (18-22 เมษายน 2557) ในเวลาราชการ ได้ 2 รูปแบบ คือ
(1) ติดต่อด้วยตัวเองและยื่นเอกสาร ณ กลุ่มบริหารงานบุคคล 2 สานักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาคาร สพฐ. 2 ชั้น 6 ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
/ (2) ติดต่อ ...
-5-
(2) ติดต่อทางโทรศัพท์หมายเลข 0 2288 5653-4, 0 2628 5094 เพื่อนำส่งเอกสารทางโทรสารหมายเลข 0 2282-9391, 0 2288-5653 หรือนำส่งเอกสารทางสแกนอิเล็กทรอนิกส์ได้ที่ e-mail: kgb5094@gmail.com เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และประกาศรายชื่อผู้สมัครสอบแข่งขันเพิ่มเติมให้ทราบภายในวันที่ 25 เมษายน 2557 ณ ป้ายประกาศของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และทางเว็บไซด์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (www.obec.go.th) Job.obec.go.th หรือ obec.thaijobjob.com
6. เงื่อนไขในการรับสมัครสอบ
6.1 ผู้สมัครสอบสามารถสมัครได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
6.2 ผู้สมัครสอบสามารถเลือกสมัครได้เพียง 1 ตำแหน่งเท่านั้น เมื่อเลือกแล้ว จะเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขตำแหน่งที่สมัครสอบไม่ได้ และให้เข้าสอบตามวันและเวลาที่กำหนดในแต่ละตำแหน่ง
6.3 ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้มีวุฒิการศึกษาตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามประกาศรับสมัครสอบแข่งขันในข้อ 4.2 โดยต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจ
อนุมัติของสถานศึกษานั้น ภายในวันปิดรับสมัครสอบ คือ วันที่ 28 มีนาคม 2557 ทั้งนี้ การสำเร็จการศึกษา ตามหลักสูตรขั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือปริญญาของสถานศึกษาใด จะถือตามกฎหมาย กฎหรือระเบียบเกี่ยวกับการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของสถานศึกษานั้นเป็นเกณฑ์
6.4 การสมัครสอบตามขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น ถือว่าผู้สมัครสอบเป็นผู้ลงลายมือชื่อและรับรองความถูกต้องของข้อมูลดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ดังนั้น หากผู้สมัครสอบจงใจกรอกข้อมูลอันเป็นเท็จ อาจมีความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137
6.5 ผู้สมัครสอบจะต้องรับผิดชอบในการตรวจสอบและรับรองตนเองว่า เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปและคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตรงตามประกาศรับสมัครสอบ โดยผู้สมัครสอบจะต้องกรอกรายละเอียดต่างๆ ในใบสมัครให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ในกรณีที่มีความผิดพลาดอันเกิดจากผู้สมัครสอบ ไม่ว่าด้วยกรณีใดๆ หรือตรวจสอบพบว่าเอกสารหลักฐานซึ่งผู้สมัครสอบนามายื่นไม่ตรงหรือไม่เป็นไปตามประกาศรับสมัครสอบ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะถือว่าผู้สมัครสอบเป็นผู้ขาดคุณสมบัติ ในการสมัครสอบครั้งนี้มาตั้งแต่ต้น จะไม่มีสิทธิได้รับการบรรจุและแต่งตั้งและจะไม่คืนค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบ
กรณีเลขประจำตัวประชาชนที่ใช้ในการสมัครสอบไม่ตรงกับหลักฐานการแสดงตน เพื่อเข้าห้องสอบ จะไม่อนุญาตให้เข้าห้องสอบโดยเด็ดขาด ยกเว้น ในกรณีชื่อ - นามสกุล ของหลักฐาน การแสดงตนเข้าห้องสอบ ของผู้สมัครสอบไม่ตรงกับข้อมูลการสมัครสอบ ผู้สมัครสอบต้องมีหลักฐานอื่น ที่ทางราชการออกให้ไปยืนยัน มิฉะนั้นจะไม่มีสิทธิเข้าห้องสอบ
7. การประกำศรำยชื่อผู้สมัครสอบ กำหนดวัน เวลา สถานที่สอบ ระเบียบเกี่ยวกับการสอบ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจะประกาศรายชื่อผู้สมัครสอบ เลขประจำตัวสอบ กำหนดวันเวลา และสถานที่สอบ ระเบียบและวิธีการสอบให้ทราบในวันที่ 18 เมษายน 2557
/ ณ สานัก ...
-6-
ณ สานักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาคาร สพฐ. 2 ชั้น 6
ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร หรือที่เว็บไซด์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(www.obec.go.th) Job.obec.go.th หรือ obec.thaijobjob.com คลิกหัวข้อ “การประกาศรายชื่อผู้สมัคร สอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ในสังกัด สพฐ.”
8. หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขัน
8.1 การสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 200 คะแนน)
ผู้สมัครสอบในตำแหน่งใดต้องสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง
ตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ (เอกสารหมายเลข 1) ทดสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียน
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดให้ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งก่อน และเมื่อสอบผ่านการสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 9.1 แล้ว จึงจะให้มีสิทธิเข้าทดสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่งต่อไป ทั้งนี้ โดยจะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบความเหมาะสมกับตำแหน่ง ที่เว็บไซด์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (www.obec.go.th) Job.obec.go.th หรือ obec.thaijobjob.com
8.2 การสอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) เป็นการทดสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้ง โดยวิธีการสัมภาษณ์ เพื่อประเมินผู้เข้าสอบเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทางาน และจากพฤติกรรมที่ปรากฏทางอื่นของผู้เข้าสอบและจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเติม เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรมการปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคม และสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น และรวมถึงสมรรถนะหลัก สมรรถนะที่จาเป็นของตำแหน่ง
9. เกณฑ์การตัดสิน
9.1 ผู้สมัครสอบจะต้องสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง ตามเกณฑ์การตัดสินไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 จึงจะมีสิทธิสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง
9.2 ผู้สอบผ่านการสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งจะต้องได้รับคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 และผู้สอบผ่านการสอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่งจะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ทั้งนี้ ให้คานึงถึงหลักวิชาการวัดผลด้วย
/ 10.หลักฐาน ...
.-7-
10. หลักฐานและอุปกรณ์ที่ต้องนำมาในวันทดสอบเพื่อวัดควำมรู้ควำมสำมำรถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง ดังนี้
10.1 ใบสมัครที่พิมพ์จากอินเตอร์เน็ต (Internet) โดยให้ติดรูปถ่ายหน้าตรง ไม่สวมหมวกและไม่สวมแว่นตาดา ขนาด 1 x 1.5 นิ้ว ถ่ายไว้ไม่เกิน 1 ปี นับถึงวันปิดรับสมัคร พร้อมทั้งลงลายมือชื่อในใบสมัครสอบให้ครบถ้วน
10.2 บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการหรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ซึ่งมีรูปถ่าย ลายมือชื่อ และเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลักระบุชัดเจนเท่านั้น (ฉบับจริง)
10.3 ดินสอที่มีความดาเท่ากับ 2 B หรือมากกว่า ยางลบ ปากกาหมึกสีน้าเงิน
11. หลักฐานที่ต้องยื่นนนวันสอบควำมเหมำะสมกับตำแหน่ง
11.1 ใบสมัครที่พิมพ์จากอินเตอร์เน็ต (Internet) โดยให้ติดรูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกและไม่สวมแว่นตาดา ขนาด 1 x 1.5 นิ้ว ถ่ายไว้ไม่เกิน 1 ปี นับถึงวันปิดรับสมัคร พร้อมทั้งลงลายมือชื่อในใบสมัครสอบให้ครบถ้วน
11.2 รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกและไม่สวมแว่นตาดา ขนาด 1 x 1.5 นิ้ว โดยถ่ายครั้งเดียวกัน ไม่เกิน 1 ปี (นับถึงวันปิดรับสมัคร) จำนวน 2 รูป
11.3 บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ซึ่งมีรูปถ่าย ลายมือชื่อ และมีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักระบุชัดเจนเท่านั้น (ฉบับจริง) และสำเนาภาพถ่ายบัตรดังกล่าว จำนวน 1 ฉบับ
11.4 สำเนาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้หรือสำเนาปริญญาบัตรและสำเนาระเบียนผลการเรียนที่แสดงว่าเป็นผู้มีวุฒิการศึกษาตรงตามประกาศรับสมัครและตำแหน่งที่สมัครสอบ โดยต้องสำเร็จการศึกษาและได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจอนุมัติภายในวันปิดรับสมัคร คือ วันที่ 28 มีนาคม 2557 จำนวน 2 ฉบับ
ทั้งนี้ ผู้ที่ถือว่าเป็นผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ขั้นประกาศนียบัตรหรือปริญญา ของสถานศึกษาใดนั้น จะถือตามกฎหมาย กฎ หรือระเบียบเกี่ยวกับการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ของสถานศึกษานั้นเป็นเกณฑ์โดยจะต้องสำเร็จการศึกษาและได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจของสถานศึกษานั้น ๆ ภายในวันปิดรับสมัครสอบ คือ วันที่ 28 มีนาคม 2557 ในกรณีที่ไม่สามารถนาหลักฐานการศึกษาดังกล่าว มายื่นพร้อมใบสมัครสอบได้ ให้ใช้หนังสือรับรองคุณวุฒิที่สถานศึกษาออกให้ โดยระบุสาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษา และวันที่ได้รับอนุมัติประกาศนียบัตรหรือปริญญาบัตร ซึ่งจะต้องอยู่ภายในกำหนดวันปิดรับสมัครสอบ มายื่นแทน
11.5 สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ฉบับ
11.6 สำเนาหนังสือรับรองผลการสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) ของ ก.พ. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงขึ้นไป หรือระดับปริญญาตรีขึ้นไป แล้วแต่กรณี จำนวน 1 ฉบับ
11.7 หลักฐานการชำระเงินค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบ ฉบับจริง 1 ฉบับ
11.8 สำเนาหลักฐานอื่นๆ เช่น ใบรับรองผลการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ (แบบ สด. 43) ใบสำคัญสมรส ใบเปลี่ยนชื่อ – ชื่อสกุล (ในกรณีชื่อ – ชื่อสกุล ในหลักฐานการสมัครไม่ตรงกัน) เป็นต้น จำนวน 1 ฉบับ
/ 11.9 ใบรับรอง ...
-8-
11.9 ใบรับรองแพทย์ซึ่งออกให้ไม่เกิน 1 เดือน และแสดงว่าไม่เป็นโรคต้องห้าม ตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2553 ได้แก่
(1) วัณโรคในระยะแพร่กระจายเชื้อ
(2) โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
(3) โรคติดยาเสพติดให้โทษ
(4) โรคพิษสุราเรื้อรัง
(5) โรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรงและ เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ตามที่ ก.พ. กำหนด
11.10 หนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งบรรจุได้ยินยอมให้โอน ตามแบบที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
สำเนาเอกสารทุกฉบับให้ผู้สมัครเขียนคารับรองว่า “สำเนาถูกต้อง” ลงชื่อ วันที่ และระบุเลขประจำตัวสอบกากับไว้มุมบนด้านขวาของสำเนาหลักฐานและเอกสารทุกหน้า
อนึ่ง กรณีตรวจพบภายหลังว่าเอกสารหลักฐานการสมัครสอบซึ่งผู้สมัครสอบนามายื่น ไม่ตรง หรือมีคุณสมบัติการสมัครสอบไม่ถูกต้องครบถ้วน หรือไม่เป็นไปตามประกาศรับสมัครสอบ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะถือว่าผู้สมัครสอบเป็นผู้ขาดคุณสมบัติในการสมัครสอบครั้งนี้มาตั้งแต่ต้นจะไม่มีสิทธิได้รับการบรรจุและแต่งตั้งหรือเรียกร้องสิทธิใด ๆ ทั้งสิ้น
12. การขึ้นบัญชีและการยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
12.1 การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ จะเรียงลำดับคะแนนรวมของผู้สอบผ่านการสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งและความเหมาะสมกับตำแหน่งจากมากไปหาน้อยในกรณีที่มีคะแนนเท่ากัน ให้ผู้สอบที่ได้คะแนนความเหมาะสมกับตำแหน่งมากกว่าอยู่ในลำดับที่ดีกว่า แต่ถ้าได้คะแนนความเหมาะสมกับตำแหน่งยังเท่ากันอีก ให้เรียงลำดับตามเลขประจำตัวสอบแข่งขันจากน้อยไปมาก
12.2 บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในครั้งนี้ จะขึ้นบัญชีไว้เป็นเวลาไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันประกาศ แต่ถ้าสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้จัดให้มีการสอบแข่งขันในตำแหน่งเดียวกันกับที่ได้ประกาศรับสมัครในครั้งนี้อีก และได้ประกาศขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ใหม่แล้ว บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในครั้งนี้เป็นอันยกเลิก
13. การบรรจุและแต่งตั้ง
13.1 ผู้สอบแข่งขันได้ จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชี ผู้สอบแข่งขันได้โดยได้รับอัตราเงินเดือนตามคุณวุฒิที่กำหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น ตามที่ระบุไว้ในข้อ 1
13.2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะรับโอนเฉพาะผู้สอบแข่งขันได้ ที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานของรัฐทุกประเภท ที่ผู้บังคับบัญชา ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุได้ยินยอมให้โอนในแบบที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดในวันสมัครให้รับโอนโดยแสดงความจานงพร้อมหลักฐานการสมัคร
/ 14.การคัดเลือก...
14. การคัดเลือกจากบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งหนึ่งไปขึ้นบัญชีเป็นผู้ไรับการคัดเลือกในตำแหน่งอื่น
กรณีที่ส่วนราชการอื่นมีตำแหน่งว่างในตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัตการ หรือประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ซึ่งต้องการบุคคลที่มีวุฒิการศึกษาอย่างเดียวกัน มีความรู้ ความสามารถทักษะและสมรรถนะที่เหมือนหรือใกล้เคียงกันกับตำแหน่งที่ได้มีการสอบแข่งขันและขึ้นบัญชีไว้ ให้ส่วนราชการสามารถคัดเลือกจาบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งหนึ่งไปขึ้นบัญชีเป้นผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งอื่นได้ การขึ้นบัญชีเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกในตำแหน่งอื่นนี้ ให้ถือว่าเป็นการสอบคร้งเดียวกันกับการสอบครั้งนี้ โดยผู้สอบแข่งขันได้มีสทธิที่จะได้รับการบรรจุได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการสอบแข่งขันด้วยความโปร่งใสยุติธรรม และเสมอภาค ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ดังนั้น หากมีผู้ใดแอบอ้างว่าสามารถช่วยเหลือให้ท่านผ่านการสอบเพ่อบรรจุเข้ารับราชการหรือมีพฤติการณ์ในทำนองเดียวกันนี้ โปรดอย่าได้หลงเชื่อและโปรดแจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทราบ ทางดทรศัพท์ หมายเลข 0 2288 5653-4, 0 2628 5094
ประกาศ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
(นายอภิชาติ จีระวุฒิ)
เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เอกสารหมายเลข 1
รายละเอียดเกี่ยวกับการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ
เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
แนบท้ายประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
---------------------------------------
หน่วยที่ 1 ตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการ ในการทางาน ปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการภายในสำนักงานหรือการบริหารราชการทั่วไป ภายใต้การกากับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ศึกษา รวบรวมข้อมูล สถิติ สรุปรายงาน เพื่อสนับสนุนการบริหารสำนักงาน ในด้านต่างๆ เช่น งานบริหารทรัพยากรบุคคล งานบริหารงบประมาณ งานบริหารแผนปฏิบัติราชการ งานบริหารอาคารสถานที่ และงานสัญญาต่าง ๆ เป็นต้น
(2) ปฏิบัติงานเลขานุการของผู้บริหาร เช่น การกลั่นกรองเรื่องการจัดเตรียมเอกสารสำหรับ การประชุม เป็นต้น เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการวินิจฉัยสั่งการของผู้บริหาร
(3) จัดเตรียมการประชุม บันทึกและเรียบเรียงรายงานการประชุมและรายงานอื่นๆ เพื่อให้การบริหารการประชุมมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
(4) ทาเรื่องติดต่อกับหน่วยงานและบุคคลต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด
(5) ช่วยติดตามการปฏิบัติตามมติของที่ประชุม หรือการปฏิบัติตามคาสั่งของผู้บริหาร ของหน่วยงาน เพื่อการรายงานและเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของผู้บังคับบัญชาต่อไป
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทางานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทางานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทางานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ และผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
เอกสารหมายเลข 1
-2-
4. ด้านการบริการ
ตอบปัญหา ชี้แจง และให้คาแนะนำเกี่ยวกับงานในความรับผิดชอบในระดับเบื้องต้น แก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบข้อมูลและเกิดความเข้าใจ ในงานที่รับผิดชอบ
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. เป็นผู้ขึ้นทะเบียนผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ระดับปริญญาตรีขึ้นไปของ ก.พ.
2. ได้รับปริญญาตรีหรือสูงกว่าหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา
หลักสูตรและวิธีการสอบ
1. ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง
ทดสอบความรู้ความสามารถ โดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ดังนี้
1) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ (100 คะแนน)
- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553
- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553
- พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๕๙
- ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
- การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- นโยบายรัฐบาลด้านการศึกษา
2) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ (100 คะแนน)
- ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548
- การบริหารจัดการงานสำนักงาน
- การใช้ภาษาไทย
2. ความเหมาะสมกับตำแหน่ง
โดยวิธีการสอบสัมภาษณ์ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
ประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทางาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบ และจากการสัมภาษณ์ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคม และสิ่งแวดล้อม ความคิดสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอื่น เป็นต้น และรวมถึงสมรรถนะหลัก สมรรถนะที่จาเป็นของตำแหน่ง
--------------------------------------------------
เอกสารหมายเลข 1
หน่วยที่ 2 ตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทางาน ปฏิบัติงานด้านการบริหารหรือการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ภายใต้การกากับ แนะนำ ตรวจสอบและปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลทั้งในและต่างประเทศ เพื่อประกอบการวางระบบ การจัดทามาตรฐานหรือหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ หรือของส่วนราชการ
(2) ศึกษา รวบรวม ตรวจสอบ และวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อประกอบการดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล
(3) ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อประกอบการกำหนดความต้องการและความจาเป็น ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล การวางแผนทางก้าวหน้าในอาชีพ การจัดหลักสูตรและการถ่ายทอดความรู้ การจัดสรรทุนการศึกษา และการดูแลนักเรียนทุนและบุคลากรภาครัฐในต่างประเทศ รวมถึงการวางแผน และเสนอแนะนโยบายหรือยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการและแผนการจัดสรรทุนการศึกษาและการฝึกอบรม
(4) ศึกษา รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์งาน เพื่อประกอบการกำหนดตำแหน่งและการวางแผนอัตรากาลังของส่วนราชการ
(5) ศึกษา รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อประกอบการวางหลักเกณฑ์การบริหารผลการปฏิบัติงาน และการบริหารค่าตอบแทน
(6) ศึกษา รวบรวม ตรวจสอบข้อมูล ถ้อยคา ข้อเท็จจริง เพื่อประกอบการดำเนินการ ทางวินัย การรักษาวินัยและจรรยา
(7) ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อพัฒนาระบบพิทักษ์คุณธรรม
(8) ดำเนินการเกี่ยวกับกระบวนการสรรหาและเลือกสรร เพื่อบรรจุและแต่งตั้งผู้มีความรู้ความสามารถให้ดำรงตำแหน่ง
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทางานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทางานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทางานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
เอกสารหมายเลข 1
-2-
4. ด้านการบริการ
(1) ให้คาแนะนำ ชี้แจง ตอบปัญหาเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน ข้าราชการ พนักงาน หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อสร้างความเข้าใจและสนับสนุนงานตามภารกิจของหน่วยงาน
(2) ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อสนับสนุนภารกิจ ของบุคคลหรือหน่วยงานและใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์และมาตรการต่าง ๆ
(3) ดำเนินการจัดสวัสดิการและการส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทางาน เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. เป็นผู้ขึ้นทะเบียนผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ระดับปริญญาตรีขึ้นไปของ ก.พ.
2. ได้รับปริญญาตรีหรือสูงกว่าหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา
หลักสูตรและวิธีการสอบ
1. ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง
ทดสอบความรู้ความสามารถ โดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ดังนี้
1) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ (100 คะแนน)
- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553
- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553
- พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๕๙
- ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
- การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- นโยบายรัฐบาลด้านการศึกษา
2) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ (100 คะแนน)
- หลักการ/แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลภาครัฐ
- การวางแผนและบริหารโครงการ
- กระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล
- ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544
- การบริหารงานบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือน
- วิปกครอง
- การรับผิดทางละเมิด
เอกสารหมายเลข 1
-3-
2. ความเหมาะสมกับตำแหน่ง
โดยวิธีการสอบสัมภาษณ์ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
ประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทางาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบ และจากการสัมภาษณ์ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคม และสิ่งแวดล้อม ความคิดสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอื่น เป็นต้น
และรวมถึงสมรรถนะหลัก สมรรถนะที่จาเป็นของตำแหน่ง
------------------------------------------------------
เอกสารหมายเลข 1
หน่วยที่ 3 ตำแหน่งนิติกรปฏิบัติการ
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทางาน ปฏิบัติงานด้านนิติการ ภายใต้การกากับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) เสนอความเห็นแก่ผู้บังคับบัญชาในการตอบข้อหารือหรือวินิจฉัยปัญหากฎหมายเกี่ยวกับ ระเบียบของทางราชการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการพิจารณา ของผู้บังคับบัญชา
(2) ศึกษา วิเคราะห์และวิจัยเพื่อปรับปรุงกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้ทันกับสถานการณ์และอานวยความสะดวกในการทางาน โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมและเป็นธรรม ต่อทุกฝ่าย
(3) ศึกษาข้อมูล รวบรวม แสวงหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เสนอความเห็นในการดำเนินการ เรื่องใดๆ ที่เกี่ยวกับวินัยข้าราชการ การร้องทุกข์ การพิทักษ์ระบบคุณธรรม รวมถึงการดำเนินการใดๆ ตามกฎหมายปกครองที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการและการดำเนินคดีของหน่วยงาน เพื่อใช้เป็นแนวทาง ในการปฏิบัติงานและสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทางานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทางานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานงานทางานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
ให้คาปรึกษาแนะนำด้านกฎหมายแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจ ในข้อกฎหมายที่เป็นปัญหา และให้ความรู้ถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์กับการดำเนินงานของบุคคล หรือหน่วยงานดังกล่าว
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. เป็นผู้ขึ้นทะเบียนผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ระดับปริญญาตรีขึ้นไปของ ก.พ.
2. ได้รับปริญญาตรีหรือสูงกว่าหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชานิติศาสตร์
เอกสารหมายเลข 1
-2-
หลักสูตรและวิธีการสอบ
1. ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง
ทดสอบความรู้ความสามารถ โดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ดังนี้
1) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ (100 คะแนน)
- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553
- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553
- พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๕๙
- ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
- การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- นโยบายรัฐบาลด้านการศึกษา
2) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ (100 คะแนน)
กฎหมายสารบัญญัติ
- หลักกฎหมายแพ่ง
- หลักกฎหมายอาญา กฎหมายวิธีสบัญญัติ
- กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง
- กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายมหาชน
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
- พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ. 2539 และพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
- วิธีการสอบสวน การดำเนินการทางวินัย อุทธรณ์ ร้องทุกข์ และร้องเรียนของข้าราชการพลเรือนสามัญและข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
2. ความเหมาะสมกับตำแหน่ง
โดยวิธีการสอบสัมภาษณ์ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
ประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทางาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบ และจากการสัมภาษณ์ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคม และสิ่งแวดล้อม ความคิดสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอื่น เป็นต้น
และรวมถึงสมรรถนะหลัก สมรรถนะที่จาเป็นของตำแหน่ง
--------------------------------------------------
เอกสารหมายเลข 1
หน่วยที่ 4 ตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทางาน ปฏิบัติงานด้านวิเคราะห์นโยบายและแผน ภายใต้การกากับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) รวบรวม วิเคราะห์ และประมวลนโยบายของรัฐบาลและสถานการณ์เศรษฐกิจการเมือง และสังคมทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนามาสรุปเสนอประกอบการกำหนดนโยบายและเป้าหมาย ของส่วนราชการ หรือนโยบาย แผนงาน และโครงการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหาร หรือความมั่นคง
(2) รวบรวมข้อมูลและศึกษาวิเคราะห์เบื้องต้น เกี่ยวกับภารกิจหลักและแผนกลยุทธ์ของส่วนราชการ หรือทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เพื่อวางแผนกำหนดแผนการปฏิบัติงานหรือโครงการให้สามารถบรรลุภารกิจที่กำหนดไว้
(3) วิเคราะห์นโยบายของส่วนราชการ หรือนโยบาย แผนงาน และโครงการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหาร หรือความมั่นคง และเสนอข้อคิดเห็น เพื่อช่วยจัดทาแผน การปฏิบัติงาน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
(4) สารวจ รวบรวม และประมวลผลข้อมูลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและประเด็นปัญหา ทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการจัดทาแผนงานหรือกำหนดยุทธศาสตร์
(5) ศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างยุทธศาสตร์และนโยบายของรัฐบาล เพื่อประกอบ การเสนอแนะแนวทางการประสานผลักดันยุทธศาสตร์และนโยบาย ตลอดจนการติดตามประเมินผล ให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทางานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทางานของหน่วยงานหรือโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทางานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
(1) รวบรวมข้อมูล เพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการจัดทาแผนงานโครงการ
(2) ให้คาปรึกษา แนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจงเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับงานนโยบายและแผน เพื่อแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน
เอกสารหมายเลข 1
-2-
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. เป็นผู้ขึ้นทะเบียนผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ระดับปริญญาตรีขึ้นไปของ ก.พ.
2. ได้รับปริญญาตรีหรือสูงกว่าหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา
หลักสูตรและวิธีการสอบ
1. ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง
ทดสอบความรู้ความสามารถ โดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ดังนี้
1) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ (100 คะแนน)
- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553
- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553
- พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๕๙
- ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
- การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- นโยบายรัฐบาลด้านการศึกษา
2) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ (100 คะแนน)
- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- ระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- นโยบายของรัฐบาล
- นโยบาย แผน ยุทธศาสตร์และงบประมาณ
- การจัดทาแผน โครงการ
- การวางแผน การบริหารโครงการและการบริหารงบประมาณ
- หลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
- พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557
2. ความเหมาะสมกับตำแหน่ง
โดยวิธีการสอบสัมภาษณ์ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
ประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทางาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบ และจากการสัมภาษณ์ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคม และสิ่งแวดล้อม ความคิดสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอื่น เป็นต้น
และรวมถึงสมรรถนะหลัก สมรรถนะที่จาเป็นของตำแหน่ง
----------------------------------------------------------
เอกสารหมายเลข 1
หน่วยที่ 5 ตำแหน่งนักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทางาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการศึกษา ภายใต้การกากับ แนะนำ ตรวจสอบและปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการการพัฒนางาน ด้านวิชาการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง
(2) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเบื้องต้น เพื่อประกอบการจัดทาข้อเสนอนโยบาย แผน มาตรฐานการศึกษา หลักสูตร แบบเรียน ตารา สื่อการเรียนการสอน สื่อการศึกษา การผลิตและพัฒนาสื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยี การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา
(3) จัดทาแผนงาน/โครงการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา
(4) ดำเนินการเกี่ยวกับงานทะเบียนและ เอกสารด้านการศึกษา รวมทั้งปรับปรุงให้ทันสมัยเพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงและให้การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา
(5) ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา เพื่อให้การจัดการศึกษามีคุณภาพและมาตรฐาน
(6) ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน กิจกรรมและสรุปผลด้านการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เพื่อพัฒนางานด้านการศึกษา
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทางานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทางานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทางานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้าง ความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
(1) จัดบริการส่งเสริมการศึกษา เช่น จัดนิทรรศการ กิจกรรม พิพิธภัณฑ์ทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ เพื่อให้การบริการความรู้และบริการทางด้านการศึกษาและวิชาชีพแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง
(2) ผลิตคู่มือ แนวทางการอบรม เอกสารทางวิชาการ รวมทั้งให้คาแนะนำปรึกษาเบื้องต้น แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษาและชุมชน ประชาชนทั่วไปเพื่อให้บริการความรู้แก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง และสะดวก
(3) ดำเนินการจัดการประชุมสัมมนาวิชาการนานาชาติ จัดประชุมอบรมและสัมมนาเกี่ยวกับ การแนะแนวการศึกษาและวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและให้แนวทางการศึกษาและแนวทาง การเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับบุคคลทั่วไป
เอกสารหมายเลข 1
-2-
(4) เผยแพร่การศึกษา เช่น จัดรายการวิทยุ โทรทัศน์ เขียนบทความ จัดทาวารสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เอกสารต่าง ๆ รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาอื่นๆ เพื่อให้ความรู้ด้านการศึกษา การแนะแนวการศึกษาและวิชาชีพอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. เป็นผู้ขึ้นทะเบียนผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ระดับปริญญาตรีขึ้นไปของ ก.พ.
2. ได้รับปริญญาตรีหรือสูงกว่าหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา
หลักสูตรและวิธีการสอบ
1. ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง
ทดสอบความรู้ความสามารถ โดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ดังนี้
1) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ (100 คะแนน)
- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553
- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553
- พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๕๙
- ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
- การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- นโยบายรัฐบาลด้านการศึกษา
2) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ (100 คะแนน)
- พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- การพัฒนาระบบและการบริหารจัดการภาครัฐ
- การติดตามและประเมินผล
- การวางแผนและบริหารโครงการ
- นโยบายของรัฐบาล
- การวิจัย
- การพัฒนาหลักสูตร
2. ความเหมาะสมกับตำแหน่ง
โดยวิธีการสอบสัมภาษณ์ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
ประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทางาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบ และจากการสัมภาษณ์ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคม และสิ่งแวดล้อม ความคิดสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอื่น เป็นต้น
และรวมถึงสมรรถนะหลัก สมรรถนะที่จาเป็นของตำแหน่ง
-------------------------------------------------------
เอกสารหมายเลข 1
หน่วยที่ 6 ตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทางาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการเงินและบัญชี ภายใต้การกากับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) จัดทาบัญชี เอกสารรายงานความเคลื่อนไหวทางการเงินทั้งเงินในและเงินนอกงบประมาณ เงินทุนหมุนเวียน เพื่อแสดงสถานะทางการเงินและใช้เป็นฐานข้อมูลที่ถูกต้องตามระเบียบวิธีการบัญชีของส่วนราชการ
(2) รวบรวมข้อมูล และรายงานการเงินของส่วนราชการ เพื่อพร้อมที่จะปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้อง และทันสมัย
(3) จัดทาและจัดสรรงบประมาณแก่หน่วยงานของรัฐเพื่อให้การจัดสรรงบประมาณตรงกับ ความจาเป็นและวัตถุประสงค์ของแต่ละหน่วยงาน
(4) ศึกษาวิเคราะห์ผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้การใช้จ่ายเงิน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดทาและจัดสรรงบประมาณ
(5) ดูแลการรับและจ่ายเงิน สถานะทางการเงิน ตรวจสอบเอกสารสำคัญการรับ-จ่ายเงิน เพื่อให้การรับ-จ่ายเงินขององค์กรมีประสิทธิภาพ การปฏิบัติการถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติของราชการ
(6) ถ่ายทอดความรู้ด้านการเงินและบัญชี แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เช่น ให้คาแนะนำในการปฏิบัติงาน วางโครงการกำหนดหลักสูตรและฝึกอบรม จัดทาคู่มือประจำสำหรับการฝึกอบรมและวิธีใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและข้อกำหนด
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทางานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทางานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทางานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
(1) ให้คาแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีที่ตนมีความรับผิดชอบ ในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนในได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์
(2) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทาสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทาฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานและใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่างๆ
เอกสารหมายเลข 1
-2-
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. เป็นผู้ขึ้นทะเบียนผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ระดับปริญญาตรีขึ้นไปของ ก.พ.
2. ได้รับปริญญาตรีหรือสูงกว่าหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
หลักสูตรและวิธีการสอบ
1. ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง
ทดสอบความรู้ความสามารถ โดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ดังนี้
1) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ (100 คะแนน)
- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553
- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553
- พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๕๙
- ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
- การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- นโยบายรัฐบาลด้านการศึกษา
2) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ (100 คะแนน)
- การปฏิบัติงานด้านการเงิน บัญชี และงบประมาณ ในระบบ GFMIS
- ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนาเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551
- ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- พระราชบัญญัติงบประมาณ
- พระราชบัญญัติงบประมาณ พ.ศ. 2557
- นโยบายรัฐบาล
2. ความเหมาะสมกับตำแหน่ง
โดยวิธีการสอบสัมภาษณ์ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
ประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทางาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบ และจากการสัมภาษณ์ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอื่น เป็นต้น
และรวมถึงสมรรถนะหลัก สมรรถนะที่จาเป็นของตำแหน่ง
--------------------------------------------------------
เอกสารหมายเลข 1
หน่วยที่ 7 ตำแหน่งวิศวกรโยธาปฏิบัติการ
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทางาน ปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมโยธา ภายใต้การกากับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) สารวจ ศึกษา วางแผน วิเคราะห์ วิจัย ออกแบบ คานวณ ประมาณราคา ควบคุมงานก่อสร้าง งานบารุง งานบูรณะซ่อมแซม งานอานวยความปลอดภัย งานผังเมืองหรืองานอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมโยธา และโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้เป็นไปตามหลักวิชาการ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(2) ตรวจสอบ แบบแปลน โครงสร้าง สภาพการใช้งานของอาคารหรือโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัย
(3) ควบคุม ดูแลการปฏิบัติงานสารวจ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้รูปแบบแผนที่ต่างๆ ที่ถูกต้อง
(4) ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนด กฎ ระเบียบ มาตรฐาน มาตรการ ที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมโยธา และโครงสร้างพื้นฐาน
(5) ศึกษา วิจัย และทดสอบวัสดุ ที่ใช้ในงานด้านวิศวกรรมโยธาและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้มี ความมั่นคงแข็งแรง ปลอดภัย และประหยัดงบประมาณ
(6) ตรวจสอบสัญญาก่อสร้าง บารุง บูรณะซ่อมแซมและอานวยความปลอดภัย รวมถึงการ แก้ไขสัญญางานวิศวกรรมโยธา เพื่อให้งานมีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนด
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทางานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทางานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทางานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
(1) ให้คาแนะนำ ชี้แจง ตอบปัญหาและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับงานวิศวกรรมโยธา และโครงสร้างพื้นฐานในความรับผิดชอบในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป เพื่อให้ได้ข้อมูลความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ รวมทั้งการมีส่วนร่วม
(2) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทาสถิติ ปรับปรุง จัดทาฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับงานวิศวกรรมโยธาและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานและใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ
เอกสารหมายเลข 1
-2-
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. เป็นผู้ขึ้นทะเบียนผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ระดับปริญญาตรีขึ้นไปของ ก.พ.
2. ได้รับปริญญาตรีหรือสูงกว่าหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมโยธา ทางวิศวกรรมโครงสร้าง ทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ทางวิศวกรรมสุขาภิบาล หรือทางวิศวกรรมชลประทาน และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามที่กฎหมายกำหนด
หลักสูตรและวิธีการสอบ
1. ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง
ทดสอบความรู้ความสามารถ โดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ดังนี้
1) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ (100 คะแนน)
- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553
- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553
- พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๕๙
- ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
- การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- นโยบายรัฐบาลด้านการศึกษา
2) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ (100 คะแนน)
- วิศวกรรมโยธา
- การจัดงานก่อสร้าง
- วิศวกรรมสารวจและออกแบบ
- การวิเคราะห์โครงสร้างและคอนกรีตเสริมเหล็ก
- พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
2. ความเหมาะสมกับตำแหน่ง
โดยวิธีการสอบสัมภาษณ์ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
ประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทางาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบ และจากการสัมภาษณ์ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคม และสิ่งแวดล้อม ความคิดสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอื่น เป็นต้น
และรวมถึงสมรรถนะหลัก สมรรถนะที่จาเป็นของตำแหน่ง
----------------------------------------------------
เอกสารหมายเลข 1
หน่วยที่ 8 ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จาเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านธุรการ สารบรรณ หรือบริการทั่วไป ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอนและวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกากับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ปฏิบัติงานธุรการ งานสารบรรณ งานบริการทั่วไป เช่น การรับส่ง ลงทะเบียน ร่างหนังสือโต้ตอบ จัดเตรียมการประชุม การบันทึกข้อมูล เพื่อสนับสนุนให้งานต่างๆ ดำเนินไปได้โดยสะดวกราบรื่นและมีหลักฐานตรวจสอบได้
(2) รวบรวมข้อมูล จัดเก็บข้อมูลสถิติ เอกสาร หลักฐานหนังสือ ตามระเบียบวิธีปฏิบัติเพื่อสะดวก ต่อการค้นหาและเป็นหลักฐานทางราชการ
(3) ดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุ ครุภัณฑ์ของสำนักงานเพื่อให้มีอุปกรณ์ที่มีคุณภาพไว้ใช้งาน และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
(4) รวบรวมรายงานผลการปฏิบัติงานและข้อมูลต่างๆ นาเสนอต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อนำไปใช้เสนอแนะและปรับปรุงการปฏิบัติงานต่อไป
2. ด้านการบริการ
(1) ติดต่อประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกันหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความราบรื่น
(2) ให้บริการข้อมูลแก่ผู้มาติดต่อราชการ เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
(3) ผลิตเอกสารต่างๆ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงานและปฏิบัติหน้าที่อื่น ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. เป็นผู้ขึ้นทะเบียนผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ขึ้นไปของ ก.พ.
2. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ในสาขาวิชาการจัดการทั่วไป สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาการเลขานุการ สาขาวิชาการบัญชี และสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
เอกสารหมายเลข 1
-2-
หลักสูตรและวิธีการสอบ
1. ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง
ทดสอบความรู้ความสามารถ โดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ดังนี้
1) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ (100 คะแนน)
- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553
- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553
- พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๕๙
- ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
- การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- นโยบายรัฐบาลด้านการศึกษา
2) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ (100 คะแนน)
- ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548)
- การจัดการงานสำนักงาน
- การใช้คอมพิวเตอร์
- ระเบียบว่าด้วยการพัสดุ
- ระเบียบว่าด้วยการพัสดุอีเล็คทรอนิกส์
- นโยบายของรัฐบาล
2. ความเหมาะสมกับตำแหน่ง
โดยวิธีการสอบสัมภาษณ์ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
ประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทางาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบ และจากการสัมภาษณ์ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคม และสิ่งแวดล้อม ความคิดสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอื่น เป็นต้น
และรวมถึงสมรรถนะหลัก สมรรถนะที่จาเป็นของตำแหน่ง
--------------------------------------------------------
เอกสารหมายเลข 1
หน่วยที่ 9 ตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จาเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจนภายใต้การกากับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) จัดทาและปฏิบัติงานด้านเอกสารทางการเงินและบัญชีในระดับต้น เพื่อให้งานเป็นไป ตามเป้าหมายที่กำหนด
(2) รวบรวมรายละเอียดการจัดทางบประมาณ เพื่อใช้ประกอบในการทางบประมาณประจำปี ของหน่วยงาน
(3) ตรวจสอบและดูความถูกต้องของเอกสารสำคัญทางการเงิน เพื่อให้เกิดความถูกต้องในการปฏิบัติงาน
(4) ประสานงานในระดับฝ่ายหรือกลุ่มกับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือและร่วมมือในงานและแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทางานของหน่วยงาน
2. ด้านการบริการ
(1) ให้คาแนะนำ ตอบปัญหา ชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชนทั่วไป เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความชานาญแก่ผู้ที่สนใจ
(2) ประสานงานในระดับกลุ่มกับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไปเพื่อขอความช่วยเหลือ และความร่วมมือในงานการเงินและบัญชี และแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทางาน ของหน่วยงาน
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. เป็นผู้ขึ้นทะเบียนผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ขึ้นไปของ ก.พ.
2. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชา การจัดการทั่วไป สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร สาขาวิชาการตลาด
เอกสารหมายเลข 1
-2-
หลักสูตรและวิธีการสอบ
1. ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง
ทดสอบความรู้ความสามารถ โดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ดังนี้
1) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ (100 คะแนน)
- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553
- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553
- พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๕๙
- ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
- การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- นโยบายรัฐบาลด้านการศึกษา
2) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ (100 คะแนน)
- การปฏิบัติงานด้านการเงินบัญชี และงบประมาณในระบบ GFMIS เบื้องต้น
- ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงิน และการนาเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551
- ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- พระราชบัญญัติงบประมาณ
- พระราชบัญญัติงบประมาณ พ.ศ. 2557
- นโยบายของรัฐบาล
2. ความเหมาะสมกับตำแหน่ง
โดยวิธีการสอบสัมภาษณ์ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
ประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทางาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบ และจากการสัมภาษณ์ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคม และสิ่งแวดล้อม ความคิดสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอื่น เป็นต้น
และรวมถึงสมรรถนะหลัก สมรรถนะที่จาเป็นของตำแหน่ง
-------------------------------------------------------
เอกสารหมายเลข 1
หน่วยที่ 10 ตำแหน่งเจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จาเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานพัสดุ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกากับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ปฏิบัติงานขั้นต้นเกี่ยวกับงานพัสดุในการจัดหา จัดซื้อ ว่าจ้าง การเก็บรักษา นำส่ง การซ่อมแซม และบารุงรักษาพัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อให้อยู่ในสภาพดีพร้อมต่อการใช้งาน
(2) ทาทะเบียนการเบิกจ่ายพัสดุ การเก็บรักษาใบสำคัญหลักฐานและเอกสารเกี่ยวกับพัสดุ เพื่อรวบรวมไว้เป็นข้อมูลในการดำเนินงาน
(3) ร่างและตรวจซื้อสัญญาซื้อ สัญญาจ้าง หนังสือโต้ตอบ บันทึกย่อเรื่องเกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินงาน
(4) รายงาน สรุปความเห็นเกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อจัดทารายงานและนาเสนอผู้บังคับบัญชา ในหน่วยงาน
(5) ศึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับระเบียบงานพัสดุ เพื่อร่วมพัฒนาให้ระเบียบการปฏิบัติงาน มีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น
(6) ชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับงานพัสดุให้การปฏิบัติงานมีความโปร่งใสตรวจสอบได้
2. ด้านการบริการ
(1) ให้คาแนะนำเกี่ยวกับระเบียบและวิธีการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบแก่ผู้ร่วมงาน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเข้าใจอันดีในการปฏิบัติงานและให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วง
(2) ประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกัน ต่างหน่วยงานหรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้บริการหรือขอความช่วยเหลือในด้านที่ตนรับผิดชอบ
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. เป็นผู้ขึ้นทะเบียนผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ขึ้นไปของ ก.พ.
2. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ในสาขาวิชาการจัดการทั่วไป สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาการเลขานุการ และสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
เอกสารหมายเลข 1
-2-
หลักสูตรและวิธีการสอบ
1. ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง
ทดสอบความรู้ความสามารถ โดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ดังนี้
1) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ (100 คะแนน)
- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553
- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553
- พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๕๙
- ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
- การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- นโยบายรัฐบาลด้านการศึกษา
2) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ (100 คะแนน)
- ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549
- การจัดการพัสดุ
- การบริหารจัดการภาครัฐ
- นโยบายของรัฐบาล
2. ความเหมาะสมกับตำแหน่ง
โดยวิธีการสอบสัมภาษณ์ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
ประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทางาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบและจากการสัมภาษณ์ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคม และสิ่งแวดล้อม ความคิดสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอื่น เป็นต้น
และรวมถึงสมรรถนะหลัก สมรรถนะที่จาเป็นของตำแหน่ง
----------------------------------------------------------
Pages: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29
Pages: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29
Pages: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29
Pages: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29
Pages: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29
Pages: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29
Pages: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29
Pages: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29
Pages: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29
Pages: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29
Pages: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29
Pages: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29
Pages: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29
Pages: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29
Pages: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29
Pages: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29
Pages: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29
Pages: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29
Pages: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29
Pages: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29
Pages: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29
Pages: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29
Pages: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29
Pages: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29
Pages: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29
Pages: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29
Pages: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29
Pages: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29
Pages: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29
Pages: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น