ฝากประชาสัมพันธ์

ฝากประชาสัมพันธ์

ข่าวงานราชการเปิดสอบ 2562-2563

ค้นหา

ติดตามข่าวงานราชการที่นี่งานมากที่สุด

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

กรมบัญชีกลาง บัดนี้ - นำร่องใช้ e-Market และ e-Bidding แทน e-auction กับส่วนราชการ 12 แห่ง 1 ม.ค. 58


"กรมบัญชีกลาง"


ลิงค์: http://iqepi.com/19115/ หรือ
เรื่อง: นำร่องใช้ e-Market และ e-Bidding แทน e-auction กับส่วนราชการ 12 แห่ง 1 ม.ค. 58
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**




---

ในส่วนนี้บางทีหากออกสอบในหัวข้อของเหตุการณ์ปัจจุบัน เข้าใจว่าจะมีบางคนอาจจะตอบว่าการจัดซื้อจัดจ้างในหน่วยงานราชการยังใช้ระบบ e-auction ก็ให้ทราบไว้ว่าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 จะเปลี่ยนมาใช้ระบบ e-market และ e-bidding หลังทดลองใช้มาแล้ว 12 แห่งตั้งแต่ 1 พ.ย. 2557 และเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 57 พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประชุม ครม. เห็นชอบแนวทางปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ ด้วยการนำ ระบบ e-Market มาใช้แทนระบบเดิม ซึ่งตามข้อมูลหลังจากนี้ทางกรมบัญชีกลางก็จะ เสนอยกเลิกระบบเดิมทั้ง 2 ฉบับ คือ ระเบียบพัสดุปี 2535 และ ระเบียบ e-Auction ปี 2549 จากนั้นก็จะออกระบบใหม่

กรมบัญชีกลางพร้อมเดินหน้านำระบบ e-Market และ e-Bidding มาแทน e-Auction ในการจัดซื้อจัดจ้าง เริ่มใช้ทดลองนำร่องกับส่วนราชการ 12 แห่ง ตั้งแต่ 1 มกราคม 2558 ลดปัญหาการฮั้วราคากันเองระหว่างภาคเอกชนที่เข้าร่วมประมูล


29 พ.ย. 2557 สำนักข่าวไทยรายงาน ว่านายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า หลังจาก ครม. เห็นชอบแนวทางปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ ด้วยการนำ ระบบ e-Market มาใช้แทนระบบเดิม ด้วยการให้เอกชนที่ผลิตหรือขายสินค้าประเภทต่างๆ นำราคาสินค้ามาขึ้นบนเว็บไซต์ของกรมบัญชีกลาง เช่น สินค้าคุรุภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ หนังสือ ดิน สอ โต๊ะ ตู้เอกสาร นับหลายพันชนิดที่ใช้ในสำนักงาน เพื่อมเสนอราคาขายสินค้าผ่านระบบ e-Market  และให้หน่วยงานราชการเข้ามาดูและเปรียบเทียบราคาและใช้เป็นแหล่งอ้างอิง เพื่อใช้เปรียบเทียบระหว่างหน่วยงานรัฐในการจัดซื้อสินค้าประเภทเดียวกัน เพื่อไม่ให้ราคาสินค้าเกิดความแตกต่างกันมากเกินไปสำหรับการลงทุนที่มีความ ซับซ้อนมากขึ้นเป็นกรณีพิเศษ ในการจัดจ้างบริการด้านต่างๆ แก่หน่วยงาน การสร้างงานศิลปะ ให้นำระบบ e-Bidding  เพื่อให้หน่วยงานราชการเสนอความต้องการในสินค้าและบริการเพื่อให้บริษัท เอกชนเข้ามารับจ้างผลิตสินค้า เพื่อเป็นฐานข้อมูลในอนาคต เพื่อนำมาทดแทนระบบ e-Auction หลังลดปัญหาการฮั้วราคากันเองระหว่างภาคเอกชนที่เข้าร่วมประมูล  เพื่อไม่ให้ผู้ร่วมประมูลได้เจอหน้ากันทั้งส่วนราชการและผู้ประมูล โดยประมูลผ่านระบบของกรมบัญชีกลาง ขณะที่ระบบเดิมจะทำการประมูล e-Auction ผ่านตลาดตัวกลางจากบุคคลภายนอก ในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เตรียมเสนอรัฐบาลให้ใช้ประมูลในลักษณะเดียวกันด้วย เพราะเป็นหน่วยงานภาครัฐเหมือนกัน

สำหรับการเริ่มนำระบบ e-Market และระบบ e-Bidding  ให้เริ่มใช้ทดลองนำร่องกับส่วนราชการ 12 แห่ง ตั้งแต่ 1 มกราคม 2558 โดยเป็นส่วนราชการในสังกัดกระทรวงการคลัง 9 แห่ง ได้แก่

  1. สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง

  2. สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

  3. กรมธนารักษ์

  4. กรมศุลกากร

  5. กรมสรรพสามิต

  6. กรมสรรพากร

  7. กรมบัญชีกลาง

  8. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ

  9. สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ


โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 3 แห่ง ได้แก่

  1. โรงพยาบาลเลิดสิน

  2. โรงพยาบาลราชวิถี

  3. สถาบันโรคทรวงอก


โดยเร่งใช้กับสินค้านำร่องซึ่งเป็นวัสดุสำนักงาน 5 ประเภท ได้แก่

  1. กระดาษถ่ายเอกสาร

  2. ผงหมึก

  3. ตลับหมึก

  4. แฟ้มเอกสาร

  5. เทปกาว

  6. ซองเอกสาร

  7. ยารักษาโรค 2 ชนิด ได้แก่ ยารักษาโรคอัลไซเมอร์ และยารักษาโรคเบาหวาน


ทั้งนี้เพื่อให้ขยายโครงการดังกล่าวไปยังส่วนราชการอื่นเพิ่มเติมเพื่อให้ เป็นมาตรฐานเดียวกัน

ย่อๆ กับ e-market และ e-bidding


คณะรัฐมนตรี อนุมัติการจัดหาพัสดุด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Market: e-market) และด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bidding: e-bidding) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เนื่องจากแนวทางเดิมที่เคยใช้ระบบ e-auction (ระบบการจัดซื้อ-จัดจ้างภาครัฐทางอิเล็กทรอนิกส์) มีขั้นตอนล่าช้า เน้นราคาต่ำเป็นหลัก ไม่ได้พิจารณาคุณภาพ โดยจะให้คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) กำหนดส่วนราชการนำร่องเพื่อให้ดำเนินการ

โดยมีแนวทางการจัดซื้อจัดจ้างแบบใหม่ ผ่านระบบ e-market มีขั้นตอนการเสนอราคาโดยใบเสนอราคา (Request For Quotation: RFQ) ครั้งหนึ่งมีราคาเกิน 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 5,000,000 บาท ซึ่งผู้เสนอราคาสามารถเสนอราคาผ่านระบบ e–GP ในวันและเวลาทำการที่ส่วนราชการกำหนด เมื่อถึงกำหนดวันเสนอราคา ผู้เสนอราคาสามารถเสนอราคาได้เพียงครั้งเดียวโดยผู้เสนอราคาต่ำสุดเป็นผู้ชนะการเสนอราคา หากมีผู้เสนอราคาต่ำสุดเท่ากันหลายราย ให้พิจารณาผู้เสนอราคารายต่ำสุดที่เสนอราคาเข้ามาในระบบ e–GP ลำดับแรกเป็นผู้ชนะการเสนอราคาครั้งนั้น

*e-GP คือ ศูนย์กลางที่เป็นหน้าต่างในการบริการข้อมูล และดำเนินธุรกรรมทางการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์


ส่วนการเสนอราคา โดยการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ การจัดหาพัสดุครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน 5,000,000 บาท ซึ่งผู้เสนอราคาสามารถเสนอราคาผ่านระบบ e–GP ในวันและเวลาทำการที่ส่วนราชการกำหนด เมื่อถึงกำหนดวันเสนอราคา ผู้เสนอราคาสามารถเสนอราคาได้หลายครั้งภายในเวลา 30 นาที ผู้ที่เสนอราคาต่ำสุดจะมีสัญลักษณ์ปรากฏบนหน้าจอ ในกรณีมีผู้เสนอราคาต่ำสุดเท่ากันหลายรายให้พิจารณาผู้เสนอราคารายต่ำสุดที่เสนอราคาเข้ามาในระบบ e–GP ลำดับแรกเป็นผู้ชนะการเสนอราคาครั้งนั้นเช่นกัน

ส่วนการประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ผู้เสนอราคาสามารถเสนอราคาผ่านระบบ e–GP ในวันและเวลาทำการที่ส่วนราชการกำหนด ซึ่งหลักเกณฑ์การพิจารณาผู้เสนอราคาที่ชนะการเสนอราคานั้น ส่วนราชการสามารถกำหนดหลักเกณฑ์ได้ 2 ลักษณะ คือ 1. หลักเกณฑ์ราคา (price) การตัดสินผู้ชนะการเสนอราคาตัดสินจากผู้ที่เสนอราคารายต่ำสุด กรณีมีผู้เสนอราคารายต่ำสุดเท่ากันหลายรายให้พิจารณาผู้เสนอราคารายต่ำสุดที่เสนอราคาเข้ามาในระบบ e–GP ก่อนเป็นผู้ชนะการเสนอราคาครั้งนั้น

*ทางกรมบัญชีกลางได้พัฒนาระบบ e-GP ต่อเนื่องมาถึงระยะที่ 3 แล้ว โดยเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ครบวงจร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดซื้อจัดจ้าง และมีเป้าหมายเพิ่มความโปร่งใส สะดวกต่อการตรวจสอบ ลดปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ลดความผิดพลาดในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ กระตุ้นให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม และลดปัญหาการฮั้วได้ในระดับหนึ่ง เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และกระทรวงการคลัง (ข่าวแจกจากกรมบัญชีกลาง วันที่ 16 ต.ค.57)

หลักเกณฑ์ข้อที่ 2. การประเมินค่าประสิทธิภาพต่อราคา (price performance) เป็นเกณฑ์การพิจารณาค่าประสิทธิภาพต่อราคา ในกรณีที่ส่วนราชการเห็นว่า คุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่จะจัดหานั้น มิใช่พิจารณาจากพัสดุโดยใช้เกณฑ์ราคาเพียงอย่างเดียว แต่ควรจะนำการประเมินค่าประสิทธิภาพมาเปรียบเทียบกับราคาเป็นสำคัญ อันจะทำให้ส่วนราชการได้พัสดุที่มีคุณภาพดี โดยการตัดสินผู้ชนะการเสนอราคาจากผู้ที่มีคะแนนรวมสูงสุด มิใช่พิจารณาจากผู้เสนอราคารายต่ำสุดกรณีมีผู้เสนอราคา หากได้คะแนนสูงสุดเท่ากันหลายราย ให้พิจารณาคัดเลือกผู้เสนอราคาที่ได้คะแนนสูงสุดในตัวแปรหลักที่มีน้ำหนักมากที่สุดเป็นผู้ชนะการเสนอราคา และให้พิจารณาคัดเลือกผู้เสนอราคาที่เข้ามาในระบบ e–GP ในลำดับแรกเป็นผู้ชนะการเสนอราคา

ระบบ e-market และ ระบบ e-bidding ทัง้สองระบบดังกล่าวจะเน้นให้หน่วยงานภาครัฐสามารถจัดหาพัสดุให้สอดคล้องกับรูปแบบ ประเภทสินค้า เงินงบประมาณที่ได้รับ และระยะเวลาที่จัดหา เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในราคาที่เหมาะสมและทันเวลาที่ต้องการใช้งาน ส่วนผู้ค้าภาครัฐจะสามารถจัดซื้อจัดจ้างได้สะดวกและเท่าเทียมกัน และเป็นการพัฒนาสินค้าและบริการให้มีความเป็นมาตรฐาน รวมทั้งสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้ภาคธุรกิจของประเทศไทย

วิธีการสมัครงาน  กรมบัญชีกลาง :ตนเอง

คู่มือ โปรแกรมสาธิต และการแก้ปัญหาระบบงาน e-GP คลิกที่นี่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น