ฝากประชาสัมพันธ์

ฝากประชาสัมพันธ์

ข่าวงานราชการเปิดสอบ 2562-2563

ค้นหา

ติดตามข่าวงานราชการที่นี่งานมากที่สุด

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

"ประยุทธ์" สั่ง บัดนี้ - ขยายสมัคร ผู้ประกันตน ม.40

ประยุทธ์

" "ประยุทธ์" สั่ง"


ลิงค์: http://iqepi.com/20040/ หรือ
เรื่อง: ขยายสมัคร ผู้ประกันตน ม.40
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**




---



พ่อแก่-แม่เฒ่า เฮลั่น "ประยุทธ์" สั่ง "บิ๊กเต่า" ขยายสมัคร ผู้ประกันตน ม.40 เป็นของขวัญปีใหม่ เร่งแก้ ก.ม.เปิดรับสมัครใหม่ 10 วัน หลังคนโวยไม่รู้ข่าว ทำอดใช้สิทธิสะสมเงินออม รมว.แรงงาน ยัน ไม่ได้อ่อน ปชส. โบ้ยโครงการเกิดมาก่อนเป็นรัฐมนตรี สรุปยอดสมัครพุ่งกว่า 2.2 ล้านคน

เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รมว.แรงงาน กล่าวว่า การเปิดรับสมัครผู้ประกันตน มาตรา 40 อายุ 60 ปีขึ้นไปในวันสุดท้าย เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. มีผู้สูงอายุสมัครเป็นจำนวนมาก มีกระแสเรียกร้องให้ขยายเวลารับสมัคร แต่ยังไม่ทราบว่าจะทำได้หรือไม่ ถ้ามีการขยายจะต้องแก้ไขพระราชกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง มีคนถามตนว่า ทำไมไม่ประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง จึงต้องชี้แจงว่า เรื่องนี้ทำมาก่อนที่ตนมาเป็นรัฐมนตรี แต่ลักษณะนิสัยคนไทยชอบมาในช่วงวันสุดท้าย

ส่วนผู้ประกันตนมาตรา 40 ในอนาคตจะรวมเป็นเนื้อเดียวกับกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) หรือไม่ ก็ต้องมีการศึกษา หากรวมกันแล้วดีก็ควรรวมกัน แต่หากรวมแล้วไม่ดีก็ควรแยก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในเวลา 16.00 น. นางปราณิน มุตตาหารัช เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยหลังเดินทางเข้าพบ พล.อ.สุรศักดิ์ ที่กระทรวงแรงงาน ว่า หลังปิดรับสมัครผู้ประกันตนมาตรา 40 สำหรับผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี ไปเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. ที่ผ่านมา มีประชาชนให้ความสนใจสมัครเข้ามาเป็นจำนวนมาก และมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถสมัครได้ทันภายในระยะเวลากำหนด

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้กระทรวงแรงงานไปดำเนินการแก้พระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคล ซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. 2554 (มาตรา 40) เพื่อขยายระยะเวลาการเปิดรับสมัครผู้ประกันตนมาตรา 40 ให้กับประชาชนที่มีอายุเกิน 60 ปี ที่ตกค้างไม่สามารถสมัครได้ทันภายในวันที่ 8 ธ.ค. ได้หารือกับฝ่ายกฎหมายและได้แจ้งว่า จะขยายระยะเวลาการรับสมัครให้อีก 10 วัน ภายหลังการแก้ไข พ.ร.ฎ. เสร็จสิ้น ทั้งนี้ จะดำเนินการให้เรียบร้อยก่อนปีใหม่ เพื่อเป็นของขวัญให้ประชาชน

ด้านนายนคร ศิลปอาชา ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด) สปส. กล่าวว่า มาตรา 40 โดยเฉพาะทางเลือกที่ 3 ต้องการให้ผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 65 ปี ได้ออมเงินเพื่อเก็บไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน ดังนั้น หากไม่จำเป็นจริงๆ ก็ไม่ควรออกจากการเป็นผู้ประกันตนเพื่อให้ได้รับเงินออมชราภาพ รวมทั้งอยากให้ทุกคนคำนึงถึงผลกระทบต่อความมั่นคงในอนาคตของกองทุนประกัน สังคม มาตรา 40 ด้วย

นายนคร กล่าวอีกว่า มาตรา 40 โดยเฉพาะทางเลือกที่ 3 ต้องการให้ผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 65 ปี ได้ออมเงินเพื่อเก็บไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน ส่วนที่ห่วงกันว่าผู้ประกันตนในส่วนของเงินชราภาพ ที่สมัครแล้วจ่ายย้อนหลังไปถึงเดือน พ.ค. 2555 จำนวน 3,200 บาท และรัฐทบให้อีกเท่าตัว จะถอนเงินออกมาใช้ ไม่เก็บออมตามเจตนารมณ์ของมาตรา 40 อยากเตือนให้เก็บเงินก้อนนี้ไว้ในยามจำเป็นจริงๆ ถ้าไม่มีความจำเป็นก็ไม่ควรถอนออกจากความเป็นผู้ประกันตน ขอให้คำนึกถึงผลกระทบกองทุนด้วย

นางเซี่ยมกี่ นิลทองคำ ผอ.สำนักเสริมสร้างความมั่นคงแรงงานนอกระบบ สำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า ตั้งแต่ปี 2554 จนถึงวันที่ 8 ธ.ค. 2557 ทั่วประเทศมีผู้สมัครประกันสังคมมาตรา 40 ทั้ง 5 ทางเลือก รวมกว่า 2.2 ล้านคน เฉพาะวันที่ 8 ธ.ค. ที่ผ่านมา ที่เป็นวันรับสมัครวันสุดท้าย มาตรา 40 ในส่วนของผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปี ขณะนี้อยู่ระหว่างสรุปยอดทั้งหมด แต่เบื้องต้นที่มีการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์แล้ว 7.5 หมื่นคนทั่วประเทศ สำหรับคนอายุ 15-60 ปี ยังสมัครได้ตามปกติ - ไทยรัฐ

ข้อมูลการสมัคร คลิกเลือกหน้า 18arrow4 1 2 3 4





หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
ที่มา
การขยายประกันสังคมให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบโดยผลักดันร่าง พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ฉบับแก้ไข เพื่อรัฐร่วมจ่ายในมาตรา 40 และแก้ไขพระราชกฤษฎีกา เพื่อพัฒนาสิทธิประโยชน์ของมาตรา 40 ให้เป็นที่จูงใจ โดยเป็นระบบสมัครใจ

ความหมาย
ผู้ประกันตนมาตรา 40 หมายถึง บุคคลที่มิใช่ลูกจ้างตามมาตรา 33 หรือเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ มาตรา 39 เรียกว่า ผู้ประกันตนโดยอิสระ

คุณสมบัติผู้สมัคร

อายุ 15-60 ปีบริบูรณ์  ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33  มาตรา 39  ไม่เป็นข้าราชการหรือบุคคลที่ถูกยกเว้นตามกฎหมายประกันสังคม

บุคคลพิการที่สามารถรับรู้สิทธิประกันสังคม
เฉพาะปีแรก (มีผลบังคับใช้วันที่ 9 ธันวาคม 2556 - วันที่ 8 ธันวาคม 2557)  เปิดโอกาสให้ผู้สมัครที่มีอายุ 60-65 ปี   สมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้ทุกทางเลือก
สำหรับผู้สมัครที่มีอายุ เกินกว่า 65 ปี  เฉพาะปีแรก (มีผลบังคับใช้วันที่ 9 ธันวาคม 2556 - วันที่ 8 ธันวาคม 2557)  สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้เฉพาะทางเลือก 3 เท่านั้น  และไม่มีสิทธิเปลี่ยนทางเลือก
หลักฐานการสมัคร

สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่หน่วยงานราชการออกให้ (ใบอนุญาตขับขี่รถ)
สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศเลือกทางเลือกใน การจ่ายเงินสมทบได้  3 ทางเลือก คือ

ทางเลือกที่ 1  จ่ายเงินสมทบ  100  บาท/เดือน  (จ่ายเอง 70  บาท  รัฐสนับสนุน 30 บาท)

ทางเลือกที่ 2  จ่ายเงินสมทบ  150  บาท/เดือน  (จ่ายเอง 100 บาท รัฐสนับสนุน 50 บาท)

ทางเลือกที่ 3  มี 3 ทางเลือก ดังนี้

ทางเลือกที่  3    จ่ายเงินสมทบ  200  บาท/เดือน  (จ่ายเอง 100 บาท  รัฐสนับสนุน 100 บาท)
ทางเลือกที่ 1 และทางเลือก 3 (1+3)  จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน (จ่ายเอง 170 บาท รัฐสนับสนุน 130 บาท)
ทางเลือกที่  2 และทางเลือก 3 (2+3)  จ่ายเงินสมทบ 350 บาท/เดือน  (จ่ายเอง 200 บาท  รัฐสนับสนุน 150 บาท)
หมายเหตุ

รัฐสนับสนุนในระยะแรกทั้งนี้ จนกว่าสำนักงานประกันสังคมจะประกาศเป็นอย่างอื่น

ทั้งนี้ ในการจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 40 จ่ายเป็นรายเดือน ๆ ละ 1 ครั้ง และจ่ายเงินสมทบล่วงหน้าได้ครั้งละไม่เกิน 12 เดือน แต่ไม่สามารถจ่ายเงินสมทบย้อนหลังได้
ทั้งนี้ผู้ประกันตนที่ประสงค์รับเงินบำเหน็จชราภาพเพิ่มขึ้นสามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติมได้ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาทต่อเดือน ยกเว้น กรณีทางเลือกที่ 5 (2+3)  สามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติมได้ไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท
ทั้งนี้ผู้ประกันตนที่เลือก ความคุ้มครองทางเลือกที่ 3 สามารถจ่ายเงินสมทบย้อนหลังได้ไม่เกินเดือนพฤษภาคม 2555  แต่ต้องจ่ายในระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2556 ถึง วันที่ 8 ธันวาคม 2557
การแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูล

เมื่อเป็นผู้ประกันตนแล้ว หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เช่น เปลี่ยนคำนำหน้านาม ชื่อ - สกุล ที่อยู่ที่ติดต่อขอเปลี่ยนทางเลือกจ่ายเงินสมทบ หรือแจ้งความไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตนต่อไป (ลาออก) เป็นต้น ให้แจ้งต่อสำนักงานประกันสังคม
กรณีขอเปลี่ยนทางเลือกจ่ายเงินสมทบจะทำได้ปีละ 1 ครั้ง โดยเมื่อยื่นขอเปลี่ยนแปลทางเลือกแล้วจะมีผลในเดือนถัดไป
ประโยชน์ทางภาษี

เงินสมทบในแต่ละปี ใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยใช้ใบเสร็จรับเงินที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเป็นหลักฐาน หรือขอหนังสือรับรองการชำระเงินสมทบจากสำนักงานประกันสังคม
สิทธิประโยชน์พื้นฐาน

กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย   เมื่อนอนโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยในตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 200 บาทต่อวัน ไม่เกิน 30 วันต่อปี เงื่อนไขจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือน (การรักษาพยาบาลใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง) จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)
กรณีทุพพลภาพ  รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 500 - 1,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลานานถึง 15 ปี เงื่อนไข เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือนขึ้นไป (ต้องเป็นผู้ทุพพลภาพหรือทุพพลภาพเพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการ แพทย์)
กรณีตาย  จะ ได้รับค่าทำศพจำนวน 20,000 บาทต่อราย  เงื่อนไข จ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายในระยะเวลา 12 เดือน ก่อนเสียชีวิต  ยกเว้น เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ เงื่อนไข จ่ายเงินสมทบครบ 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนเสียชีวิต
กรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จ) ผู้ประกันตนสามารถรับเงินก้อนเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ เงื่อนไข มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
กรณีชราภาพ (เงินบำนาญ)
-  ผู้ประกันตนสามารถรับเงินบำนาญเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

-  ต้องจ่ายเงินสมทบถึงบำนาญขั้นต่ำหรือไม่น้อยกว่า 420 เดือน (35 ปี) ได้รับเงินบำนาญชราภาพขั้นต่ำเดือนละ 600 บาท ตลอดชีวิต

ทางเลือกที่คุ้มค่าสำหรับคุณ เพื่อสิทธิประโยชน์ดังกล่าวสำนักงานประกันสังคมขอเสนอทางเลือกที่คุ้มค่าสำหรับคุณด้วย ชุดสิทธิประโยชน์ ดังนี้

ทางเลือกที่ 1  (จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน)

สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี คือ  กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย  กรณีทุพพลภาพ  กรณีตาย
ทางเลือกที่  2  (จ่ายเงินสมทบ 150 บาท/เดือน)

สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี คือ  กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย  กรณีทุพพลภาพ  กรณีตาย  กรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จ)
ทางเลือกที่ 3 มี 3 ทางเลือก ดังนี้

ทางเลือกที่ 3

สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 1 กรณี คือ กรณีชราภาพ (เงินบำนาญ)
ทางเลือกที่ 1 และทางเลือก 3 (1+3)

สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/จ็บป่วย  กรณีทุพพลภาพ  กรณีตาย  กรณีชราภาพ (เงินบำนาญ)
ทางเลือกที่ 2 และทางเลือก 3 (2+3)

สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้ม ครอง 5 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/จ็บป่วย  กรณีทุพพลภาพ  กรณีตาย  กรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จ)  กรณีชราภาพ (เงินบำนาญ)
วิธีการนำส่งเงินสมทบ

จ่ายเป็นเงินสด
สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา
หน่วยบริการเคลื่อนที่ของสำนักงานประกันสังคม
เคาน์เตอร์เซอร์วิส
เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำักัด (มหาชน)
ห้างเทสโก้โลตัส
ไปรษณีย์ (ธนาณัติ)
หักผ่านบัญชีธนาคาร

ธนาคารเพื่่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
ธนาคารออมสิน
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
หมายเหตุ การ ชำระเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสจะเสียค่าธรรมเนียมครั้งละ 10 บาท ในส่วนการชำระผ่านการหักธนาคารออมสิน  ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารกสิกรไทย  ธนาคารไทยพานิชย์ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารกรุงศรีอยุธยา จะมีค่าธรรมเนียม 5 บาทต่อครั้ง โดยจะได้รับใบเสร็จรับเงินทันที  แต่ผู้ประกันตนที่ชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสต้องนำใบเสร็จรับเงินที่ เคาน์เตอร์เซอร์วิสที่ออกให้พร้อม สมุดนำส่งเงินสมทบมาตรา 40 ไปติดต่อที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา เพื่อให้ทางเจ้าหน้าที่ทำการบันทึกข้อมูลในสมุดนำส่งเงินสมทบ  เนื่องจากต้องใช้ประกอบการยื่นเรื่องเมื่อมีการรับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ

เอกสารประกอบการสมัคร

แบบการขึ้นทะเบียนการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 (สปส.1-40)

บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้พร้อมสำเนา
สถานที่ในการขึ้นทะเบียน

สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา

หน่วยบริการเคลื่อนที่ของสำนักงานประกันสังคม



สิทธิประโยชน์และเงื่อนไข
1.  กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย
ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 200 บาท  ไม่เกิน 30 วัน/ปี
การรักษาพยาบาลใช้สิทธิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หรือบัตรทอง 30 บาท
เงื่อนไขการรับสิทธิ
ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน   ภายใน 4 เดือน ก่อนประสบอันตราย/เจ็บป่วย
รักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่  1 วันขึ้นไป  จะได้รับสิทธิวันละ 200 บาท  ไม่เกิน 30 วันต่อปี
2.  กรณีทุพพลภาพ
ได้รับเงินทดแทนการขาดได้ตั้งแต่ 500 - 1,000 บาท/เดือน  เป็นระยะเวลา 15 ปี
ตายก่อนครบ 15 ปี รับเงินค่าทำศพ 20,000 บาท
เงื่อนไขการรับสิทธิ
ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายใน 10 เดือน  ก่อนเป็นผู้ทุพพภาพ จะได้รับสิทธิ 500 บาท/เดือน
ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 12 เดือน ภายใน 20 เดือน ก่อนเป็นผู้ทุพพลภาพ จะได้รับสิทธิ 600 บาท/เดือน
ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 24 เดือน ภายใน 40 เดือน ก่อนเป็นผู้ทุพพลภาพ  จะได้รับสิทธิ 800 บาท/เืดือน
ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 36 เดือน ภายใน 60 เดือน ก่อนเป็นผู้ทุพพลภาพ  จะได้รับสิทธิ 1,000 บาท/เดือน
3.  กรณีตาย
ได้รับเงินค่าทำศพ 20,000 บาท
เงื่อนไขการรับสิทธิ
ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือน  ภายใน 12 เดือนก่อนเสียชีวิต
หมายเหตุ

"อุบัติเหตุ"  หมายความว่า  เหตุที่เกิดโดยไม่คาดดิดเป็นเหตุให้เสียชีวิต เช่น อุบัตเหตุจากการขนส่ง  การตกหรือล้ม  การจมน้ำ  การสัมผัสความร้อนและสิ่งของที่ร้อน  การสัมผัสสารพิษ  การถูกทำ้ร้าย  การดำเนินการตามกฎหมายและการปฏิบัติการสงคราม  การสัมผัสสัตว์และพืชมีพิษ  ภัยธรรมชาติจากฟ้าผ่า  แผ่นดินไหว เป็นต้น
** ยกเว้น  กรณีอุบัติเหตุ  ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 1 เดือน ภายใน 6 เดือน ก่อนเสียชีวิต

4.  กรณีชราภาพ  (รับเงินบำเหน็จ)
ได้เิงินบำเหน็จพร้อมผลตอบแทน (ดอกเบี้ย)  คืนทั้งหมด
เงื่อนไขการรับสิทธิ
เมื่อผู้ประกันตนมีอายุครบ  60 ปีบริบูรณ์  และแจ้งสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน หรือลาออก
ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบสามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มได้ไม่เกิน 1,000 บาท/เดือน
5.  กรณีชราภาพ  (รับเงินบำนาญ)
ได้รับบำนาญรายเดือนขึ้นต่ำ 600 บาท/เดือน ตลอดจนเสียชีวิต
กรณีจ่ายเงินสมทบไม่ถึงหลักเกณฑ์ที่จะรับเงินบำนาญ (ขั้นต่ำ) จะได้รับเงินบำเหน็จพร้อผลตอบแทน (ดอกเบี้ย)  คืนทั้งหมด
ได้รับบำนาญแล้วเสียชีวิตภายใน 60 เดือน ทายาทได้รับเงินบำเหน็จ 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน
กรณีทุพพลภาพก่อนได้รับบำนาญ จะมีสิทธิขอรับบำเหน็จพร้อมผลตอบแทน (ดอกเบี้ย)  คืน
เงื่อนไขการรับสิทธิ
ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบครบหลักเกณฑ์ที่จะรับเงินบำนาญ (ขั้นต่ำ) หรือจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 420 เดือน (35 ปี)
ผู้ประกันตนจะต้องมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน หรือลาออก
ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบสามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มได้ไม่เกิน 1,000 บาท/เดือน
ผู้ประกันตนสามารถจ่ายเงินสมทบย้อนหลังได้ไม่เกินเดือน พฤษภาคม 2555
เงินบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตน ผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้่
สามี   ภริยา  บิดาและมารดา  หรือบุตรของผู้ประกันตนในจำนวนที่เท่านกัน  กรณีไม่มีผู้สิทธิตามข้อ 2.1
ให้จ่ายแก่บุคคล  ซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับบำเหน็จชราภาพ
หมายเหตุ  หากมีการนำส่งเงินสมทบต่อเนื่องทุกเดือนจะได้รับเงินกรณีชราภาพขั้นต่ำ  (ยังไม่รวมผลตอบแทน) หรือดอกเบี้ย



ขั้นตอนการเบิกสิทธิประโยชน์ทดแทน
- ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนฯ (สปส. 2-01/ม.40) พร้อมหลักฐานประกอบการยื่นคำขอฯ ได้ที่สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ

- ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายใน 2 ปีนับแต่วันที่มีสิทธิ

 

- เมื่อผู้ประ กันตนได้รับแจ้งจากสำนักงานประกันสังคมให้รับเงินประโยชน์ทดแทน ผู้ประกันตนจะต้องรับเงินภายใน 2 ปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง หากไม่รับภายในกำหนด ให้เงินนั้นตกเป็นของกองทุน

 

การขอรับคืนเงินสมทบที่จ่ายล่วงหน้า
1. ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิขอรับคืนเงินสมทบที่จ่ายล่วงหน้าได้ในกรณี ดังนี้
ผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย
ได้เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39
ผู้ประกันตนแจ้งความจำนงไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตน (ลาออก)
2. ขอรับเงินสมทบคืนได้ที่สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ
3. เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นคำขอรรับเงินสมทบคืน มีดังนี้
กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกันตนและผู้มีสิทธิ
สำเนามรณบัตร
สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันตน และบิดา มารดา
สำเนาสูติบัตรของบุตรผู้ประกันตน
สำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่หน่วยงานราชการออกให้
เอกสารอื่นๆ ตามความจำเป็น
กรณีได้เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39 และกรณีผู้ประกันตนแจ้งความจำนงไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตน (ลาออก)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่หน่วยงานราชการออกให้

หลักฐานประกอบการยื่นคำขอประโยชน์ทดแทน
กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนฯ (สปส. 2-01/ม.40)
ใบรับรองแพทย์
สำเนาเวชระเบียน (ถ้ามี)
สำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่หน่วยงานราชการออกให้
กรณีทุพพลภาพ
ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนฯ (สปส. 2-01/ม.40)
ใบรับรองแพทย์
สำเนาเวชระเบียน (ถ้ามี)
สำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่หน่วยงานราชการออกให้
กรณีตาย
ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนฯ (สปส. 2-01/ม.40)
สำเนามรณบัตร
หลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการศพ
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่หน่วยงานราชการออกให้ ผู้ประกันตนและผู้จัดการศพ
สำเนาทะเบียนบ้าน ผู้ประกันตนและผู้จัดการศพ
กรณีชราภาพ เงินบำเหน็จ/เงินบำนาญ
4.1  กรณีผู้ประกันตนอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตน (ลาออก)
ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนฯ (สปส. 2-01/ม.40)
สำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่หน่วยงานราชการออกให้
4.2  กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย
ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนฯ (สปส. 2-01/ม.40)
สำเนามรณบัตร
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีสิทธิรรับเงินบำเหน็จชราภาพ
สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันตน และบิดา มารดา (ถ้ามี)
สำเนาสูติบัตรของบุตร หรือ สำเนาทะเบียนบ้านของบุตรกรณีไม่มีสูติบัตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น