""
ลิงค์: http://iqepi.com/19168/ หรือเรื่อง: เขตเศรษฐกิจพิเศษ
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**
---
เกี่ยวกับ การจัดตั้ง เขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลเพื่อรองรับ AEC โดยการนำเสนอของกระทรวงการคลัง มีสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) กำกับดูแลการดำเนินการของเขตเศรษฐกิจพิเศษให้เป็นไปตามนโยบาย สำหรับการเตรียมสอบงานราชการจะไม่ทราบเรื่องนี้เลยก็คงจะไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องใหญ่ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบในหลายๆ ด้าน ก็อ่านไปเรื่อยๆ ไม่ต้องเครียด เก็บสะสมข้อมูลพอให้ทราบ เพื่อให้เข้าใจเรื่องราวเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษที่จะมีการเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว เพราะทราบข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษแล้ว
จาก การที่ประเทศไทยจะ เข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( ASEAN Economic Community: AEC) ในปี 2558 เพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนดังกล่าว รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะจัดตั้ง “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ในจังหวัดต่างๆ ตามแนวชายแดน
เขตเศรษฐกิจพิเศษคืออะไร
เขตเศรษฐกิจพิเศษ หมายถึง เขตพื้นที่ที่จัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะตามกฎหมาย เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมสนับสนุน และอำนวยความสะดวก รวมทั้งให้สิทธิพิเศษบางประการในการดำเนินกิจการต่างๆ เช่น การอุตสาหกรรม การพาณิชยกรรม การบริการ หรือกิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ
สิทธิ ประโยชน์ที่ผู้ ประกอบการอุตสาหกรรม การพาณิชยกรรม หรือกิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ ได้รับอยู่แล้วตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ การส่งเสริมการลงทุน ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 การนิคมอุตสาหกรรม ตามพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 และเขตปลอดอากร ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พระพุทธศักราช 2496 โดยมีสาระสำคัญการให้สิทธิประโยชน์ ดังนี้
การ จัดตั้งเขต เศรษฐกิจพิเศษ ควรออกเป็นพระราชบัญญัติเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 และพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 โดยการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติศุลกากร พระพุทธศักราช 2496 เพิ่มบทบัญญัติในหมวด 10 ตรี “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” การจัดตั้งให้ออกเป็นประกาศกระทรวงการคลัง โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และผู้ที่ประกอบการในเขตดังกล่าวได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดี่ยวกับผู้ได้รับ การส่งเสริมการลงทุน ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม ตามพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 และผู้ประกอบการในเขตปลอดอากร ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พระพุทธศักราช 2469 ตามรายละเอียดที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น
ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ
การ ที่ประเทศไทยจะ เข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 และประเทศไทยมีสภาพทางภูมิศาสตร์เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ จะมีประโยชน์เป็นอย่างมากต่อประเทศไทย เพราะเป็นการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและส่งเสริมความสามารถในการแข่งขัน ของสินค้าไทยในตลาดประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีประโยชน์ที่จะได้รับ ดังนี้
เป็นการส่งเสริมการลงทุนในประเทศ เพราะประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
เป็นการส่งเสริมการส่งออก เพราะช่วยลดต้นทุนในการประกอบการต่างๆ เช่น ค่าแรงงานราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้าน
เป็นการส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการผลิตสินค้าจากต่างประเทศเข้าดำเนินการในประเทศไทย
เป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าจากประเทศไทย และประเทศต่างๆ ไปสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอื่นๆ
ก่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย ที่มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ
สาระสำคัญร่าง พ.ร.บ. เขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ.2548
1.เขต พิเศษ หมายถึง พื้นที่เฉพาะที่กำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมสนับสนุน อำนวยความสะดวก รวมทั้งให้สิทธิพิเศษบางประการในการดำเนินกิจการต่างๆ ภายในเขตพื้นที่ เช่น การอุตสาหกรรม การเกษตรกรรม พาณิชยกรรม การท่องเที่ยว การบริหาร หรือการอื่นใด และยังเป็นการพัฒนาต้นแบบการบริหารจัดการที่ดี
***2.ให้ มีคณะกรรมการนโยบายเขตพิเศษ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีอำนาจหน้าที่เสนอแนะนโยบายเขตพิเศษและการตั้งเขตพิเศษแต่ละแห่งต่อคณะ รัฐมนตรี รวมทั้งกำกับดูแลการดำเนินการของเขตพิเศษให้เป็นไปตามนโยบาย โดยมีสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพิเศษ ซึ่งมีสถานะเป็นองค์การมหาชน ทำหน้าที่ศึกษาถึงรายละเอียดที่จะตั้งเขตพิเศษ รวมทั้งเป็นฝ่ายวิชาการและธุรการให้คณะกรรมการนโยบายฯ
3.กำหนดให้มีกระบวนการจัดตั้งเขตพิเศษ การบริหารจัดการเขตพิเศษแต่ละเขตรายได้และอำนาจหน้าที่ของเขตพิเศษ
***4.เขต พิเศษอาจได้มาซึ่งที่ดิน/อสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้ในการดำเนินงาน โดยจัดหาเอง เช่น ซื้อ เช่าซื้อ แลกเปลี่ยน เช่าระยะยาว เวนคืน ให้เอกชนนำที่ดินมาร่วมลงทุน เป็นต้น หรือได้มาโดยผลของกฎหมาย เช่น ให้ พรฏ.จัดตั้งเขตพิเศษมีผลเป็นการถอนสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดินในเขตที่กำหนด เป็นเขตพิเศษ และให้ตกเป็นของเขตพิเศษ โดยไม่ต้องดำเนินการตามกฎหมายที่ดิน
***5.กรณี ที่กฎหมายกำหนดให้การดำเนินการในเรื่องใดเป็นอำนาจของหน่วยงาน ของรัฐหรือคณะกรรมการตามกฎหมาย ให้เขตพิเศษมีอำนาจดำเนินการได้เช่นเดียวกับหน่วยงานของรัฐนั้น และให้ถือว่าผู้ว่าการเขตพิเศษเป็นและมีอำนาจเช่นเดียวกับเจ้าพนักงานตาม กฎหมายนั้น
6.การดำเนินการเรื่องใดที่กฎหมายกำหนดให้ต้องได้รับอนุญาต จากหน่วยงานของ รัฐ เขตพิเศษมีอำนาจดำเนินการได้โดยไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้สำหรับผู้ขออนุญาตตามกฎหมายนั้น
7.ถ้าเขตพิเศษ เห็นว่าหลักเกณฑ์ วิธีการเงื่อนไขที่กำหนดไว้สำหรับผู้ขออนุญาตตามกฎหมายใดเป็นอุปสรรคแก่ผู้ ประกอบการ/ผู้อยู่อาศัย ให้รายงานคณะกรรมการนโยบายเพื่อนำเสนอ ครม.ปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้ ยกเว้นกิจการที่อยู่ในอำนาจของ กทช.และ กสช
8.ถ้าพื้นที่ของเขตพิเศษครอบคลุมป่าสงวนแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรืออุทยานแห่งชาติ และเขตพิเศษนั้นมีวัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายดังกล่าวต้องสอดคล้องกับแผนและแนวทาง การดำเนินงานของเขตพิเศษ
9.เขตพิเศษมีอำนาจให้บริการแก่ผู้ประกอบ ธุรกิจ/อยู่อาศัย เช่น อนุมัติ ออกใบอนุญาต แทนหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจตามกฎหมายภายในพื้นที่เขตพิเศษ และเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ซึ่งค่าธรรมเนียมหลังจากหักค่าใช้จ่ายไว้ไม่เกินร้อยละ 10 ให้ส่งเป็นรายได้ของหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจตามกฎหมาย ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าวต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายนั้นกำหนด และเมื่อดำเนินการแล้วต้องแจ้งให้หน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจตามกฎหมายทราบ
10.ให้ เขตพิเศษมีอำนาจเช่นเดียวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในพื้นที่ เขตพิเศษ และเรียกเก็บค่าธรรมเนียมได้ โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด เมื่อดำเนินการแล้วต้องแจ้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบ ค่าธรรมเนียมหลังจากหักค่าใช้จ่ายไว้ไม่เกินร้อยละ 10 ให้ส่งเป็นรายได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
11.กรณีหน่วยงานของรัฐหรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเห็นว่าการดำเนินการ ของเขตพิเศษไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ให้แจ้งเขตพิเศษเพื่อแก้ไข ถ้าเขตพิเศษไม่ดำเนินการให้เสนอคณะกรรมการนโยบายเพื่อวินิจฉัย
12.ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกรรมการ โดยตำแหน่งในคณะกรรมการบริหารเขตพิเศษ
13.ผู้ประกอบการ/ผู้อยู่อาศัยในเขตพิเศษมีสิทธิ
(1) ได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้นอากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิต และค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
(2) การลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
(3) หักค่าใช้จ่ายก่อนการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานอกจากที่กำหนดในประมวลรัษฎากร
(4) นำคนต่างด้าวเข้ามาอยู่และทำงานในราชอาณาจักร
(5) สิทธิในการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินของคนต่างด้าว
(6) สิทธิในการถือครองหรือเปิดบัญชีเงินฝากเป็นเงินตราต่างประเทศ
(7) สิทธิในการนำหรือส่งเงินออกไปนอกราชอาณาจักร
ข้อท้วงติงของแต่ละหน่วยงาน
=กระทรวงการคลัง
การ กำหนดให้เขตเศรษฐกิจพิเศษมีอำนาจดำเนินการได้เช่นเดียวกับหน่วยงานของ รัฐ หรือคณะกรรมการตามกฎหมายใดเป็นการเฉพาะนั้น อาจทำให้การพิจารณาอนุมัติหรืออนุญาตขาดการพิจารณาจากหน่วยงานที่มีความ เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และควรกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในเขตเศรษฐกิจพิเศษ
=กระทรวงกลาโหม
เห็น ควรตัดร่างมาตรา 62 (1) (2) มาตรา 64, 65 และ 66 ออก เนื่องจากกระทบต่อความมั่นคงของชาติ และตัดร่างมาตรา 88 และไม่สมควรกำหนดตามร่างมาตรา 99 เพราะอาจจะขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 36 วรรคแรก
=กระทรวงวัฒนธรรม
ควรเพิ่มบทบัญญัติเพื่อปกป้องคุ้มครองโบราณสถาน และควรเพิ่มผู้แทนกระทรวงวัฒนธรรมในคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจพิเศษด้วย
การ จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษให้มีฐานะเป็น องค์กรมหาชน จะต้องไม่เป็นกิจการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร แต่เขตเศรษฐกิจพิเศษมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และมีลักษณะเป็นการแสวงหากำไร
=กระทรวงสาธารณสุข
การกำหนดให้ ผู้ว่าการเขตเศรษฐกิจพิเศษ เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติ อนุญาต ออกใบอนุญาต หรือให้ความเห็นชอบ หรือเป็นผู้มีอำนาจในการรับจดทะเบียนหรือรับแจ้งตามกฎหมายอื่นด้วยนั้น ควรมีการประเมินความคิดเห็นของทุกฝ่ายให้รอบคอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญ
=สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ร่าง กฎหมายดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ถ้าหากพื้นที่ของ อปท.ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ
=สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
กฎหมาย ฉบับนี้ให้อำนาจที่จะให้มีการถมทะเลได้ ซึ่งนอกจากจะศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ควรต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมก่อน
=องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(องค์กรมหาชน)
เห็น ควรให้กำหนดการให้สิทธิพิเศษในการดำเนินกิจการตามร่างมาตรา 4 แต่เฉพาะ "การอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และกิจการที่เกี่ยวเนื่อง" เท่านั้น โดยควรตัดข้อความ "การท่องเที่ยว การบริการ และการอื่นใด" ออก
และใน ส่วนอำนาจหน้าที่ที่ซ้ำซ้อนกับส่วนราชการอื่น ควรมีบทบัญญัติกำหนดให้มีการบูรณาการความร่วมมือและประสานงานเพื่อใช้อำนาจ หน้าที่ร่วมกัน
6 ใน 12 เขตเศรษฐกิจพิเศษของไทย
|
|
รายงานข่าวว่าเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2557 คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ได้มีการประชุมครั้งที่ 1/2557 ณ กองบัญชาการกองทัพบก โดยมีหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) เป็นประธานการประชุมสรุปสาระสาคัญของผลการประชุมได้ดังนี้
1. ที่ประชุมคณะกรรมการ กนพ. รับทราบความก้าวหน้าการดาเนินงานของ สศช.ในช่วงปีที่ผ่านมา ได้แก่ (1) ศึกษาเพื่อวางยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในระดับประเทศและระดับพื้นที่ (2) หารือร่วมกับหน่วยงานในเรื่องการให้สิทธิประโยชน์ การให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ มาตรการสนับสนุนการใช้แรงงานต่างด้าว (3) เตรียมความพร้อม สร้างความเข้าใจและการรับฟังความความคิดเห็นของภาคส่วนการพัฒนาในพื้นที่ชายแดน (4) ศึกษาตัวอย่างรูปแบบการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในต่างประเทศ (5) สำรวจพื้นที่ชายแดนที่มีศักยภาพและโอกาสการเชื่อมโยงไปยังประเทศในภูมิภาคและ (6) ประสานความร่วมมือในระดับทวิภาคีกับประเทศกัมพูชาและประเทศมาเลเซียในการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษร่วมกัน
2. ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะสมในการจัดตั้งเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษระยะแรกของไทยใน 5 พื้นที่ชายแดน เพื่อให้สามารถก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้อย่างสมบูรณ์ในปี 2558 ได้แก่ (1) แม่สอด (2) อรัญประเทศ (3) ตราด (4) มุกดาหาร (5) สะเดา (ด่านศุลกากรสะเดาและปาดังเบซาร์) โดย เน้นการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาทั้งในด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงของ ประเทศ ในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มการจ้างงานและสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้ประชาชน แก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้ามายังพื้นที่ตอนใน ปัญหาการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรผิดกฎหมายจากประเทศเพื่อนบ้าน และปัญหาความแออัดบริเวณด่านชายแดน
3. ที่ประชุมได้เห็นชอบหลักเกณฑ์และวิธีการสนับสนุนการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 4 เรื่อง ได้แก่ (1) สิทธิประโยชน์สาหรับการลงทุน (2) การให้บริการจุดเดียวแบบเบ็ดเสร็จ (3) มาตรการสนับสนุนการใช้แรงงานต่างด้าว และ (4) การ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและด่านศุลกากรในพื้นที่ เพื่อให้สามารถรองรับกิจกรรมในพื้นที่เขตเศรษฐกิจและเชื่อมโยงประเทศใน ภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ที่ประชุมได้อนุมัติให้ตั้งคณะอนุกรรมการ 3 ชุดเพื่อเสนอแนวทางการดาเนินงานในส่วนที่ได้รับมอบหมายให้ กนพ. พิจารณาภายในเดือนสิงหาคม 2557 ได้แก่
(1) คณะอนุกรรมการด้านสิทธิประโยชน์ ขอบเขตพื้นที่ และศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุน เสนอขอบเขตและจัดหาพื้นที่ สิทธิประโยชน์ และแผนพัฒนาระบบบริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุน ปลัด กค. เป็นประธาน/ ผอ.สศค.เป็นเลขานุการ/สกท.และสศช. เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
(2) คณะอนุกรรมการศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านแรงงาน สาธารณสุข และความมั่นคงเสนอแนวทางจัดระบบการจ้างแรงงานต่างด้าว การพัฒนาฝีมือแรงงาน และแผนการจัดตั้ง One Stop Service แรงงานต่างด้าว ปลัดรง.เป็นประธาน/รง.เป็นฝ่ายเลขานุการ/สศช. เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
(3) คณะอนุกรรมการด้านโครงสร้างพื้นฐานและด่านศุลกากรเสนอแผนและลาดับความสาคัญการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน แผนปรับปรุงด่านศุลกากร/ด่านชายแดน และแผนพัฒนานิคมอุตสาหกรรม ปลัด คค. เป็นประธาน/ผอ.สนข.เป็นเลขานุการ/กรมศุลกากรและ สศช. เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
5. ให้ สศช. ทาการประเมินผลการดาเนินงานตามนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 5 พื้นที่ (ตุลาคม 2557-ธันวาคม 2558) ในลักษณะ ก่อน-หลัง ในประเด็นดังนี้ (1) ความก้าวหน้าการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (2) ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ(3) ผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และความมั่นคง (4) ความพึงพอใจของภาคส่วนต่างๆ (5) ปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไขปรับปรุงเพื่อการปฏิบัติเป็นไปอย่างถูกต้องมี ประสิทธิภาพ และก่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศทั้งนี้เพื่อใช้ประกอบในการพัฒนาและจัดตั้ง เขตเศรษฐกิจพิเศษในระยะต่อไปให้มีประสิทธิภาพ
ระยะที่ 2
จาก การรายงานข่าวว่าทางภาครัฐและเอกชนเชียงรายได้ข่าวดีหลังจากประชุม ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) จ.เชียงราย มีการแจ้งในที่ประชุมว่าล่าสุด คสช.ได้กำหนดให้ จ.เชียงราย พร้อมด้วย จ.กาญจนบุรี จ.หนองคาย จ.นครพนม และ จ.นราธิวาส เป็นจังหวัดที่จะได้รับการพัฒนาในระยะที่ 2 ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นไป โดยให้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ทำการศึกษาและเก็บข้อมูล ในฐานะเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.)
นาย จักรกฤช ธรรมศิริ รองผู้จัดการโครงการศึกษายุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ กล่าวว่าเชียงรายโชคดีที่เป็นกลุ่มจังหวัดที่จะพัฒนาเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจ พิเศษในเฟส 2 เพราะจะได้รับทราบปัญหาจากกลุ่มจังหวัดแรกๆ และสามารถใช้เป็นข้อศึกษาได้อย่างละเอียดมากขึ้น โดยคณะจะเริ่มลงพื้นที่ จ.เชียงรายตั้งแต่กลางเดือน ส.ค. 57 เป็นต้นไป เพื่อเก็บข้อมูลอย่างรอบด้านทุกเรื่องตามนโยบายของ คสช.ที่เน้นให้ภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด เริ่มจากการรับฟังความเห็นตั้งแต่กลางดือน ส.ค.-ก.ย. 57 และมีการศึกษาอย่างละเอียดครอบคลุมเรื่องผลกระทบในด้านต่างๆ ด้วย ส่วนเขตพื้นที่ที่จะจัดตั้งก็จะพิจารณาตามเขตการปกครองคือตำบล อำเภอ จังหวัด ซึ่งทำให้ง่ายขึ้นอีก
ใน การประชุมได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟเชียง ของ-เด่นชัย ที่มีการผลักดันกันมานานนั้น ล่าสุด คสช.ได้ให้ความเห็นชอบแนวทางการพัฒนาเป็นระบบรถไฟทางคู่ในอนาคต โดยใช้ขนาดทางมาตรฐาน 1.435 เมตร (Standgard Gauge) รถไฟขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ความเร็ว 160 กม./ชม. เป็น 1 ใน 2 โครงการ ในระยะเร่งด่วนแล้ว โดยให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) นำผลศึกษารถไฟความเร็วสูงเดิมมาศึกษาทบทวนเพื่อต่อยอดการออกแบบให้สัมพันธ์ กับแนวทางดังกล่าว ซึ่งจะเป็นเส้นทางที่เชื่อมโยงจากจีน-ลาว-ไทย-มาเลเซีย
ที่ ประชุม กรอ.เชียงรายครั้งนี้ยังมีการหารือเกี่ยวกับการจัดตั้งแลนด์มาร์กของ จ.เชียงราย เบื้องต้นกำหนดใช้สถานที่ ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมือง ก่อนถึงวัดร่องขุ่น เนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ และทางนายวิรุณ คำภิโล ที่ปรึกษาหอการค้า จ.เชียงราย แจ้งว่า หอการค้า จ.เชียงรายจะเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมหอการค้าทั่วประเทศในวันที่ 21-23 พ.ย.นี้ที่ มฟล. คาดว่าจะมีผู้เข้าไปร่วมงานทุกฝ่ายประมาณ 4,500-5,000 คน
ดาวน์โหลดประกาศรับสมัครสอบ คลิกที่นี่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น