ฝากประชาสัมพันธ์

ฝากประชาสัมพันธ์

ข่าวงานราชการเปิดสอบ 2562-2563

ค้นหา

ติดตามข่าวงานราชการที่นี่งานมากที่สุด

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

แบ่งเขต..สอบท้องถิ่น 2556 เขตใดสถิตย์แน่นในหัวใจเธอ??

เกี่ยวกับการสอบท้องถิ่นที่การประชุมครั้งล่าสุดเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม ที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่ามหาวิทยาลัยใดจะเป็นผู้ออกข้อสอบ ระหว่างมหาวิทยาลัยรามคำแหง หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต ซึ่งในเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงเสนอให้จัดสอบที่ส่วนกลางทั้งหมด เนื่องจากกังวลเรื่องการทุจริตในการจัดสอบซึ่งก็คงหมายถึงความไม่มั่นใจว่าหลังจากข้อสอบเดินทางไปยังศูนย์สอบแล้วจะยังคงเป็นความลับเหมือนกับก่อนการเดินทาง แต่หากจะยังคงการจัดสอบแบบแบ่งเขตเหมือนเดิมก็ขอให้มหาวิทยาลัยอื่นเป็นผู้ออกข้อสอบแทน ซึ่งก็หมายถึงมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต แต่ทั้งนี้ทางคณะกรรมการฯ ก็มีความกังวลเกี่ยวกับความสะดวกในการเดินทางของผู้เข้าสอบ
มาถึงปัจจุบันได้ยินเสียงเล่ากันว่า..สรุปแล้ว มหาวิทยาลัยรามคำแหงจะยังคงเป็นผู้ออกข้อสอบเช่นเดิม และให้มีการจัดสอบแบบแบ่ง/เขต แต่ให้ กสถ. ดูแลรับผิดชอบเรื่องการป้องกันการทุจริตในการสอบ
มาถึงขั้นตอนนี้แล้วสิ่งหนึ่งที่มั่นใจได้แน่นอนที่สุดในตอนนี้ก็คือ..เปิดรับสมัครสอบแน่นอน ลองสรุปรายละเอียดนะครับ
หากยังคงยึดหลักการสอบแบบแบ่งภาค/เขต ตามที่ กสถ. กำหนดไว้เดิมจะมีการแบ่งเขตดังนี้
การสอบท้องถิ่น แบบแบ่งภาค/เขต ตามหลักเกณฑ์ฯ บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น (กสถ.) ประกอบด้วยจังหวัดในกลุ่มภาค/เขต ดังนี้

  1. ภาคกลางเขต ๑ ได้แก่
    1. ๑.จังหวัดชัยนาท 
    2. ๒.จังหวัดนนทบุรี 
    3. ๓.จังหวัดปทุมธานี 
    4. ๔.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 
    5. ๕.จังหวัดลพบุรี 
    6. ๖.จังหวัดสระบุรี 
    7. ๗.จังหวัดสิงห์บุรี 
    8. ๘.จังหวัดอ่างทอง
  2. ภาคกลางเขต ๒ ได้แก่
    1. ๑.จังหวัดจันทบุรี 
    2. ๒.จังหวัดฉะเชิงเทรา 
    3. ๓.จังหวัดชลบุรี 
    4. ๔.จังหวัดตราด 
    5. ๕.จังหวัดนครนายก 
    6. ๖.จังหวัดปราจีนบุรี 
    7. ๗.จังหวัดระยอง 
    8. ๘.จังหวัดสมุทรปราการ 
    9. ๙.จังหวัดสระแก้ว
  3. ภาคกลางเขต ๓ ได้แก่
    1. ๑.จังหวัดกาญจนบุรี 
    2. ๒.จังหวัดนครปฐม 
    3. ๓.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 
    4. ๔.จังหวัดเพชรบุรี 
    5. ๕.จังหวัดราชบุรี 
    6. ๖.จังหวัดสมุทรสงคราม 
    7. ๗.จังหวัดสมุทรสาคร 
    8. ๘.จังหวัดสุพรรณบุรี
  4. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเขต ๑ ได้แก่
    1. ๑.จังหวัดกาฬสินธุ์ 
    2. ๒.จังหวัดขอนแก่น 
    3. ๓.จังหวัดชัยภูมิ 
    4. ๔.จังหวัดนครราชสีมา 
    5. ๕.จังหวัดบุรีรัมย์
    6. ๖.จังหวัดมหาสารคาม
  5. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต ๒ ได้แก่
    1. ๑.จังหวัดมุกดาหาร 
    2. ๒.จังหวัดยโสธร 
    3. ๓.จังหวัดร้อยเอ็ด 
    4. ๔.จังหวัดศรีสะเกษ 
    5. ๕.จังหวัดสุรินทร์ 
    6. ๖.จังหวัดอำนาจเจริญ 
    7. ๗.จังหวัดอุบลราชธานี
  6. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเขต ๓ ได้แก่
    1. ๑.จังหวัดนครพนม 
    2. ๒.จังหวัดบึงกาฬ 
    3. ๓.จังหวัดเลย 
    4. ๔.จังหวัดสกลนคร 
    5. ๕.จังหวัดหนองคาย 
    6. ๖.จังหวัดหนองบัวลำภู 
    7. ๗.จังหวัดอุดรธานี
  7. ภาคเหนือเขต ๑ ได้แก่
    1. ๑.จังหวัดชียงราย 
    2. ๒.จังหวัดเชียงใหม่ 
    3. ๓.จังหวัดน่าน 
    4. ๔.จังหวัดพะเยา 
    5. ๕.จังหวัดแพร่ 
    6. ๖.จังหวัดแม่ฮ่องสอน 
    7. ๗.จังหวัดลำปาง 
    8. ๘.จังหวัดลำพูน
  8. ภาคเหนือเขต ๒ ได้แก่
    1. ๑.จังหวัดกำแพงเพชร 
    2. ๒.จังหวัดตาก 
    3. ๓.จังหวัดนครสวรรค์ 
    4. ๔.จังหวัดพิจิตร 
    5. ๕.จังหวัดพิษณุโลก 
    6. ๖.จังหวัดเพชรบูรณ์ 
    7. ๗.จังหวัดสุโขทัย 
    8. ๘.จังหวัดอุตรดิตถ์ 
    9. ๙.จังหวัดอุทัยธานี
  9. ภาคใต้ เขต ๑ ได้แก่
    1. ๑.จังหวัดกระบี่ 
    2. ๒.จังหวัดชุมพร 
    3. ๓.จังหวัดนครศรีธรรมราช 
    4. ๔.จังหวัดพังงา 
    5. ๕.จังหวัดภูเก็ต 
    6. ๖.จังหวัดระนอง 
    7. ๗.จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  10. ภาคใต้ เขต ๒ ได้แก่
    1. ๑.จังหวัดตรัง 
    2. ๒.จังหวัดนราธิวาส 
    3. ๓.จังหวัดปัตตานี 
    4. ๔.จังหวัดพัทลุง 
    5. ๕.จังหวัดยะลา 
    6. ๖.จังหวัดสงขลา 
    7. ๗.จังหวัดสตูล
หลายท่านที่เพิ่งติดตามคงสงสัยว่า การจัดสอบแบบนี้แตกต่างอย่างไรกับการที่ อปท. ทั้งหลายเปิดสอบกันเอง ขอสรุปสั้นๆ ดังนี้
ในการจัดสอบท้องถิ่นในปัจจุบันตามประกาศที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นออกมาเมื่อปีที่แล้ว จะมีการแบ่งเป็น 2 แบบ คือ
1. ส่วนท้องถิ่น จัดสอบเอง หมายความว่า อบต. เทศบาล อบจ. จัดสอบกันเอง ผู้สอบผ่านจะได้ขึ้นบัญชีรอเรียกบรรจุแต่จะใช้ได้เฉพาะที่ อบต. อบจ. เทศบาล ที่จัดสอบเท่านั้น อปท.อื่นๆ แม้ในจังหวัดเดียวกันก็จะมาขอใช้บัญชีไม่ได้ อันนี้ก็มีเรื่องเล่ามาว่าเป็นผลสืบเนื่องมาจากสมัยหนึ่งในการสอบท้องถิ่น ไม่ว่าจะจังหวัดใด อบต. อบจ. เทศบาล ใด ก็สามารถขอยืมบัญชีใช้กันได้ทั่วไปประเทศ สอบได้ที่ อบต.หนึ่งใน จ.กาฬสินธุ์ แต่ไปบรรจุที่ อบต.หนึ่งใน จ.นครศรีธรรมราช อะไรประมาณนี้ ก็บังเกิดธุรกิจประเภทหนึ่งคือการวิ่งเต้นเรียกรับเงินกับผู้ที่สอบผ่านได้ขึ้นบัญชีรอเรียกฯ แต่ละลำดับ เพื่อให้หน่วยงานส่วนท้องถิ่นที่ไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการจัดสอบขอใช้บัญชีข้ามเขตข้ามจังหวัดกัน ทั้งยังมีผู้สอบที่ได้ลำดับก่อนขอต่อรองเพื่อรับเงินเป็นค่าตอบแทนการเซ็นต์สละสิทธิ์ให้ข้ามลำดับตนเอง ให้คนที่ได้ลำดับหลังตนบรรจุไปก่อน ทางกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น จึงออกประกาศห้ามใช้บัญชีรายชื่อผู้สอบผ่านรอเรียกบรรจุเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่น หรือ ข้าราชการส่วนท้องถิ่น ข้ามจังหวัด ข้ามเขต จริงเท็จอย่างไรต้องไปค้นกันเอาเองนะครับ ผมเน้นว่า..เป็นเรื่องเล่าบอกต่อกันมา ^^
2. กสถ. เป็นผู้ดำเนินการจัดสอบแทน แบ่งการจัดสอบเป็นภาค/เขต โดยแต่ละภาคจะมี 1-2 เขต และจะมี 6-9 จังหวัด ในแต่ละเขต โดยจังหวัดที่เป็นตัวแทนของเขตที่ดำเนินการจัดสอบ หรือเป็นศูนย์สอบ ถือบัญชีรายชื่อผู้สอบผ่านรอรับการบรรจุแล้วให้ อปท. ภายในเขตใช้บัญชีร่วมกัน แต่ห้ามข้ามเขต เช่น ภาคใต้เขต 2 จังหวัดสงขลาเป็นตัวแทนในการจัดสอบ ทางจังหวัดสงขลาก็จะเป็นผู้ถือบัญชีรายชื่อผู้สอบผ่านแล้วให้จังหวัด ตรัง นราธิวาส ปัตตานี พัทลุง ยะลา สงขลา สตูล ใช้บัญชีร่วมกัน แต่จังหวัดเชียงใหม่ หรือจังหวัดขอนแก่นจะมาขอใช้บัญชีที่จังหวัดสงขลาไม่ได้เพราะไม่ได้เป็นจังหวัดภายในเขตเดียวกัน ส่วนเรื่องสิทธิ์ในการเลือก สามารถเลือกเขตสอบได้แน่นอน แต่ไม่ได้ระบุไว้ในประกาศว่าสามารถเลือกจังหวัดที่จะบรรจุได้หรือไม่
จะพยายามเอาเรื่องราวสาระที่เกี่ยวข้องกับการสอบท้องถิ่น ที่คิด(เอาเอง)ว่าน่าจะมีประโยชน์สำหรับท่านที่ติดตาม หากมีความผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนอย่างไรแนะนำกันได้นะครับ ^^

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น